เนื้อหาและพรมแดนแห่งองค์ความรู้ทางปรัชญาการเมืองตะวันตกในสถาบันอุดมศึกษาไทย
คำสำคัญ:
องค์ความรู้, ปรัชญาการเมืองตะวันตก, สถาบันอุดมศึกษาไทยบทคัดย่อ
บทความนี้ต้องการอธิบายถึงพัฒนาการ รูปแบบ เนื้อหาสาระและพรมแดนขององค์ความรู้รวมไปถึงปัญหา อุปสรรคและแนวโน้มขององค์ความทางปรัชญาการเมืองตะวันตกในสถาบันอุดมศึกษาไทย การศึกษาในครั้งนี้ใช้วิธีวิทยาการวิจัยในเชิงการค้นคว้าทางด้านเอกสารเป็นหลัก โดยองค์ความรู้ทางปรัชญาการเมืองที่ผู้ศึกษาค้นคว้าและลงมือศึกษาอยู่ในรูปของตำรา หนังสือเรียน วารสารและบทความและมีการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนและผลิตผลงานทางปรัชญาการเมืองตะวันตกส่วนหนึ่ง องค์ความรู้ทางปรัชญาการเมืองในสถาบันอุดมศึกษาไทย ยังขาดแคลนองค์ความรู้หลักโดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาผลงานหลักสำคัญของนักปรัชญาการเมืองแต่ละท่าน แต่ละช่วงยุคเวลา สาเหตุเนื่องมาจากยังไม่มีการแปลผลงานของนักปรัชญาการเมืองออกมา อีกทั้งยังขาดแคลนองค์ความรู้ในเรื่องของคำอธิบาย การวิเคราะห์ การวิพากษ์และการตีความแนวความคิดของนักปรัชญาการเมืองทั้งในรูปแบบของตำรา หนังสือเรียนและบทความ ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการเรียนรู้และเข้าใจตัวบทของนักปรัชญาได้ชัดเจนเพิ่มขึ้น ปัญหาข้างต้นสัมพันธ์กับเรื่องของการเรียนการสอนที่ปรากฏอยู่ในรูปของรายวิชาและอาจารย์ผู้รับผิดชอบ ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงเนื้อหาสาระแท้จริงของปรัชญาการเมือง
References
David Miller, Janet Coleman, William Connolly and Alan Ryan. (eds.). (1991). The Oxford Handbook of Political Methodology. Oxford: Blackwell Publishing Ltd.
George Klosko. (2011). The Oxford Handbook of the History of Political Philosophy. Edited by Oxford: Oxford University Press.
John S. Dryzek, Bonnie Honig and Anne Phillips. (eds.). (2006). The Oxford Handbook of Political Theory. Oxford: Oxford University Press.
Paul Shorey. (1993) .What Plato Said. Chicago: The University of Chicago Press.
Richard Bellamy & Angus Ross. (eds.). (1966). A Textual Introduction to Social and Political Theory. Manchester: Manchester University Press.
Robert E. Goodin, Philip Pettit and Thomas Pogge. (eds.). (2012). A Companion to Contemporary Political Philosophy. West Sussex: Wiley-Blackwell.
ไชยันต์ ไชยพร. (2555). ‘การแปลตัวบททางปรัชญาการเมือง (ตอนที่ 1) การแปล ตัวบทปรัชญาการเมืองครั้งแรกในเมืองไทย:จุดมุ่งหมายและนัยความหมาย’. วิภาษา ปีที่ 6 ฉบับที่ 6 ลำดับที่ 46.
สมบัติ จันทรวงศ์. (2520). ทฤษฏีการเมืองตะวันตก (แปล). กรุงเทพมหานคร โครงการตาราสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์.
สมบัติ จันทรวงศ์. (2525). รัฐศาสตร์ : สถานภาพและพัฒนาการ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ.
สมบัติ จันทรวงศ์. (2527). ‘หน่วยที่ 1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับการศึกษาปรัชญาการเมือง’ ใน เอกสารการสอนชุดวิชาปรัชญาการเมือง. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
ความคิดเห็นในบทความและงานเขียน ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้ประพันธ์โดยอิสระ กองบรรณาธิการ วารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป หากท่านประสงค์จะนำบทความหรืองานเขียนเล่มนี้ไปตีพิมพ์เผยแพร่ จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ประพันธ์ตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์