ความเป็นอื่นบนวาทกรรมการพัฒนาในวิถีชุมชนมอแกน

ผู้แต่ง

  • เบญจวรรณ บุญโทแสง สาขาวิชารัฐศาสตร์ คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

ความจริง, การพัฒนา, วาทกรรมการพัฒนา, การกลายเป็นอื่น, มอแกน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอภาพของการพัฒนาภายใต้สภาวะความเป็นสมัยใหม่ที่ได้โหมกระพือถาโถมเข้าสู่ประเทศไทย จนก่อให้เกิดเป็นวาทกรรมการพัฒนาที่ส่งผลต่อความคิดความเชื่อของสังคมที่มีต่อคำว่า “การพัฒนา” ในฐานะความจริงที่แน่นอนตายตัว ทั้งที่เบื้องหลังการพัฒนานั้นกลับก่อตัวขึ้นจากการเถลิงอำนาจผ่านระบบความรู้ ส่งผลให้ในท้ายที่สุด ความจริงของการพัฒนาได้สถาปนาความเป็นอื่นให้แก่สิ่งที่แตกต่างออกไปจากปริมณฑลของชุดการพัฒนานั้นๆ บทความชิ้นนี้ ผู้เขียนได้หยิบยกวิถีชีวิตและอัตลักษณ์ของ “ชาวเลมอแกน” (Moken) มาวิเคราะห์ เพื่อให้มองเห็นภาพการเคลื่อนที่ของอุดมการณ์การพัฒนาและผลกระทบจากการพัฒนา ซึ่งยัดเยียดความเป็นอื่นและเบียดขับชาวเลมอแกนให้รู้สึกแปลกแยก ไร้พื้นที่ ไร้อำนาจ และไร้ตัวตนในสังคม อันเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยผู้เขียนหวังว่า บทความนี้จะช่วยเปิดพื้นที่ทางสังคมมิให้มีโลกทัศน์ทางความคิดที่ยึดโยงอยู่กับมิติของการพัฒนาเพียงแง่มุมเดียว ให้หันมาตระหนักถึงอีกแง่มุมหนึ่งของการพัฒนาตามกระแสความเป็นสมัยใหม่ เพื่อนำไปสู่การเปิดกว้างทางความคิดความเชื่อ ด้วยการตั้งคำถามหรือวิพากษ์ต่อปรากฏการณ์ทางสังคมในเชิงสร้างสรรค์ อันจะนำไปสู่การรู้เท่าทันและร่วมกันแสวงหาทางออก เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนตามวิถีชุมชนอย่างแท้จริง

References

Best, Shaun. (2001). A Beginner’s Guide to Social Theory. London. Sage.

Danaher, Geoff; Schirato, Tony and Webb, Jen. (2000). Understanding Foucault. London: SAGE Publications.

Foucault, Michel. (1972). The Archaeology of Knowledge and the Discourse on Language. New York: Pantheon Books.

Holton, Robert, “Max Weber and the Interpretative Tradition” in Isin, E.F. and Delanty, G. (editors), Handbook of Historical Sociology. London: Sage, 2003, pp. 27-38.

Srianankavanich, Niramon. (2006). An Analysis of “Otherness” of black people Presented in Paul Laurence Dunbars’s “the Lynching of Jube Benson”. Master’s Thesis of Arts Degree in English. Srinakharinwirot Unversity.

Ritzer, George. (1993). The McDonaldization of Society: An Investigation Into the Changing Character of Contemporary Social Life. London. Sage.

_____. (2001). Exploration in Social Theory: From Metatheorizing to Rationalization. London. Sage. .

_____. (2007). Contemporary Sociological Theory and Its Classical Roots. Second Edition. New York: The McGraw-hill Companies.

โครงการพิพิธภัณฑ์ชนเผ่าออนไลน์. ชนเผ่ามอแกน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://moken.hilltribe. org/thai// (วันที่ค้นข้อมูล: 29 มีนาคม 2554).

เชษฐา พวงหัตถ์. (2551). “ทฤษฎีสังคมและการทำความเข้าใจสภาวะสมัยใหม่ของ แอนโธนี กิ๊ดเดนส์”. ใน วารสารร่มพฤกษ์. ปีที่ 26. ฉบับที่ 1: 1-41.

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2545). วาทกรรมการพัฒนา: อานาจ ความรู้ ความจริง เอกลักษณ์ และความเป็นอื่น. กรุงเทพฯ: วิภาษา.

เดวิด โกลด์สเวอร์ธี. (2530). มองทฤษฎีการพัฒนาอย่างวิเคราะห์. แปลโดย พฤทธิสาณ ชุมพล. กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษาการพัฒนาสังคม คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทายาท เดชเสถียร และพิศาล แสงจันทร์, ผู้กำกับ. (2554). มอแกนป่ะ?. [เทปโทรทัศน์]. กรุงเทพฯ: แอคชั่นเอดประเทศไทย.

นพพร จันทรนาชู. (2550). หาบเร่แผงลอย: การกลายเป็นอื่นในกระบวนการผลิตพื้นที่เมือง. วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาพัฒนศึกษาศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นภางค์ คงเศรษฐกุล. (2549). การสถาปนาความเป็นอื่นให้กับคนเก็บขยะ. วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาพัฒนศึกษาศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นฤมล อรุโณทัย, วิทยากร. (2551). ชุมชนชาวเลเสี่ยงสลายตัว. [เทปโทรทัศน์]. กรุงเทพฯ: รายการหมายเหตุประเทศไทย.

ปิ่นแก้ว อุ่นแก้ว (บรรณาธิการ). (2552). 5 คูณ 6 จากแม่อายสู่อันดามัน เส้นทางสู่ การมีสถานะบุคคลบนผืนแผ่นดินไทย. กรุงเทพฯ: โครงการขยายองค์ความรู้ จากแม่อายสู่อันดามัน.

______. (2550). คนไร้รัฐ ไร้สัญชาติในรัฐไทย. กรุงเทพฯ: วิญญูชน. ผู้จัดการรายวัน. มอแกน เปลี่ยนไป หรือคือชนเผ่าที่ถูกลืม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID= 9470000005297 (วันที่ค้นข้อมูล: 29 มีนาคม 2554).

พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. การแต่งกายของชาวมอแกน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://museum.socio.tu.ac.th/online%20exhibition/ Morgan/chaoley.html (วันที่ค้นข้อมูล: 29 มีนาคม 2554). มูลนิธิกระจกเงา และโครงการแอคชั่นเอด ประเทศไทย. (มปป.). สารคดีมอแกน (moken). [เทปโทรทัศน์]. กรุงเทพฯ: มูลนิธิกระจกเงา.

อุดมเขต ราษฎร์นุ้ย. (2552). รักษาโรคไร้สัญชาติ ด้วยนโยบายของรัฐไทย (ฉบับชาวเลมอแกนและคนไทยพลัดถิ่น). กรุงเทพฯ: โครงการขยาย องค์ความรู้จากแม่อายสู่อันดามัน.

อุษณีย์ ธโนศวรรย์. (2545). การศึกษาในระบบ: ปฏิบัติการทางอำนาจผ่านความรู้ และการสร้างความเป็นอื่นให้กับชุมชนหมู่บ้าน. วิทยานิพนธ์ ปริญญา การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาพัฒนศึกษาศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

โอลิเวียร์ แฟร์รารี, กุลทรัพย์ อุดพ้วย, นฤมล หิญชีระนันทน์ และจ๊าค อีวานอฟ. (2549). คลื่นแห่งความยุ่งยากบนเกาะพระทอง. กรุงเทพฯ: องค์กร ความร่วมมือและพัฒนาแห่งสวิตเซอร์แลนด์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-06-01