ข้าวปุ้นซาว: ความเปลี่ยนแปลง และการดำรงอยู่ในสังคมสมัยใหม่

ผู้แต่ง

  • วรฉัตร วริวรรณ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏร้อยเอ็ด
  • เบญจวรรณ บุญโทแสง สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

ทุนนิยม, สังคมสมัยใหม่, การผลิตและการบริโภค, ข้าวปุ้นซาว

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเปลี่ยนแปลงของวิถีการผลิตและการบริโภคข้าวปุ้นซาวและการดำรงอยู่ของวิถีข้าวปุ้นซาว ภายใต้ความเป็นสังคมสมัยใหม่ ข้อมูลที่ใช้ในบทความนี้ได้มาจากการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งมีวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และไม่มีส่วนร่วม ซึ่งจากการศึกษาพบว่า ในอดีตข้าวปุ้นซาวเป็นอาหารที่ผูกโยงเข้ากับงานบุญประเพณีสำคัญต่างๆ โดยมีขั้นตอนการผลิตที่ซับซ้อน และใช้แรงงานคนจำนวนมาก จึงนิยมทาเฉพาะในงานบุญสำคัญที่ผู้คนในชุมชนมีกิจกรรมร่วมกันเท่านั้น ข้าวปุ้นซาวจึงไม่ใช่อาหารที่มีการบริโภคกันในวิถีชีวิตประจาวันทั่วไป อย่างไรก็ตาม เมื่อวิธีคิดของการพัฒนาประเทศที่มุ่งเน้นการพัฒนาความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจภายใต้ฐานคิดของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ส่งผลให้ข้าวปุ้นซาวกลายเป็นอาหารที่ผลิตเพื่อการค้า จากอาหารในงานบุญกลายเป็นอาหารที่สามารถบริโภคกันโดยทั่วไป มีการใช้เทคโนโลยีการผลิต ที่ทันสมัย มีการปรับปรุงรสชาติให้มีความหลากหลาย เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่หลากหลายมากขึ้น ดังนั้น ข้าวปุ้นซาวในสังคมสมัยใหม่ จึงเป็นการปรับเปลี่ยนวิถีการผลิตเพื่อการดำรงอยู่ที่สอดรับกับวิถีของสังคมและการบริโภคที่เปลี่ยนไป

References

กีรติพร จูตะวิริยะ, คำยิน สานยาวง และคำพอน อินทิพอน. (2554). “วิถีการบริโภคอาหารกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในยุคโลกาภิวัฒน์ เขตนครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว”. วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง, 7(2), 49-73

ประสิทธิ์ คงธรรม. (2539). วัฒนธรรมการบริโภคอาหารชาวบ้านชุมชนก้าเส้ง ตำบล บ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังกหวัดสงขลา. (ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒภาคใต้).

พิศมัย รัตนโรจน์สกุล. (2545). ทุนชุมชน: เงื่อนไขในการดำรงอยู่ของชุมชนในระบบทุนนิยม. (ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

สุรชัย หวันแก้ว. (2540). การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุพิศวง ธรรมพันธา) .2543). มนุษย์กับสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ภูมิไทย.

Best, Shaun. (2001). A Beginner’s Guide to Social Theory. London. Sage.

Ritzer, George. (1996). Sociological Theory. Fourth Edition. New York: The McGraw-hill Companies.

. (2001). Exploration in Social Theory: From Metatheorizing to Rationalization. London. Sage.

Smelser, Neil J. (1988). Sociology. 3rd Englewood Cliffs: Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-01