สถาบันการศึกษากับการขัดเกลาทางสังคมที่มีต่อเยาวชนเพื่อความเป็นประชาธิปไตย

ผู้แต่ง

  • จิรพงศ์ มหาพจน์ สาขารัฐศาสตร์ คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
  • เบญจวรรณ บุญโทแสง สาขารัฐศาสตร์ คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อชี้ให้เห็นถึงกระบวนการขัดเกลาทางสังคมเยาวชนเพื่อประชาธิปไตย รวมถึงปัญหาและอุปสรรคในการขัดเกลาทางสังคมเยาวชนเพื่อประชาธิปไตยของโรงเรียนขามแก่นนคร อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้แนวคิดประชาธิปไตยและการขัดเกลาทางสังคมมาวิเคราะห์ ด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผ่านการวิเคราะห์เอกสารและสัมภาษณ์เชิงลึก ซึ่งใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ เพื่อมาสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการขัดเกลาทางสังคมเยาวชนเพื่อประชาธิปไตยของโรงเรียนขามแก่นนครมี 4 กระบวนการ คือ 1) การจัดระบบและโครงสร้างการบริหารงานเพื่อเสริมสร้างประชาธิปไตยในโรงเรียน 2) การมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างประชาธิปไตยในโรงเรียน 3) การสร้างครูเพื่อเสริมสร้างประชาธิปไตยในโรงเรียน 4) การจัดการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างประชาธิปไตยทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ส่วนปัญหาและอุปสรรคมี 3 ด้าน คือ 1) ด้านความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกระดับประเทศและนานาชาติ 2) ด้านการดำเนินงานเชิงรุก 3) ด้านงบประมาณ โดยการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่า การสร้างกระบวนการขัดเกลาทางสังคมเพื่อประชาธิปไตยที่แท้จริงและยั่งยืนนั้น ควรเริ่มจากการปรับเปลี่ยนวิธีคิดของสังคมที่มีต่อระบบการศึกษาและสถาบันการศึกษา เพื่อนำไปสู่การกำหนดนโยบายของรัฐและนโยบายของโรงเรียนต่อไป

References

นิพนธ์ ก้องเวหา. (2557). การบริหารกิจการนักเรียนโดยใช้กิจกรรมนักเรียนเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย โรงเรียนมัธยม วัดดาวคะนอง สำนักงานเขตการศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ.

ปริญญา เห็นสุข. (2549). การสื่อสารและการขัดเกลาทางสังคมด้านคุณธรรม จริยธรรมของนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ วารสารศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ยนต์ ชุ่มจิต. (2531). ความเป็นครู. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.

ลัดดาวัลย์ ตันติวิทยาพิทักษ์. (2550). ขบวนการประชาสังคมกับการพัฒนาประชาธิปไตยชุมชน. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาสหวิทยาการ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิวัฒน์พงศ์ เชิญยศ. (2539). กลไกองค์กรที่มีผลต่อการกล่อมเกลาความรู้ความเข้าใจ หลักการประชาธิปไตยในฐานะวิถีชีวิต : ศึกษาเปรียบเทียบกรณี นักเรียน มัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญและสายอาชีพ ในกรุงเทพมหานคร, สารนิพนธ์, สาขาวิชาบริหารรัฐกิจ. กรุงเทพฯ : คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิสุทธิ์ โพธิ์แท่น. (2556). แนวคิดพื้นฐานของประชาธิปไตย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.

สุพัตรา สุภาพ. (2533). สังคมวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ ไทยวัฒนาพานิช.

สิริพรรณ นกสวน สวัสดี. (2557). การศึกษาเพื่อพลเมืองในคำและแนวคิดในประชาธิปไตยสมัยใหม่. กรุงเทพฯ : มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ทแห่ง ประเทศไทย.

โรงเรียนขามแก่นนคร. (2559). ประวัติโรงเรียนขามแก่นนคร อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2559, จาก : http://kham.ac.th/kham2013/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-06-01