ความสัมพันธ์ระหว่างความรับผิดชอบในวิชาชีพ กับคุณภาพในการทำงานของบุคลากรทางด้านการเงินและบัญชี ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ผู้แต่ง

  • เพ็ญศรี ชื่นชม คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • หงสรัชต์ เจริญจิรารังสี คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คำสำคัญ:

ความรับผิดชอบในวิชาชีพ, บุคลากรทางด้านการเงินและบัญชี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, คุณภาพในการทำงาน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความรับผิดชอบในวิชาชีพของบุคลากรทางด้านการเงินและบัญชี 2) คุณภาพในการทำงานของบุคลากรทางด้านการเงินและบัญชีและ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างความรับผิดชอบในวิชาชีพกับคุณภาพในการทำงานของบุคลากรทางด้านการเงินและบัญชี การศึกษาครั้งนี้ศึกษาในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชีของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จำนวน 73 คน ได้มาโดยการกำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยใช้วิธีการจับสลากเลือกกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความคิดเห็นต่อความรับผิดชอบในวิชาชีพของบุคลากรทางด้านการเงินและบัญชีในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ระดับความคิดเห็นต่อคุณภาพในการทำงานของบุคลากรทางด้านการเงินและบัญชีในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ โดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วย และ 3) ความรับผิดชอบในวิชาชีพมีความสัมพันธ์กันทางบวกระดับสูงกับคุณภาพในการทำงานของบุคลากรทางด้านการเงินและบัญชีในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

ณัฐชา วัฒนวิไล และภัสพร ตั้งใจกตัญญู. (2555). การประเมินตนเองเกี่ยวกับศักยภาพนักบัญชีมืออาชีพของบัณฑิตใหม่ คณะบัญชี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 9(1), 44-65.

ณัฐรินีย์ แว่นแก้ว. (2552). ผลกระทบของประสิทธิภาพผลการจัดการความรู้ที่มีต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีสหกรณ์สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

ทัศนีย์ วีรปรีชาชัย. (2555). งานวิจัยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของนักบัญชี ในการปฏิบัติหน้าที่ตามจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

นิตยา ร่มโพธิ์รี. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมจัดการการเรียนรู้ของอาจารย์พยาบาล สถาบันการศึกษาพยาบาลเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

นริศรา แดงเทโพธิ์. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างความรับผิดชอบในวิชาชีพกับคุณภาพในการทางานของบุคลากรทางด้านการเงิน การบัญชี และพัสดุในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี, มหาวิทยาลัยสารคาม).

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2551). วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. (2545). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

สภาวิชาชีพบัญชีในพระราชูปถัมภ์. (2556). คำชี้แจงข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี เรื่องจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2553 สาหรับผู้ทาบัญชี. จาก http://www.fap.or.th/images/column_1359010374/ Final%20Booklet%20audit%2010_3_57.pdf.

สมใจ ลักษณะ. (2552). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สมพงษ์ เกษมสิน. (2549). การบริหาร. กรุงเทพฯ: คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สุธิดา พานิชกิจโกศลกุล. (2556). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมความรับผิดชอบ ในการปฏิบัติงานของบุคลากรกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์, มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ).

สุภาพร พิศาลบุตร. (2548). จริยธรรมทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ: วี.เจ.พริ้นติง.

สุวิชา บัวผุด. (2550). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความรับผิดชอบในการทำงานของข้าราชการครูโรงเรียนจันทร์ประดิษฐารามวิทยาคม เขตภาษีเจริญกรุงเทพมหานคร. (สารนิพนธ์ปริญญาการศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ).

Connell, J., Gough, R., McDonnell, A., & Burgess, J. (2014). Technology, work organization and job quality in the service sector: An introduction. Retrieved from https://espace.curtin.edu.au/ bitstream/handle/ 20.500.11937/41324/226235_226235 .pdf?sequence=2&isAllowed=y

Loughlin, C., & Murray, R. (2013). Employment status congruence and job quality. Human Relations, 66(4), 529-553.

Muñoz de Bustillo, R., Fernandez-Macias, E., Antón, J.-I., & Esteve, F. (2009). E Pluribus Unum? A Critical Review of Job Quality Indicators. International Labor Organisation, Geneva.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-01