เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด

  • บทความนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น (หรือหากมีกรุณาอธิบายในข้อความส่งถึงบรรณาธิการ).
  • บทความเตรียมในรูปแบบของไฟล์ OpenOffice, Microsoft Word หรือ RTF
  • มีการให้ URLs สำหรับเอกสารที่อ้างอิงจากอินเทอร์เน็ต
  • บทความพิมพ์แบบใช้ระยะห่างบรรทัดปกติ (single-spaced) ขนาดฟ้อนท์ตัวอักษร TH SarabunPSK ขนาด 16 pt ในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และ ระบุข้อมูล รูปวาด รูปภาพ และตาราง ในตำแหน่งที่เหมาะสมในบทความ ให้เป็นตามข้อกำหนดของวารสาร
  • บทความเตรียมตามข้อกำหนดของวารสารฯ ทั้งในแง่ของรูปแบบและการอ้างอิง ตามคำแนะนำสำหรับผู้แต่ง (Author Guidelines)

การเตรียมต้นฉบับ Download : 

Template บทความวิจัย

Template บทความวิชาการ

แบบฟอร์มการสมัครตีพิมพ์บทความ

ภาษา 

          สามารถนำเสนอได้ทั้งภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษโดยจะต้องมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษในผลงานวิชาการนั้น ๆ

หัวข้อในการเขียนบทความ

         1. บทความวิจัย ควรมีหัวข้อดังนี้

                    - ชื่อเรื่อง มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

                    - ชื่อ-สกุล/สถานภาพผู้เขียน มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

                    - บทคัดย่อ มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

                    - คำสำคัญ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

                    - บทนำ

                    - วัตถุประสงค์ของการวิจัย

                    - วิธีดำเนินการวิจัย

                    - ผลการวิจัย

                    - อภิปรายผล

                    - ข้อเสนอแนะ

                    - เอกสารอ้างอิง

                      (อ้างอิงภาษาไทยต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด ตามรูปแบบ APA 7th Edition)

          2. บทความวิชาการ ควรมีหัวข้อดังนี้

                    - ชื่อเรื่อง มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

                    - ชื่อ-สกุล/สถานภาพผู้เขียน มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

                    - บทคัดย่อ มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

                    - คำสำคัญ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

                    - บทนำ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

                    - เนื้อหา/ประเด็นที่ต้องการนำเสนอ

                    - สรุป

                    - การวิเคราะห์/วิจารณ์

                    - เอกสารอ้างอิง

                      (อ้างอิงภาษาไทยต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด ตามรูปแบบ APA 7th Edition)

หลักเกณ์การเตรียมต้นฉบับ

  1. พิมพ์ผลงานทางวิชาการจะต้องจัดพิมพ์ด้วย Microsoft word for Windows บนกระดาษขนาด A4 หน้าเดียว ตั้งค่าหน้ากระดาษสำหรับการพิมพ์ห่างจากขอบกระดาษทุกด้าน ๆ ละ 1 นิ้ว (2.54 เซนติเมตร) และจัดรูปแบบเป็นหนึ่งคอลัมน์เท่านั้น ใช้อักษร TH SarabunPSK ตัวเลขไทย (ยกเว้นบทคัดย่อภาษาอังกฤษ และหนังสืออ้างอิงฉบับภาษาอังกฤษ) ขนาดของตัวอักษรเท่ากับ 16-16-16-12 (ชื่อบทความ-ชื่อผู้แต่ง-เนื้อหา-เลขเชิงอรรถ) และใส่เลขหน้าตั้งแต่ต้นจนจบบทความ ยกเว้นหน้าแรก จำนวนไม่เกิน 8-15 หน้าตาม Template ของวารสาร รวมเอกสารอ้างอิง
  2. บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่ควรเกิน 1 หน้ากระดาษ ให้จัดพิมพ์เป็น 1 คอลัมน์ มีความยาวประมาณ 200 คำ หรือบทศัดย่อภาษาไทยมีความยาวไม่เกิน 12 บรรทัด จะต้องพิมพ์คำสำคัญทั้งในบทคัดย่อภาษาไทย และพิมพ์ Keywords ในบทศัดย่อภาษาอังกฤษของบทความเรื่องนั้นด้วย จำนวนไม่เกิน 5 คำ
  3. เนื้อหา (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) ให้พิมพ์เป็น 1 คอลัมน์ตามรูปแบบที่วารสารกำหนด
  4. ถ้ามีรูปภาพตารางประกอบ ควรมีภาพที่ชัดเจน ต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลอย่างถูกต้อง ชัดเจน และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น รูปภาพต้องมีความคมชัดสามารถอ่านได้ง่าย โดยกำหนดให้ไฟล์รูปภาพ แผนภูมิ ตาราง ต้องมีความละเอียดไม่ต่ำกว่า 300 DPI ตาราง และ ภาพ ใช้คำว่า ตารางที่ 1 และ ภาพที่ 1
  5. บรรณานุกรมแยกผลงานภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (เรียงตามลำดับตัวอักษร)
  6. ผลงานวิชาการที่ส่งมาต้องไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และเผยแพร่ที่ใดมาก่อน
  7. การส่งต้นฉบับ จะต้องส่งเอกสาร 2 ไฟล์ คือ 1) บทความตามแบบฟอร์มที่วารสารกำหนด ชนิดไฟล์เวิร์ด จำนวน 1 ไฟล์ 2) แบบฟอร์มการสมัครตีพิมพ์บทความ ชนิดไฟล์เวิร์ด จำนวน 1 ไฟล์ แนบเข้ามาในระบบตามขั้นตอน พร้อมระบุข้อความถึงบรรณาธิการให้ชัดเจน
  8. บรรณาธิการพิจารณาบทความเบื้องต้น และส่งให้กองบรรณาธิการพิจารณาคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิ และส่งผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อประเมินคุณภาพความเหมาะสมของบทความก่อนการตีพิมพ์ ในกรณีที่ผลการประเมินระบุให้ต้องปรับปรุงแก้ไข ผู้เขียนจะต้องดำเนินการแก้ไขในระบบให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด นับจากวันที่ได้รับผลการประเมินบทความ
  9. ผู้แต่งที่แก้ไขบทความตามผู้ประเมินเรียบร้อยแล้ว จะต้องดำเนินการส่งบทความฉบับแก้ไขของตนไปเข้าสู่ระบบตามขั้นตอนโดยส่งเข้าสู่ระบบออนไลน์ให้กองบรรณาธิการดำเนินต่อไป
  10. รูปแบบการเขียนอ้างอิงมีรายการอ้างอิงครบถ้วน สมบูรณ์ ตามหลักการเขียนการอ้างอิงเอกสารแบบ APA 7th Edition

ประเภทบทความ

  1. บทความวิจัย (Research article) งานเขียนที่นำเสนอผลการวิจัยอย่างเป็นระบบ ประกอบด้วยบทนำ ความเป็นมาของปัญหา วัตถุประสงค์ วิจัยระเบียบวิธีวิจัย ทฤษฎีกรอบแนวคิด การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล สรุปและอภิปรายผล (สามารถมีหัวข้อหรือองค์ประกอบที่แตกต่างได้) ซึ่งจะนำไปสู่ความก้าวหน้าทางวิชาการทางการวัดและปะรเมินผล
  2. บทความวิชาการ (Academic Article) งานเขียนที่มีความน่าสนใจ มุ่งเสนอองค์รู้ใหม่ กล่าวถึง ความรู้ แนวทางปฏิบัติ เทคนิคการวัดและประเมิน เทคนิคการวิเคราะห์ แนวทางแก้ไข การประยุกต์องค์ความรู้ โดยอาศัยแนวคิดทฤษฎีในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสรุปผล โดยผู้เขียนสามารถแสดงทัศนะของตนบนหลักวิชการ มีการเรียบเรียงอย่างเป็นระบบและสมบูรณ์ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย ชัดเจน และเกิดประโยชน์กับผู้อ่าน
  3. บทความปริทัศน์หรือบทความวิจารณ์วรรณกรรม (Review Article) งานเขียนที่ผู้เขียนวิจารณ์แนวคิด องค์ความรู้จากการทบทนวรรณกรรมหรือผลการวิจัยในอดีต โดยนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อเปรียบเทียบมุมมอง ความรู้ แนวคิดทฤษฎีต่าง ๆ เพื่อเป็นการทบทวนการก้าวหน้าทางวิชาการทางการวัดและประเมินผล เพื่อชี้ให้เห็นแนวโน้มในการแสวงหาองค์ความรู้และความเข้าใจใหม่ ๆ ทางวิชาการ
  4. ปกิณกะ (Miscellany) เป็นบทความทั่วไปเกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็น ซักถามปัญหา การอภิปราย ถาม-ตอบ จดหมายถึงบรรณาธิการ (Letter to editor) เพื่อจะนำไปสู่การปฏิบัติจริงสู่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการศึกษา เช่น เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา ผู้บริหารโรงเรียน เป็นต้น ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับทางการศึกษาในระดับชาติ แนะแนวการนำนโยบายไปปฎิบัติ

ประกาศเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ 

  1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
  2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารก่อนเท่านั้น