การอนุรักษ์และสร้างจิตสำนึกต่อภูมิปัญญาท้องถิ่นไทลื้อลวงเหนือผ่านการบูรณาการการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน Conservation of and Raising Awareness on Tai Lue Local Wisdom at Luang Nua through the Integration of a School-Based Participatory Learning Management

Main Article Content

สำเนา หมื่นแจ่ม Samnao Muenjaem

บทคัดย่อ

                 การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาการบูรณาการการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเพื่อสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทลื้อลวงเหนือ และ2)ศึกษาผลการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทลื้อของนักเรียนโรงเรียนบ้านลวงเหนือ กลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนบ้านลวงเหนือ จำนวน 96 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ชุมชน  แนวทางการระดมสมอง  แบบประเมินคุณภาพของคู่มือ ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทลื้อ  แบบสังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง แบบสังเกตพฤติกรรม  การสอนของครู แบบประเมินจิตสำนึกในอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทลื้อลวงเหนือ แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง หาคุณภาพของเครื่องมือใช้วิธีการหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างเนื้อหากับจุดประสงค์(Index of  Item – Objective Congruence หรือ IOC)จากผู้เชี่ยวชาญ ค่าอยู่ระหว่าง 0.60 – 1.00 ทุกฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


         ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้  1. การบูรณาการการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเพื่อสร้างจิตสำนึกใน การอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทลื้อลวงเหนือ ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 7 ขั้นตอน คือ 1)ขั้นการเตรียมการ 2)ขั้นการวางแผน 3)ขั้นการปฏิบัติ 4)ขั้นการสะท้อนผล 5)ขั้นการปฏิบัติ 6)ขั้นการสังเกต  และ7)ขั้นการสะท้อนผล  2. ผลการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทลื้อของนักเรียนโรงเรียนบ้านลวงเหนือ  2.1) ผลการเปรียบเทียบคะแนนจิตสำนึกในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียน พบว่า ค่าเฉลี่ยร้อยละของคะแนนจิตสำนึกในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 ทุกระดับชั้น  2.2) ความคิดเห็นของผู้มีส่วนร่วมพบว่า ครูมีความรู้สึกที่ดีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  ชุมชนมีความรู้สึกดีใจที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้จนเกิดศูนย์อัตลักษณ์ไทลื้อขึ้นในโรงเรียน นักเรียนมีความสุข สนุกสนาน เกิดความภาคภูมิใจในศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตของไทลื้อ

Article Details

บท
Research Articles

References

คนึง เทวฤทธิ์, วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์, และอภิราดี จันทร์แสง. (2559, ธันวาคม). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมจิตสำนึกรักท้องถิ่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโดยใช้กระบวนการทางสังคม. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 22(2), 42-51.

ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2557). การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. เอกสารการสอน ชุดวิชา 23721 การวิจัยการบริหารการศึกษา หน่วยที่ 6 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน. (2559). ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก การสร้างจิตสำนึกและการปลูกฝังจิตสำนึก. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2563 , จากhttp://nattawatt.blogspot.com/2016/12/consciousness.html

ไพศาล วรคำ. (2552). การวิจัยทางการศึกษา. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

ยุพิน อินทะยะ. (2560). แหล่งการเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการเรียนการสอน. เชียงใหม่: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

สำเนา หมื่นแจ่ม. (2558). รายงานการวิจัยการพัฒนาครูในการสร้างฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อยกระดับคุณภาพการเรียนการสอน. เชียงใหม่: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

อมาวสี อัมพันศิริรัตน์, และพิมพิมล วงศ์ไชยา. (2560, ธันวาคม). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม: ลักษณะสำคัญและการประยุกต์ใช้ในชุมชน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 36(6), 192-202.

Attwood, H. (1997). An overview of issues around the use of participatory approaches by postgraduate students. In IDS, Participatory Research, IDS PRATopic Pack (February,1997). Brighton: IDS, University of Sussex.

Farthing, G. W. (1992). The psychology of consciousness. New Jersey : Prentice Hall.

Stringer,ET. (2007). Action Research. (3rd ed.) Los Angeles: Sage.