การดำเนินการทางวินัยข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา และพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา
คำสำคัญ:
การดำเนินการทางวินัย, ข้าราชการพลเรือน, สถาบันอุดมศึกษาพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การดำเนินการทางวินัยข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา และพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและสาเหตุในการทำให้การดำเนินการทางวินัยข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา และพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา และศึกษาแนวทางการป้องกันการกระทำผิดวินัยของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา และพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสังเคราะห์ ทบทวนวรรณกรรมจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลที่ได้นำมาแยกแยะเนื้อหาเป็นกลุ่มข้อมูล (Content analysis) ตามโครงสร้างเนื้อหาที่ได้กำหนดไว้ และนำมาพรรณนาความบรรยายสรุปอย่างเป็นระบบตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้
ผลการวิจัย พบว่า ปัญหาและสาเหตุในการทำให้การดำเนินการทางวินัยข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา และพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาคือ ปัญหาในการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ปัญหาในการแสวงหาข้อเท็จจริงและการสอบสวน ปัญหาในการใช้ดุลพินิจในการพิจารณาโทษฐานประพฤติชั่ว ปัญหาในการสั่งให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พักราชการหรือออกจากราชการไว้ก่อน แนวทางการป้องกันการกระทาผิดวินัยของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา และพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ควรมีการบัญญัติคำนิยามศัพท์ขยายความกรณีถือเป็นการกระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเพื่อลดปัญหาช่องว่างในการใช้อานาจดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาอย่างเหมาะสม โดยการบัญญัติเพิ่มเติมในส่วนของบทนิยาม มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2547 ว่า การกระทำอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง หมายถึง ความผิดที่เกิดจากเจตนากระทาการ ละเว้นการกระทำหรือพยายามกระทาการ ควรแก้ไขโดยยกเลิกบทบัญญัติในมาตรา 50 วรรคสอง โดยแก้ไขเป็นว่า กรณีมีการสั่งพักราชการหรือออกจากราชการไว้ก่อน ในระหว่างการสอบสวน ให้ดำเนินการสอบสวนให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันที่ประธานกรรมการสอบสวนได้รับทราบคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน และบัญญัติเพิ่มเป็นมาตรา 50 วรรคสามว่ากรณีไม่สามารถดำเนินการสอบสวนให้แล้วเสร็จตามความในวรรคสอง ให้คณะกรรมการสอบสวนแจ้งเหตุที่ทำให้การสอบสวนไม่แล้วเสร็จต่อนายกสภามหาวิทยาลัยเพื่อขอขยายระยะเวลาการสอบสวน กรณีเช่นว่านี้ให้ดำเนินการตามเท่าที่จาเป็น
References
เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. (2548). คำอธิบายกฎหมายอาญา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: หจก.จิรรัชการพิมพ์.
ประวีณ ณ นคร. (2556). คู่มือการศึกษาวินัยข้าราชการสำหรับผู้บังคับบัญชา. สำนักงาน ก.พ.
ภัทรพร อุทัยธรรม. (2551). ปัญหากฎหมายในการพิจารณาความผิดของอาจารย์มหาวิทยาลัยที่ล่วงละเมิดทางเพศต่อนักศึกษา.(สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).
ราชบัณฑิตยสถาน. (2538). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.
วรเจตน์ ภาคีรัตน์. (2545). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายปกครองและการกระทำทางปกครอง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
วิพัฒน์ พลโยราช. (2517). กระบวนการพิจารณาความผิดทางวินัยของข้าราชการพลเรือน (ศึกษาเฉพาะกรณีข้าราชการ กรมปกครอง. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
อภิรักษ์ พูนวัฒนานุกูล. (2551. ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (สารนิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยรามคำแหง).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
ความคิดเห็นในบทความและงานเขียน ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้ประพันธ์โดยอิสระ กองบรรณาธิการ วารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป หากท่านประสงค์จะนำบทความหรืองานเขียนเล่มนี้ไปตีพิมพ์เผยแพร่ จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ประพันธ์ตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์