Focus and Scope

วัตถุประสงค์ (Aims)

  เพื่อส่งเสริมการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ และผลงานวิจัย เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณาจารย์ นักวิชาการและนักวิจัยในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และนำไปสู่การใช้ประโยชน์ทางด้านวิชาการ

ขอบเขต (Scope)

     ผลงานที่ตีพิมพ์อาจอยู่ในรูปแบบต่อไปนี้ บทความวิชาการ บทความวิจัย บทความวิทยานิพนธ์ กรณีศึกษา บทวิจารณ์หนังสือ บทความปริทัศน์ ในสาขาที่เกี่ยวกับศึกษาศาสตร์ จิตวิทยา เศรษฐศาสตร์ บริหารธุรกิจ การจัดการ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ นิเทศศาสตร์ สื่อสารมวลชน สังคมวิทยา หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง

กำหนดออก ปีละ 3 ฉบับ (ราย 4 เดือน)

  • ฉบับเดือนมกราคม – เมษายน (กำหนดออกเดือนเมษายน)
  • ฉบับเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม (กำหนดออกเดือนสิงหาคม)
  • ฉบับเดือนกันยายน – ธันวาคม (กำหนดออกเดือนธันวาคม)

ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความในวารสาร

สำหรับบุคลากรภายใน (อาจารย์ เจ้าหน้าที่ บุคลากร นักศึกษา และนักวิชาการ) ที่สังกัดเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ 8 แห่ง ) ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์เผยแพร่บทความละ 3,000 บาท และสำหรับบุคคลภายนอก  (ไม่ได้สังกัดเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ 8 แห่ง)ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์เผยแพร่บทความละ 4,500 บาท

Peer Review Process

          บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารนี้ จะต้องเป็นบทความต้นฉบับ (Original Article) ซึ่งไม่เคยลงตีพิมพ์ในวารสารอื่นใดมาก่อน และจะได้รับการพิจารณาและการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review process) ในสาขาที่เกี่ยวข้อง 3 ท่าน (ในการนี้ ทางวารสารฯได้ดำเนินการเชิญให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาตรวจประเมินบทความ จำนวน 3 ท่าน เริ่มตั้งแต่วารสารฯ ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 เป็นต้นมา) เงื่อนไข กรณีผู้นิพนธ์ไม่สามารถปรับแก้ไขบทความตามข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ วารสารฯส่งข้อมูลให้ปรับแก้ไขในระบบ Thaijo วารสารสามารถดำเนินการปฏิเสธการตีพิมพ์บทความดังกล่าวได้

  1. กองบรรณาธิการ ตรวจสอบบทความเบื้องต้นให้สอดคล้องกับนโยบาย วัตถุประสงค์ และขอบเขตของวารสาร รวมทั้งตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการของผู้อื่น (Plagiarism) และพิจารณาคุณภาพโดยรวมของบทความก่อน
    หากพบว่ามีเนื้อหาซ้ำซ้อนหรือมีการคัดลอกอย่างมีนัยสำคัญจะต้องแจ้งปฏิเสธรับเข้าสู่ระบบการประเมินบทความ
  2. บรรณาธิการพิจารณาเลือกผู้ทรงคุณวุฒิโดยพิจารณาจากความชำนาญในสาขาที่สอดคล้องกับบทความ
  3. จัดส่งต้นฉบับให้ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องอ่านพิจารณาประเมินต้นฉบับบทความละ 3 ท่าน จากต่างสถาบัน
  4. ส่งให้ผู้เขียนแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สามารถอธิบายหรือชี้แจงข้อสงสัยผ่านบรรณาธิการ
  5. กองบรรณาธิการ ตรวจสอบความถูกต้องหลังผู้เขียนแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิ
    และตรวจสอบรูปแบบบทความต้นฉบับก่อนการตีพิมพ์เผยแพร่
  6. กองบรรณาธิการดำเนินการจัดตีพิมพ์เผยแพร่แบบรูปเล่มวารสาร และเผยแพร่แบบออนไลน์ในเว็บไซต์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JGNRU

          This journal provides immediate open access to its content on the principle that making research freely available to the public supports a greater global exchange of knowledge.

Sponsors

  • Graduate Studies Network of Northern Rajabhat Universities (GNRU)

Sources of Support

มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ 8 แห่ง ได้แก่

  • มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

Graduate Studies of 8 Northern Rajabhat Universities:

  • Chiang Mai Rajabhat University
  • Nakhon Sawan Rajabhat University
  • Pibulsongkram Rajabhat University
  • Kamphaeng Phet Rajabhat University
  • Phetchabun Rajabhat University
  • Uttaradid Rajabhat University
  • Chiang Rai Rajabhat University
  • Lampang Rajabhat University

Journal History

วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ จัดทำขึ้นตามความร่วมมือของเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ 8 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง เพื่อส่งเสริมการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ และผลงานวิจัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นของนักศึกษา คณาจารย์และผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านมนุษยศาสตร์ และ สังคมศาสตร์ เริ่มตีพิมพ์เผยแพร่ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2554