ความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดพหุนิยมทางกฎหมายกับทฤษฎีด้วยรัฐและสัญญาประชาคม

ผู้แต่ง

  • ณัฐดนัย นาจันทร์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

พหุนิยมทางกฎหมาย, รัฐ, สัญญาประชาคม

บทคัดย่อ

แนวคิดพหุนิยมทางกฎหมายเป็นแนวคิดที่สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นจริงของรัฐสมัยใหม่ว่าในรัฐหนึ่งๆไม่ได้ประกอบไปด้วยระบบกฎหมายแค่เพียงหนึ่งระบบ โดยเฉพาะในรัฐซึ่งเกิดขึ้นจากการรวมเอาดินแดนย่อยๆ หลายดินแดนเข้าไว้ด้วยกัน โดยลักษณะเช่นนี้มีความขัดแย้งกับการกาหนดความชอบธรรมในการก่อตั้งรัฐและความชอบธรรมในการตรากฎหมายภายใต้แนวคิดว่าด้วยรัฐและสัญญาประชาคม ซึ่งเป็นแนวคิดที่เน้นการตีความว่ารัฐหนึ่งๆ นั้นประกอบด้วยระบบกฎหมายเพียงระบบเดียว อันมีลักษณะเป็นการมองข้ามหรือกดข่มซึ่งความคงอยู่ของประชาชนกลุ่มที่ไม่มีความประสงค์ที่จะอยู่ภายใต้บริบทกฎหมายของรัฐดังกล่าว ดังนั้น การปรับปรุงการตีความแนวคิดว่าด้วยสัญญาประชาคมจึงเป็นสิ่งจำเป็นต่อการสร้างความชอบธรรมให้กับการคงอยู่ของรัฐภายใต้สภาวะที่มีระบบกฎหมายอันหลากหลายปรากฎอยู่ร่วมกัน ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเพื่อเป็นการสนองตอบต่อวัตถุประสงค์ของแนวคิดว่าด้วยสัญญาประชาคมเอง นั่นคือการดำรงไว้ซึ่งความปลอดภัยในสิทธิ เสรีภาพ ตลอดจนชีวิตและทรัพย์สินของปัจเจกชนทั้งปวง

References

Leo Strauss and Joseph Cropsey. (1987). History of Political Philosophy (E-Book Edition). Edited by Edition, Third. United State: University of Chicago.

Cambridge Dictionary. Meaning of “Law” in the English Dictionary. Retrieved September 23, 2017, From http://dictionary. cambridge.org/dictionary/english/law [23/08/2017.

Sally Engle Merry. (1988). Legal Pluralism. Law & Society Review. 22(5).

ADEL ELSAYED SPARR. Legal Pluralism and Sharia: Implementing Islamic Law in States and Societies. Retrieved September 23, 2017, from: http://www.e-ir.info/2014/12/18/legal-pluralism-and-sharia-implementing-islamic-law-in-states-and-societies/

อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2559). พรมแดนความรู้เรื่อง Legal Pluralism. วารสารนิติสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 3, 1

บวรศัดิ์ อุวรรณโณ. (2554). กฎหมายมหาชน เล่ม 1 วิวัฒนาการวางปรัชญาและลักษณะของกฎหมายมหาชนยุคต่างๆ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมชาย ปรีชาศิลปกุล. (2559). พหุนิยมทางกฎหมาย. วารสารนิติสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 3, 1

ราชบัณฑิตยสถาน. (2539). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

ธเนศ วงศ์ยานาวา และคณะ. (2558). อ่านวิพากษ์ มิเชล ฟูโกต์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศยาม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-01