การส่งเสริมการใช้ชีวิตตามแนวคิดจิตวิทยาเชิงบวกสำหรับผู้สูงอายุ โดยใช้ครอบครัวและชุมชนเป็นฐาน ในเขตเทศบาลเมืองเขลางค์นคร อ.เมืองลำปาง จ.ลำปาง Promoting Positive Psychology for Elderly People through Families and Communities Based in Khelang Nakhon Municipality, Muang Lampang, Lampang

Main Article Content

อัมเรศ เนตาสิทธิ์ Ammaret Netasit
อนงค์รัตน์ รินแสงปิน Anongrat Rinsangpin

Abstract

                 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมส่งเสริมการใช้ชีวิตตามแนวคิดจิตวิทยาเชิงบวกให้กับผู้สูงอายุ เพื่อส่งเสริมการใช้ชีวิตตามแนวคิดจิตวิทยาเชิงบวกให้กับผู้สูงอายุ และเพื่อเปรียบเทียบการใช้ชีวิตตามแนวคิดจิตวิทยาเชิงบวกของผู้สูงอายุก่อน หลัง และระยะติดตาม กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ผู้สูงอายุที่มีอายุในช่วง 60-69 ปี ในชุมชนเทศบาลเมืองเขลางค์นคร อ.เมืองลำปาง จ.ลำปาง จำนวน 68 คน เลือกตัวอย่างแบบตามสะดวก  (Convenience Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม การประชุมสนทนากลุ่ม แบบสังเกตพฤติกรรม และแบบประเมินการใช้ชีวิตตามแนวคิดจิตวิทยาเชิงบวก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (Repeated measures ANOVA)


                ผลการวิจัยทำให้ได้ชุดกิจกรรมส่งเสริมการใช้ชีวิตตามแนวคิดจิตวิทยาเชิงบวก สำหรับผู้สูงอายุ ชื่อชุดว่า “ผู้สูงวัย ใช้ชีวิตตามแนวคิดจิตวิทยาเชิงบวก” ประกอบไปด้วยกิจกรรมย่อยทั้งหมด 8 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรม สิ่งประดิษฐ์ ส่งกำลังใจ ฉันทำได้ เธอทำดี คิดบวกกับสิ่งที่เป็น บันทึกขอบคุณ นิทรรศการผู้สูงวัย หอคอยแห่งความหวัง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ กูเกิล (google) ฟื้นพลัง หลังจากใช้ชุดกิจกรรมที่พัฒนาขึ้น ไปส่งเสริมการใช้ชีวิตตามแนวคิดจิตวิทยาเชิงบวกให้กับผู้สูงอายุ พบว่า พฤติกรรมการแสดงออกของผู้สูงอายุเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรม เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบการใช้ชีวิตตามแนวคิดจิตวิทยาเชิงบวกที่ได้จากการวัดก่อน หลัง และระยะติดตามเป็นรายคู่ พบว่าการใช้ชีวิตตามแนวคิดจิตวิทยาเชิงบวกที่ได้จากการวัดหลังการส่งเสริม และจากการวัดระยะติดตาม สูงกว่าการวัดก่อน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และการใช้ชีวิตตามแนวคิดจิตวิทยาเชิงบวกที่ได้จากการวัดหลังการส่งเสริม สูงกว่าการวัดระยะติดตาม อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05  


             This research aims to develop an activity set for promoting positive psychology in elderly people, and compare elderly people’s lives before and after using the activity set. The sample in this study included 68 elderly people in Khelang Nakhon municipality areas whose ages ranged from 60 to 69 years old. The sample was selected by convenience sampling. The instruments used in this study were a document analysis, an interview, a behavior observation, a focus group discussion, and a positive psychology evaluation. The statistics used for data analysis included percentage, mean, standard deviation, and repeated measures ANOVA.


                According to a result of this study, the activity set for promoting positive psychology in elderly people called “The Elderly Live in Positive-Psychology Way” was obtained. This activity set consisted of 8 activities; “Cheers Invention” activity, “I Can Do It and So Do You” activity, “Being in Positive Thoughts” activity , “Thankful Notes” activity, “Elderly Exhibition” activity, “The Tower of Hope” activity, “Knowledge Exchanging” activity, and “The Google Power” activity. After using the developed activity set for promoting positive psychology in elderly people, it was found that the behaviors of the elderly were consistent with the activity objectives. When comparing living their lives according to positive psychology before, after and during follow-up sessions in pairs using the activity set, it was suggested that positive psychology evaluated from after and during follow-up sessions were in higher level than before using the activity set with statistical significance at .05. In addition, the after-evaluation was higher than the follow-up evaluation with statistical significance at .05

Article Details

Section
Research Articles

References

กนิษฐา นาวารัตน์. (2549). การพัฒนารูปแบบและกลยุทธ์ส่งเสริมความเป็นศูนย์กลางการศึกษานานาชาติของประเทศไทยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. ภาควิชานโยบาย การจัดการ และความเป็นผู้นำทางการศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

คมเพชร ฉัตรศุภกุล. (2546). กิจกรรมกลุ่มในโรงเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.

จักรพงษ์ กาวงศ์. นักพัฒนาชุมชน. (2559, 8 สิงหาคม ). สัมภาษณ์.

ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์ และคณะ. (2559). ประชากรไทยในอนาคต. (ออนไลน์). สืบค้นจาก: http://www.ipsr.mahidol.ac.th/.

ปนัดดา มหิทธานุภาพ, บัวทอง สว่างโสภากุล. (2555). การมองโลกในแง่ดี การปฏิบัติพัฒนกิจ และความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์; 38:166-78.

ไพฑูรย์ โพธิ์ทอง. นายกเทศมนตรีเมืองเขลางค์นคร. (2559, 8 สิงหาคม ). สัมภาษณ์.

ศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์ โรงพยาบาลกรุงเทพ. (2561). การดูแลผู้สูงอายุ. (ออนไลน์). สืบค้นจาก: https://www.bangkokhospital.com/th/health-trend-tip/care-for-the-elderly

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 12. (2563). โครงการสูงวัย ใส่ใจ สุขภาพ. (ออนไลน์). สืบค้นจาก: https://localfund.happynetwork.org/project/19438

สุภาวดี พุฒิหน่อย. (2547). ความสัมพันธ์ระหว่างสัมพันธภาพกับผู้อื่นกับความพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุที่อาศัยในสถานสงเคราะห์. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อัจฉรา สงวงนพงษ์. นักพัฒนาชุมชน. (2559, 8 สิงหาคม ). สัมภาษณ์.

Erikson, E.H. (1968). Identity, Youth and Crisis. New York: W.W. Norton.

Luthans, F., Youssef, M.C. and Avolio, J.B. (2007a). Psychological Capital. New York: Oxford University press.

_________. (2007b). Positive Psychological Capital: Measurement and Relationship with Performance and Satisfaction. Personnel Psychology. Vol. 60. pp. 541–572.

Scheier, M.F., Carver, C.S., & Bridges, M.W. (1994). “Distinguishing optimism from neuroticism (and trait anxiety, self-mastery, and self-esteem): A reevaluation of the Life Orientation Test,” Journal of Personality and Social Psychology, 67: pp. 1063-1078.