ข้อผิดพลาดการแปลบทบรรยายใต้ภาพยนตร์จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย English to Thai Translation Errors of Film Subtitles

Main Article Content

โชติกา เศรษฐธัญการ และคณะ Chotika Settanyakan and Others

Abstract

                  งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์และนำเสนอข้อผิดพลาดการแปลบทบรรยายใต้ภาพยนตร์จากต้นฉบับภาษาอังกฤษเป็นฉบับแปลภาษาไทย โดยการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างบทบรรยายใต้ภาพของภาพยนตร์ภาษาอังกฤษยอดนิยมสูงสุดภายใน 1 ปี และวิเคราะห์ข้อมูลโดยแบ่งออกเป็นสองกรณี คือ กรณีแรก ลักษณะของข้อผิดพลาดการแปล และกรณีที่สอง การประเมินระดับความสำคัญของข้อผิดพลาดการแปล ตามกรอบแนวคิดเรื่องหลักเกณฑ์ประเมินคุณภาพงานแปลของ Akbari and Segers (2017) จากผลการวิเคราะห์ พบข้อผิดพลาดร้อยละ 25 ของบทบรรยายใต้ภาพยนตร์ทั้งหมด ลักษณะของข้อผิดพลาดการแปลที่พบมากที่สุด คือ ด้านรูปแบบการใช้ภาษา คิดเป็นร้อยละ 11 รองลงมาใกล้เคียงกันตามลำดับ ได้แก่ ด้านคำศัพท์ ร้อยละ 5 ด้านความถูกต้องตามหลักการเขียนร้อยละ 4 และด้านวัจนปฏิบัติศาสตร์ ร้อยละ 3 ส่วนข้อผิดพลาดที่ปรากฏพบน้อยที่สุด คือ ข้อผิดพลาดด้านวากยสัมพันธ์ คิดเป็นร้อยละ 2 นอกจากนี้ จากการวิเคราะห์ระดับความสำคัญของข้อผิดพลาดปรากฏว่าระดับข้อผิดพลาดที่พบมากที่สุด คือ ความผิดพลาดในระดับสำคัญ คิดเป็นร้อยละ 13 รองลงมาเป็นความผิดพลาดในระดับเล็กน้อย คิดเป็นร้อยละ 10 และความผิดพลาดในขั้นวิกฤต ปรากฏพบน้อยที่สุด คิดเป็นร้อยละ 2 ของบทบรรยายใต้ภาพยนตร์ทั้งหมด อย่างไรก็ตาม บทบรรยายใต้ภาพยนตร์ฉบับแปลภาษาไทย สามารถใช้สื่อสารได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ความถูกต้องตามต้นฉบับยังเป็นไปไม่ได้ อันเนื่องมาจากปัญหาการแปลข้ามวัฒนธรรมและข้อจำกัดของรูปแบบการนำเสนอภาพยนตร์ 


              This research aimed to analyze and present errors in translating movie subtitles from English originals to Thai translations. The subtitle samples were collected from the annual top films. The analysis was divided into two areas: error categories and error severity levels based on Translation Quality Assessment: TQA of Akbari and Segers (2017). The results showed that there appeared 25% of translation errors among all translated subtitles. The most frequent error category was stylistic errors (11%), followed by lexical errors (5%), hygienic errors (4%), and pragmatic errors (3%), respectively, whereas, the least frequent error category was syntax errors (2%). Besides, the analysis of error severity levels revealed that the major errors was the most frequent (13%) followed by the minor errors (10%) and the critical errors (2%), respectively. However, the translated subtitles can communicate effectively although the exactness of the original language is still impossible due to cross-cultural translation problems and limitations of film presentation styles.

Article Details

Section
Dissertations

References

ผู้จัดการรายวัน. (27 พฤศจิกายน 2558). The Hunger Games เกมไล่ซับฯ นรก. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2559 จาก http://www.manager.co.th/daily/viewnews.aspx?NewsID=9580000131391.
วิศรา ทองมาก. (2549). พฤติกรรมการชมภาพยนตร์ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สิทธา พินิจภูวดล. (2542). คู่มือนักแปลมืออาชีพ. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์ จำกัด.
Akbari, Alireza and Segers, Winibert. (2017). Evaluation of Translation through the Proposal of Error Typology: An Explanatory Attempt. In Lebende Sprachen, Vol. 62(2), pp. 408-430.
Armellino, Elisa. (2008). Translating Culture-Bound Elements in Subtitling—An Example of Interlinguistic Analysis: a Scene from Scent of a Woman. In Translation Journal, Volume 12. Retrieved from http://translationjournal.net/journal/44culturebound.html.
Box Office Mojo. (February 13, 2018). Thailand Yearly Box Office. Retrieved February 13, 2018 from http://www.boxofficemojo.com/intl/thailand/yearly/.
Dirks, Tim. (December 15, 2017). Main Film Genres. Retrieved December 15, 2017, from http://www.filmsite.org/genres.html.
Nelmes, Jill. (2012). Introduction to Film Studies. London: Routledge.
Williams, Malcolm. (2004): Translation Quality Assessment: An Argumentation-Centered Approach. Ottawa: University of Ottawa Press.