Information For Authors
วารสารเครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ กำหนดแนวทางในการเขียนบทความไว้ดังนี้
การส่งต้นฉบับ
หลังจากผู้เขียนได้ตรวจความถูกต้องและพิสูจน์ตัวอักษรอย่างละเอียดแล้ว ให้ส่งบทความผ่านระบบออนไลน์ทางเว็บไซต์วาสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JGNRU/
คำแนะนำสำหรับผู้เขียนในการเตรียมต้นฉบับบทความ https://drive.google.com/file/d/15TliNTSHBSCtkBxZZYEK6szbgyhJUgdq/view?usp=sharing
Template_บทความวิจัย-วารสาร https://docs.google.com/document/d/1lN-FCh-dXCNy53qyOA0_IW9ADd6dxvec/edit?usp=sharing&ouid=102037371990825348764&rtpof=true&sd=true
Template_บทความวิชาการ-วารสาร:
การพิจารณาและคัดเลือกบทความ
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารนี้ จะต้องเป็นบทความต้นฉบับ (Original Article) ซึ่งไม่เคยลงตีพิมพ์ในวารสารอื่นใดมาก่อน หรือไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนพิจารณาบทความของวารสารฉบับอื่นๆ โดยบทความจะได้รับการพิจารณาและการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ในสาขาที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3 ท่าน ในรูปแบบผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งไม่ทราบข้อมูลซึ่งกันและกัน (Double Blind Peer Review) และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
กำหนดการเผยแพร่วารสาร ปีละ 3 ฉบับ
ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – เมษายน (เผยแพร่เดือนเมษายน)
ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม – สิงหาคม (เผยแพร่เดือนสิงหาคม)
ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน – ธันวาคม (เผยแพร่เดือนธันวาคม)
ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความในวารสาร
1. บุคลากรภายในสังกัดเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ 8 แห่ง (อาจารย์ เจ้าหน้าที่ บุคลากร นักศึกษา และนักวิชาการ) ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์เผยแพร่ บทความละ 3,000 บาท
2. บุคคลภายนอก ได้แก่ อาจารย์ เจ้าหน้าที่ บุคลากร นักศึกษา และนักวิชาการ ที่ไม่ได้สังกัดเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ 8 แห่ง ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์เผยแพร่ บทความละ 4,500 บาท
3. การชำระค่าตีพิมพ์เผยแพร่ผลงาน ผู้เขียนจะต้องชำระค่าตีพิมพ์เผยแพร่ หลังการพิจารณาความสมบูรณ์ของบทความจากกองบรรณาธิการ ก่อนส่งผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ตรวจประเมิน *โดยชำระเงินหลังจากได้รับการแจ้งให้ชำระเงินจากกองบรรณาธิการในระบบ Thai-Jo เท่านั้น*
*****กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ไม่คืนเงินค่าตีพิมพ์เผยแพร่ผลงาน ไม่ว่าบทความจะได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ หรือไม่ก็ตาม*****
กระบวนการพิจารณาบทความ
1.กองบรรณาธิการ ตรวจสอบขอบเขตเนื้อหาของบทความเบื้องต้นที่มีความสอดคล้องกับ วัตถุประสงค์ ขอบเขตเนื้อหาที่วารสารกำหนด ความมีคุณภาพและความมีประโยชน์ทางวิชาการ
2. กองบรรณาธิการ ตรวจสอบรูปแบบของบทความ (Format) และตรวจสอบความซ้ำซ้อน (Plagiarism) ของบทความด้วยโปรแกรม CopyCatch โดยกำหนดค่าความซ้ำซ้อนไม่เกินร้อยละ 20 หากพบว่ามีค่าความซ้ำซ้อนเกินกว่าที่กำหนด กองบรรณาธิการจะแจ้งและหรือปฏิเสธบทความเข้าสู่กระบวนการประเมินบทความ
3. กองบรรณาธิการ พิจารณาเลือกผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) โดยพิจารณาจากความเชี่ยวชาญในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์ สอดคล้องกับบทความ และดำเนินการจัดส่งต้นฉบับให้ผู้ทรงคุณวุฒิ ในรูปแบบ Double Blind Peer Review จำนวน 3 ท่าน จากต่างสถาบัน
4. กองบรรณาธิการ จัดส่งผลการประเมินบทความและข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ให้ผู้เขียนแก้ไขปรับปรุงตามข้อเสนอแนะ หากผู้เขียนไม่ได้แก้ไขตามข้อเสนอแนะ ให้ชี้แจงในแบบฟอร์มสรุปการไม่แก้ไขบทความตามที่ผู้ทรงคุณวุฒิแนะนำที่วารสารกำหนด
5. กองบรรณาธิการ ตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการหลังผู้เขียนแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ
6. กองบรรณาธิการ ตรวจสอบรูปแบบบทความต้นฉบับก่อนการตีพิมพ์เผยแพร่
7. กรณีผู้เขียนไม่ปรับแก้ไขบทความ ตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) และกองบรรณาธิการ ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่วารสารฯส่งข้อมูลการแก้ไข ในระบบ Thai-Jo วารสารสามารถดำเนินการปฏิเสธการตีพิมพ์บทความดังกล่าวได้
8.กองบรรณาธิการดำเนินการจัดตีพิมพ์เผยแพร่แบบออนไลน์ในเว็บไซต์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JGNRU