การสร้างแบบทดสอบอิงเกณฑ์วัดทักษะการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนเต็ม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และจำแนกกลุ่มระดับความสามารถโดยวิธีตรรกศาสตร์คลุมเครือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างแบบทดสอบแบบทดสอบอิงเกณฑ์วัดทักษะการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนเต็ม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) ตรวจสอบคุณภาพ และ 3) วิเคราะห์จำแนกกลุ่มระดับความสามารถโดยวิธีตรรกศาสตร์คลุมเครือ การสร้างแบบวัดนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อใช้บริบทของโรงเรียนสรรค์อนันต์วิทยา 2 กลุ่มตัวอย่างในการทดสอบ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 - 2566 รวม 30 คน ได้จากการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) เนื่องจากเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ผู้วิจัยจึงเก็บข้อมูลโดยเลือกนักเรียนทั้งชั้นเรียน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการสร้างแบบทดสอบแบ่งเป็น 3 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 ความคิดรวบยอดด้านการคิดคำนวณ เป็นแบบทดสอบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 15 ข้อ ตอนที่ 2 วัดทักษะการคิดคำนวณ เป็นแบบทดสอบเติมคำ จำนวน 12 ข้อ และตอนที่ 3 วัดทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ด้านการคิดคำนวณ เป็นแบบทดสอบอัตนัย จำนวน 4 ข้อ 2) ผลการตรวจสอบคุณภาพ พบว่า แบบทดสอบทั้งฉบับมีคุณภาพที่สามารถนำไปใช้ได้ มีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาก เท่ากับ 0.86 โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการวัด เท่ากับ 0.23 และ 3) วิเคราะห์จำแนกกลุ่มโดยวิธีตรรกศาสตร์คลุมเครือ จำแนกนักเรียนเป็นกลุ่มดีเยี่ยมคิดเป็นร้อยละ 20 กลุ่มดีคิดเป็นร้อยละ 43.33 และกลุ่มอ่อนคิดเป็นร้อยละ 36.67
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
under process
References
ชนิดา รื่นรมย์. (2564). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์โดยใช้ชุดฝึกเสริมทักษะการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนเต็มสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา]. buuir. https://buuir.buu.ac.th/bitstream/1234567890/10170/1/59920023.pdf
ณภัทธิรา พิศวงษ์ เสนอ ภิรมจิตรผ่อง และนันทวัน ทองพิทักษ์. (2560). การพัฒนาแบบทดสอบอิงเกณฑ์วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็มสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี, 6(2), 61-70.
สุวรรณี ธูปจีน และมณเฑียร รัตนศิริวงศ์วุฒิ. (2560). การตัดเกรดแบบวิธีการฟัซซีเซตสำหรับการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 25(3), 388-400.
อัครพล พรมตรุษ และอุเทน ปุ่มสันเทียะ. (2562). มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนและข้อผิดพลาดทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 47(4), 539 –561.
อัญธิกา ทรงมีสิงหสกุล. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการคิดคำนวณ ทักษะการแก้ปัญหา และทักษะการให้เหตุผล เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 .[วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม]. rmu. https://fulltext.rmu.ac.th/fulltext/2562/M127441/Songmeesinghasakul%20Antika.pdf
Hecht, S. A., Torgesen, J. K., Wagner, R. K., & Rashotte, C. A. (2001). The relations between phonological processing abilities and emerging individual differences in mathematical computation skills: A longitudinal study from second to fifth grades. Journal of Experimental Child Psychology, 79(2), 192-227. https://doi.org/10.1006/jecp.2000.2586
Jonathan, K. (1990). Physics and the queen of mathematics. Physics World, 3(4), 46-50. https://doi.org/10.1088/2058-7058/3/4/28
Powell, S. R., & Hebert, M. A. (2016). Influence of writing ability and computation skill on mathematics writing. The elementary school journal, 117(2), 310-335. https://doi.org/10.1086/688887
Siegler, R. S. (1988). Strategy choice procedures and the development of multiplication skill. Journal of Experimental Psychology: General, 117(3), 258–275. https://doi.org/10.1037/0096-3445.117.3.258
Wilkinson, G. S., & Robertson, G. J. (2006). Wide Range Achievement Test-Fourth edition. Rehabilitation Counseling Bulletin, 52(1), 57-60. https://doi.org/10.1177/0034355208320076
Zadeh, L. A. (1965). Fuzzy sets. Information and Control, 8(3), 338-353. https://doi.org/10.1016/S0019-9958(65)90241-X