การปรับตัวภายใต้ความเสี่ยงและความเปราะบางของชาวนา ต.ท่าม่วง อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด ในบริบทของประชาคมอาเซียน

ผู้แต่ง

  • ชนาใจ หมื่นไธสง สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

การปรับตัว, ชาวนาไทยในอีสาน, ประชาคมอาเซียน, ความเสี่ยงและความเปราะบาง, ต.ท่าม่วง อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับตัวภายใต้ความเสี่ยงและความเปราะบางของชาวนา ต.ท่าม่วง อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด ในบริบทของประชาคมอาเซียน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2560-กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ผลการวิจัย พบว่า ปัญหาและการปรับตัวด้านการผลิต ด้านการตลาด ด้านการจัดการ และด้านหนี้สิน โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ปัญหาด้านการผลิต แบ่งเป็น 1) ด้านปัญหาปุ๋ยเคมี พบว่า ชาวนาบางกลุ่มพยายามลดการใช้ปุ๋ยเคมีแต่เป็นไปได้ยากเพราะทุกครัวเรือนต้องการได้ผลผลิตตามเป้าหมาย 2) ด้านแรงงาน พบว่า เลือกใช้วิธีการทำนาที่ใช้แรงงานน้อย และเป็นแรงงานที่สามารถต่อรองราคาได้ หรืออาจใช้การจ้างญาติพี่น้องของตน 3) น้ำท่วม มีการปรับตัวโดยการติดตามข้อมูลการพยากรณ์อากาศ และปริมาณน้ำฝนในแต่ละครั้ง เพื่อวางแผนการทำนาให้ได้ตามเป้าหมาย ปัญหาด้านการตลาด ได้แก่ การกดราคา และราคาข้าวตกต่า ชาวนาให้ความสำคัญกับการรวมกลุ่มเป็นเครือข่ายในหมู่บ้านเพื่อนำข้าวไปขายต่างพื้นที่ และมีแนวคิดที่อยากจะเรียกร้องและต่อรองกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ปัญหาด้านการจัดการ พบว่า การเช่าที่นาของชาวนาในชุมชนอาศัยการเจรจาต่อรองเพื่อขอลดราคาเช่าที่ดินทำนา กับเจ้าของที่ ซึ่งเป็นคนในชุมชน ปัญหาหนี้สิน พบว่า ชาวนาในชุมชนชาวนาพยายามที่จะไม่ก่อหนี้เพิ่ม หรือหากจำเป็นต้องกู้เงินก็จะใช้การกู้เงินในระบบ มีการวางแผนค่าใช้จ่ายในครัวเรือน โดยส่งเสริมให้สมาชิกในครัวเรือนหารายได้เสริมและลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน

References

กรมอาเซียน. (2555). ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community). สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2560, จาก http://www.mfa.go.th/asean/th/asean-media-center/2395

คมชัดลึก. (2557). รอบรู้เศรษฐกิจ ตามติดตลาดโลก. หนังสือพิมพ์คมชัดลึก, 26 กุมภาพันธ์ 2557, หน้า 6.

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. (2541). วัฒนธรรมหมู่บ้านไทย. กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์จากัด.

ชนาใจ หมื่นไธสง. (2558). ความร่วมมือทางวิชาการไทย-สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว 2535-2554. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

ประภัสสร์ เทพชาตรี. (2555). ไทยกับการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน 2015. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยและให้คาปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

มณีมัย ทองอยู่. (2546). โครงการวิจัยการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจชาวนาไทย: กรณีชาวนาลุ่มน้ำพอง: รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: สานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

มูลนิธิข้าวไทย. (2558). ยกระดับข้าวพื้นเมือง สร้างอนาคตข้าวไทยยุค AEC. สืบค้น เมื่อ 11 มกราคม พ.ศ. 2560, จาก https://www.trf.or.th/component/ attachments/ download/3196

วันเพ็ญ ทับทิมแก้ว. (2558). การปรับตัวและทัศนคติของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวไทยเมื่อ เข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน: กรณีศึกษาผู้ปลูกข้าวในจังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาธุรกิจอาเซียน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

วิรัลพัชร ประเสริฐศักดิ์. (2558). ความมั่นคงทางอาหาร: จากพัฒนาการเกษตรสู่เศรษฐกิจพอเพียง. วารสารการเมืองการปกครอง. 5(2),144-160

วิเชียร เกิดสุข พัชรินทร์ ฤชุวรารักษ์ และกฤติภาส วิชาโคตร. (2555). การปรับตัว ของเกษตรกรชาวนาทุ่งกุลาร้องไห้ต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ. สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว). สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2561, จาก http://www.thailandadaptation.net/pdf/pdf2/7.pdf

สมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์. (2555). ประเทศไทยในกระแส AEC: มายาคติ ความเป็นจริง โอกาสและความท้าทาย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิชัยพัฒนา.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2558). AEC กับแรงงานภาคการเกษตร. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2561, จาก https://prachatai.com/journal /2015 /04/59054

อัทธ์ พิศาลวานิช. (2557). ข้าวไทยในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรณิช รุ่งธิปานนท์. (2557). ภูมิภาคนิยมกับอาเซียน. กรุงเทพฯ: สำนักงาน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

อัมมาร สยามวาลา และคนอื่นๆ. (2549). การประเมินความเสี่ยงและความเปราะบาง ทางสังคม : การวัดภาวะความยากไร้และความเปราะบางทางสังคม. สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม พ.ศ. 2561. จาก https://tdri.or.th/wp- content/uploads/2012/12/h103.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-01