การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • อุทัยวรรณ ทองคำ สาขาวิชาสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • ทัศนีย์ นาคุณทรง สาขาวิชาสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้, เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม 2) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูในโรงเรียนเทศบาลเมืองมหาสารคาม จำนวน 205 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยวิธีจับฉลาก รวมได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 102 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองมหาสารคาม อยู่ในระดับมาก ทั้ง 4 ด้าน อันประกอบไปด้วย ด้านการจัดเตรียมการเรียนการสอน ด้านการดำเนินการจัดการเรียนการสอน ด้านการผลิตสื่อและใช้สื่อการเรียนการสอน และด้านการประเมินผลการจัดการเรียนการสอน 2) ข้อเสนอแนะพบว่า โดยรวมต้องกำหนดกิจกรรมที่ผู้เรียนได้คิดและลงมือปฏิบัติ และได้ศึกษาข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายและนำข้อมูลหรือความรู้นั้นมาสังเคราะห์เป็นความรู้หรือเป็นข้อสรุปของครูให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนหรือสอดคล้องกับท้องถิ่น

References

กรมวิชาการ, กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). คู่มือการจัดการสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ.

กิ่งฟ้า สินธุวงษ์. (2545). ปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง: หลักการสู่การปฏิบัติ. ขอนแก่น: หจก. โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน (2543). ปฏิรูปการเรียนรู้ ผู้เรียนสำคัญที่สุด. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

ประเวศ วะสี. (2543). ปฏิรูปการเรียนรู้แก้ไขความทุกข์ยากของแผ่นดิน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2541). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: ต้นอ้อ 1199.

สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์. (2544) การยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและการประเมินตามสภาพจริง. เชียงใหม่: พิมพ์ลักษณ์.

อมรวิชช์ นาครทรรพ. (2544). ปฏิรูปการศึกษาไทยในมุมประชาชน. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-01