การกลายเป็นเมืองในพื้นที่ชนบท: ศึกษาเงื่อนไขภายในที่ก่อให้เกิดการกลายเป็นเมืองของชุมชนรอบข้าง มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
ชุมชนเข้มแข็ง, การกลายเป็นเมือง, จังหวัดร้อยเอ็ดบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการกลายเป็นเมืองในพื้นที่ชนบท ศึกษาเงื่อนไขภายในที่ก่อให้เกิดการกลายเป็นเมืองของชุมชนรอบข้างมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีการเก็บข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม สำหรับกลุ่มเป้าหมายในการวิจัย ประกอบด้วยผู้บริหารของมหาวิทยาลัย อาจารย์ เจ้าหน้าที่ ผู้นำชุมชนและประชาชนที่อาศัยอยู่รอบข้างมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด จำนวน 12 คน เก็บข้อมูลระหว่าง เดือนพฤศจิกายน 2559 - กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
จากการศึกษา พบว่า เงื่อนไขภายในที่ก่อให้เกิดการกลายเป็นเมืองของชุมชนรอบข้างมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ประกอบด้วย 1) การก่อตั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด 2) ชุมชนเข้มแข็ง 3) ศิษย์เก่า 4) การกระจายอำนาจขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น 5) กลุ่มทุนภายในและกลุ่มทุนภายนอกพื้นที่ 6) กลุ่มผู้ย้ายถิ่น 7) แนวคิดของคนในพื้นที่
References
กรมโยธาธิการและผังเมือง. (2550). ความรู้เรื่องประชากรและชุมชนเมือง. สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม (2558), จาก http://www.dpt.go.th/ITCitdb/txt/pop/ urban4.htm
โกวิท พวงงาม. (2550). การปกครองท้องถิ่นไทย หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์วิญญูชน จากัด.
ประภัสสร์ เทพชาตรี. (2555). ประชาคมอาเซียน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ เสมาธรรม.
วิติยา ปิดตังนาโพธิ์. (2555). โครงการผลกระทบจากการขยายตัวของเมืองมหาวิทยาลัยต่อการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ชุมชนโดยรอบ กรณีศึกษามหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก. สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2558, จาก http://stdb.most.go.th/research_detail.aspx?ResearchId=25570
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2008). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2558, จาก http://www.nesdb.go.th/Default.aspx? tabid=90
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (ม.ป.ป). สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2561, จาก http://www.nesdb.go.th/ewt_dl_link. php?nid=5806
JDC International. (2540). รายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์ การจัดทาผังแม่บททางกายภาพ โครงการจัดตั้งสถาบันราชภัฎร้อยเอ็ด ณ บริเวณทุ่งปะ อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด. กรุงเทพฯ: Nond-Trungjai Architects , Planners Co., Ltd.
Kritsada Phatchaney, Thanapauge Chamaratana. (2016). Vulnerability: Urbanization Impact of Labor Households in Khon Kaen Peri – Urban. Proceedings of 12th International Conference on Humanities & Social Sciences 2016 (IC-HUSO 2016). Faculty of Humanities and Social Sciences, Khon Kaen University, Thailand
The Asian Cities Climate Change Resilience Network (ACCCRN). (2016). Urbanizing Thailand Implication for climate vulnerability assessments. International Institute for environment and development (IIED). Thongyou, Sosamphanh, Phongsiri, Chamaratna, (2013. Impacts of urbanization on hinterlands and local response in the Mekong region: a case study of Khon Kaen, Thailand and Vang Vieng, Lao PDR. Khon Kaen, Center for research on plurality in Mekong region, Faculty of Humanities and Social Sciences, Khon Kaen Uinversity.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
ความคิดเห็นในบทความและงานเขียน ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้ประพันธ์โดยอิสระ กองบรรณาธิการ วารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป หากท่านประสงค์จะนำบทความหรืองานเขียนเล่มนี้ไปตีพิมพ์เผยแพร่ จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ประพันธ์ตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์