ถอดบทเรียนจากผู้ประสบภัยอุทกภัย ในศูนย์พักพิงชั่วคราวโรงเรียนบ้านนาแกม่วงหนองตุกหลุก

ผู้แต่ง

  • วิชาญ สมยา โรงเรียนบ้านนาแกม่วงหนองตุกหลุก อำเภอค้าเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร
  • สมหมาย บุตรน้ำเพชร ผู้ใหญ่บ้านบ้านนาแก ตำบลนาแก อำเภอค้าเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร
  • บัณฑิต ทองสงฆ์ ฝ่ายบริหาร วิทยาเขตสงขลา มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • เสกสรรค์ สนวา สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

ศูนย์พักพิงชั่วคราว, ถอดบทเรียน, ผู้ประสบภัยอุทกภัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี มีวัตถุประสงค์สำคัญ 2 ประการเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาของผู้ประสบอุทกภัยที่เข้ามาขอพักอาศัยในศูนย์พักพิงชั่วคราว และ 2) ถอดบทเรียนปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารศูนย์พักพิงชั่วคราวให้มีประสิทธิภาพ วิธีการวิจัยครั้งนี ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 25 คน ประกอบด้วย ตัวแทนชาวบ้าน ตัวแทนผู้อาศัยในศูนย์พักพิงชั่วคราวโรงเรียนบ้านนาแกม่วงหนอง ตุกหลุก ตัวแทนภาครัฐ และตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเลือกแบบเจาะจง เก็บข้อมูลจากการใช้แบบสัมภาษณ์เพื่อสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ ข้อมูลโดยอาศัยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) และตรวจสอบข้อมูลโดยเทคนิคสามเส้า (Triangulation Technics)

ผลการศึกษา พบว่า สภาพปัญหาของผู้ประสบอุทกภัยที่เข้ามาขอพักอาศัยในศูนย์พักพิงชั่วคราวด้านการบริหารจัดการศูนย์พักพิงผู้ประสบภัยน้าท่วมชั่วคราว โรงเรียนบ้านนาแกม่วงหนองตุกหลุก พบว่า ปัญหาด้านการบริหารจัดการ 3 ลำดับ ได้แก่ 1) ขาดการเตรียมความพร้อมด้านการบริหารจัดการ 2) ขาดการเตรียมความพร้อมด้านการดูแลสุขอนามัย และ 3) ขาดการเตรียมความพร้อมการจัดการขยะ

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารศูนย์พักพิงชั่วคราวให้มีประสิทธิภาพ พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงาน ประกอบด้วย ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกศูนย์พักพิงชั่วคราวโรงเรียนบ้านนาแกม่วงหนองตุกหลุกที่เป็นสิ่งหนุนเสริมและสนับสนุนให้การบริหารงานของศูนย์พักพิงชั่วคราวเกิดประสิทธิภาพ

References

ไททัศน์ มาลา. (2557). แนวทางในการจัดการอุทกภัย: กรณีศึกษาเทศบาลนครนนทบุรี. สถาบันพระปกเกล้า. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2563, จาก https:// elibrary. trf.or.th/project_content.asp?PJID=RDG5540014

ธัญญารัตน์ ทองเชื้อ. (2560). การจัดการปัญหาอุทกภัยและการมีส่วนร่วมของชุมชนกรณีศึกษาอำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร. (วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาตรี คณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, มหาวิทยาลัยนเรศวร).

ประชาชาติธุรกิจ. ( 2562). วิกฤตน้ำท่วมอีสานเสียหาย 8 พันล้าน กระทบพื้นที่ศก.-เกษตร 2 ล้านไร่-4 จังหวัด ยังอ่วม. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.prachachat.net/local-economy/ news-371872

มโนลี ศรีเปารยะ เพ็ญพงษ์. (2560). การป้องกันอุทกภัยในอนาคตของประชาชนบริเวณลุ่มน้ำตาปีตอนล่างจังหวัดสุราษฎร์ธานี. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2563, จาก ThaiJOso03.tci-thaijo.org › msj › article › download.

เลื่อน แสงอรุณ, ภาคิน ธราธรศิริ, สุชาติ ลี ตระกูล และพูลชัย ยาวิราช. (2558). สภาพปัญหาและแนวทางการบริหารจัดการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในสังคม พหุวัฒนธรรมตามแนวตะเข็บชายแดนภาคเหนือตอนบน. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2563, จาก https://edu.msu.ac.th/journal/home/ journal _file/134.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-01