ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากร ทางด้านการเงินและบัญชีในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
คำสำคัญ:
ความสุขในการทำงาน, ปัจจัยจูงใจในการทำงาน, บุคลากรทางด้านการเงินและบัญชี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสุขในการทำงานของบุคลากร ปัจจัยจูงใจในการทำงานของบุคลากร และปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรทางด้านการเงินและบัญชีในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชีของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จำนวน 66 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอย พหุคุณ
ผลการศึกษา พบว่า ระดับความคิดเห็นต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรทางด้านการเงินและบัญชีในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยจูงใจในการทำงานของบุคลากรทางด้านการเงินและบัญชีในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และปัจจัยด้านนโยบายการบริหารงาน ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ และด้านความมั่นคงปลอดภัยในการทำงาน สามารถพยากรณ์ความสุขในการทำงานของบุคลากรทางด้านการเงินและบัญชีในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
ชัญญณัท แก้วมณีโชติ. (2558). บุคลิกภาพเชิงรุก การรับรู้การสนับสนุนจากองค์กร และความสุขในการทำงานของพนักงานขาย บริษัทรับประกันวินาศภัยแห่งหนึ่ง. (งานวิจัยส่วนบุคคลปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
ณัฐพล ไชยทอง. (2560). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด. (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (ฉบับปรับปรุงใหม่) (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ภัทรดนัย ฉลองบุญ. (2018). ความสุขในการปฏิบัติงานของบุคลากรภาครัฐ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6(ฉบับพิเศษ), 590-599.
วิเชียร วิทยอุดม. (2554). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: ธนธัชการพิมพ์.
วีระยุทธ วาณิชกมลนันทน์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทสยามกลาสอินดัสทรี จากัด โรงงานอยุธยา. (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการเชิงกลยุทธ์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
สร้อยตระกูล (ติวยานนท์) อรรถมานะ. (2550). พฤติกรรมองค์การ: ทฤษฎีและการประยุกต์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สิริกร กุมภักดี. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากรวิทยาลัยเทคโนโลยีพังโคนพณิชการ อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).
Ahmed, U., Majid, A., Al-Aali, L., & Mozammel, S. (2019). Can meaningful work really moderate the relationship between supervisor support, coworker support and work Engagement?. Management Science Letters, 9(2), 229-242.
Dasa, C. (2009). Happy Workplace. From. Retrieved November, 19, 2019 from http://www.il.mahidol.ac.th/th/images/stories/ echange/7-05-52_Column_6.pdf
Den Dulk, L., Groeneveld, S., Ollier-Malaterre, A., & Valcour, M. (2013). National context in work-life research: A multi-level cross national analysis of the adoption of workplacework-life arrangements in Europe. European Management Journal, 31(5), 478–494.
Diener, E. (2003). Subjective Well-being: The Science of Happiness and Proposal for A National Index. The American Psychologist Association, 55(1), 34-43.
Fisher, C. D. (2010). Happiness at work. International journal of management reviews, 12(4), 384-412.
Hee, O. C., Ong, S. H., Ping, L. L., Kowang, T. O., Fei, G. C. (2019). Factors influencing job satisfaction in the higher learning institutions in Malaysia. International Journal of Academic Research in Business and Social Sciences, 9(2), 10-20
Hitka M, Rozsa Z, Potkany M., & Lizbetinova L. (2019). Factors forming employee motivation influenced by regional and age-related differences. J Bus Econ Manag, 20(4), 674–693.
Jotheswari, M. K., & Paramasivan, T. (2020). Learning leads to happiness at work. Studies in Indian Place Names, 40(50), 1464-1468.
Jotheswari, M. K., & Paramasivan, T. (2020). Job satisfaction gives a good lead to happiness at work. Studies in Indian Place Names, 40(50), 1457-1463.
Karatepe, O. M., Keshavarz, S., & Nejati, S., (2010). Do core self-evaluations mediate the effect of coworker support on work engagement? A study of hotel employees in Iran. Journal of Hospitality and Tourism Management, 17(1), 62-71.
Koziol, L., & Koziol, M. (2020). The concept of the trichotomy of motivating factors in the workplace. Central European Journal of Operations Research, 28, 707-715.
Probst, T.M., & Brubaker TY.L. (2001). The effects of job insecurity on employee safety outcomes: cross-sectional and longitudinal explorations. Journal of Occupational & Health Psychology, 6(2), 139-159.
Senol, F. (2011). The effect of job security on the perception of external motivational tools: a study in hotel businesses. Journal of Economic and Social Studies, 1(2), 33-67.
Shaikh, S. H., & Shaikh, H. (2019). The impact of job satisfaction and job dissatisfaction on Herzberg Theory: A case study of Meezan Bank Limited and National Bank Limited. International Journal of Business and Social Science, 10(6), 102-109.
Uusiautti, Satu., & Määttä, Kaarina. (2010). What kind of employees become awarded as Employees of the Year in Finland?, Enterprise and Work Innovation Studies, 6(6), 53 - 73.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
ความคิดเห็นในบทความและงานเขียน ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้ประพันธ์โดยอิสระ กองบรรณาธิการ วารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป หากท่านประสงค์จะนำบทความหรืองานเขียนเล่มนี้ไปตีพิมพ์เผยแพร่ จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ประพันธ์ตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์