ความเข้าใจและเจตคติต่อการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักรไทย พ.ศ. 2560 ของประชาชน จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • ธานี ถังทอง สาขารัฐศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ

คำสำคัญ:

ความเข้าใจ, เจตคติ, การเลือกตั้ง, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักรไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความเข้าใจ 2) เพื่อศึกษาเจตคติ 3) เพื่อศึกษาสภาพการเปิดรับข่าวสารการเลือกตั้ง 4) เพื่อหาแนวทางในการส่งเสริมความเข้าใจ และเจตคติทางบวกต่อการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักรไทย พ.ศ.2560 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดชัยภูมิ ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ และการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชาย จำนวน 178 คน (ร้อยละ 44.5) กับเพศหญิง จำนวน 222 คน (ร้อยละ 55.5) ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 31-40 ปี ส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ร้อยละ 35 รองลงมา คือ ระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 21.25 ประถมศึกษา ร้อยละ 19.25 ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 32.25 รองลงมาประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 19.25 และประกอบอาชีพรับราชการ ร้อยละ 16.25 ความเข้าใจต่อการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักรไทย พ.ศ. 2560 มีค่าคะแนนเท่ากับ ร้อยละ 43.02 หมายถึง กลุ่มตัวอย่างมีความเข้าใจอยู่ในระดับปานกลาง เจตคติต่อการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักรไทย พ.ศ.2560 มีค่าคะแนนเฉลี่ยรวมเท่ากับ คือ 2.30 หมายถึง กลุ่มตัวอย่างมีเจตคติทางลบต่อการเลือกตั้ง การเปิดรับข้อมูลรับข่าวสารการเลือกตั้ง มีค่าคะแนนเฉลี่ยรวมเท่ากับ 1.78 หมายถึง กลุ่มตัวอย่างมีการเปิดรับข้อมูลรับข่าวสารการเลือกตั้งเป็นบางครั้ง

แนวทางในการส่งเสริมความเข้าใจ ต้องพัฒนาและสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบการเมือง นักการเมืองต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน พรรคการเมืองต้องมีเสถียรภาพและความเข้มแข็งแก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้เกิดความเป็นธรรมในการเลือกตั้งมีการส่งเสริมการเรียนรู้ในองค์ความรู้ด้านการเมืองและการเลือกตั้งอย่างลึกซึ้ง สม่ำเสมอ และเผยแพร่องค์ความรู้อย่างทั่วถึง

References

กระทรวงการต่างประเทศ. (2551). ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน. กรุงเทพฯ. กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ.

กลุ่มงานพัฒนากฎหมาย. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: สานักการพิมพ์ สานักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

กาญจนา เอี่ยมพันธ์ และคณะ. (2556). ทัศนะคติและพฤติกรรมการใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้นาชุมชนเทศบาลหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. นครปฐม: เทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

แก้วตา โอภาสศิริวิทย์. (2551). การรับรู้และความเข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 กรณีศึกษาพื้นที่เขตเลือกตั้งที่ 1 กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารจัดการสาธารณะบัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

ธวัช ทันโตภาส. (2542). ทฤษฎีการเมือง. ใน เอกสารประกอบการสอน แผนกวิชารัฐศาสตร์ ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. ปัตตานี: ปัตตานีการช่าง.

ประภาเพ็ญ สุวรรณ. (2520). ทัศนคติ: การเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรมอนามัย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

รัตนา เค้าไฮ. (2559). การศึกษาทัศนคติเชิงบวก พฤติกรรมการบริจาค และการรณรงค์ผ่านสื่อ ที่มีผลต่อแรงจูงใจในบริจาคให้กับเด็กด้อยโอกาสของพนักงานบริษัทเอกชน. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2553). หลักรัฐศาสตร์. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์ จากัด.

วิสุทธิ์ โพธิ์แทน. (2542). ความคิดเกี่ยวกับการให้ความรู้ทางการเมืองเพื่อการมี ส่วนร่วมในทางการเมืองที่มีประสิทธิภาพในประเทศไทย.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรุงเทพฯ: วิภาษา.

ศุภรัตน์ กรมขุนทด (2558). การรับรู้จากสื่อเกี่ยวกับการใช้สิทธิ เลือกตั้งท้องถิ่นของประชาชนในจังหวัดนครราชสีมา. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2562, จาก www.nrru.ac.th/rdi/.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2557). การพัฒนาการเมืองการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: กลุ่มงานผลิตเอกสาร สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สุนทรี เลากลาง (2545). ความเข้าใจและเจตคติต่อการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการอุดมศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

Krech, D., & Crutchfield, R. S. (1948). Theory and problems of social psychology. New York: John Wiley.

Yamane Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed). New York: Harper and Row Publication.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-01