การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านการประกันคุณภาพภายในของครูวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร Need Assessment of Competency Development Internal Quality Assurance of Teachers Vocational Education in Bangkok
Main Article Content
Abstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านการประกันคุณภาพภายในของครูวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร 2) วิเคราะห์สาเหตุที่เกิดความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านการประกันคุณภาพภายในของครูวิทยาลัยอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านการประกันคุณภาพภายในของครูวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น เรียงตามลำดับความสำคัญด้วยดัชนี (Modified Priority Index :PNImodified) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นผู้บริหารและครูวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 345 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง 0.55-0.85 และ มีค่าสัมประสิทธิ์ Cronbach’s Alpha เท่ากับ 0.97 ส่วนการวิเคราะห์สาเหตุที่เกิดความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านการประกันคุณภาพภายในของครูวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง
ผลการศึกษาพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านการประกันคุณภาพภายในของครูวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน พบว่าความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะสูงสุดคือ ด้านทักษะ (PNImodified = 0.50) รองลงมาคือ ด้านเจตคติ (PNImodified = 0.45) และด้านความรู้ (PNImodified = 0.42) ตามลำดับ 2) สาเหตุที่เกิดความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านการประกันคุณภาพภายในของครูวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน พบว่า ครูขาดความรู้ความเข้าใจและขาดการติดตามรับรู้การเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา (85.00%) รองลงมาครูขาดการวางแผนเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่อง (78.45%) ขาดแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน (65.85%) ภาระงานที่รับผิดชอบมีจำนวนมาก (64.45%) ตามลำดับ 3) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านการประกันคุณภาพภายในของครูวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน ได้แก่ ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญและการส่งเสริมพัฒนาสมรรถนะครูโดยใช้วิธีการระบบพี่เลี้ยงคอยชี้แนะอย่างต่อเนื่อง (95.00%) , ร่วมกันวางแผนเก็บรวบรวมข้อมูลให้สอดคล้องกับเกณฑ์ของมาตรฐานการอาชีวศึกษา (90.00%) , สร้างแรงจูงใจให้กับครูวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนร่วมมือจัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง (SAR) ให้สำเร็จตามเป้าหมาย (85.00%)
The purposes of this research were to : 1) Study the need assessment of competencies development internal quality assurance of teachers vocational education in Bangkok. 2 ) Assess the competencies needed and to analyzed the causes for doing internal quality assurance of teachers vocational education. 3) Study guidelines on development of the competencies needed for doing internal quality assurance of teachers by analyzing the needs as follows be prioritized with PNImodified. .The sample consisted of admintrators and teachers vocational education 345 persons obtained through stratified random sampling. The research tool was a 5 points need assessment rating scale questionnaire of competencies needed ,Cronbach’s alpha reliability coefficient was 0.97 and the Item-Total Correlation ranged between 0.55-0.85. The study to analyzed the causes of needed and guidelines on development of the competencies needed for doing internal assurance of teachers vocational education by in-depth interviews
The findings are as follows: 1) From the results of the need assessment of the competencies needed for doing internal assurance of teachers vocational education, the competencies can be prioritized with PNImodified as follows: 1) Skill (PNImodified = 0.50) , 2) Attitude (PNImodified = 0.45), 3) Knowledge (PNImodified = 0.42). 2) The cause of the need assessment of competency development internal assurance of teachers vocational education because most teachers to Lack of understanding, learning and lake of the follow up education standards of vocational education 85% , Lack of continuous for data collects planning 78.45%, Lack of motivation of work 65.85% and Have a lot of work load 64.45%. 3) Regarding the guidelines on development of the competencies needed for doing Internal quality assurance of teachers vocational education. Director to must have the support for training competency development Internal quality assurance with Coaching Method and Mentoring System 95% ,Jointly plan the compile documents data of Internal quality assurance 90 % , and inspire the teachers vocational education to be successful the Self Assessment Report : SAR data 85%
Article Details
References
กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561. (2561). สืบค้นเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2561 จากแหล่งค้นคว้า www.qa.kmutnb.ac.th/upload_files/pakadout/qa/MOE_An_QA61.pdf.
ดุสิต ขาวเหลือง. (2554). “การฝึกอบรมที่มีประสิทธิภาพและสมรรถนะ” (Competency and Effective Training). วารสารการศึกษาและพัฒนาสังคม ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 กรุงเทพ.
ทิภาวรรณ เลขวัฒนะ. (2552). การพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานด้วยวิธีเทียบเคียงสมรรถนะ. วารสารวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา. ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 .
ประกอบ ศรีตระกูล. (2550). การศึกษาและความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการ เรียนรู้ ของครูอาชีวศึกษาจังหวัดราชบุรี. สารนิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ภาวนา กิตติวิมลชัย และคณะ. (2551). การประเมินความต้องการจำเป็นการประกันคุณภาพภายในคณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. การประชุมวิชาการแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกําแพงแสน ครั้งที่ 10.
รุ่งเรือง สิทธิจันทร์.(2560). “การมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัย มหาสารคาม”.PULINET Journal.4(3):105-112.
ลักขณา จาตกานนท์, ดวงรัตน์ แช่ตั้ง, เนนิสา ไชยปุระ, ธนพรรณ บุณยรัตกลิน. (2554). การพัฒนาการบริหารงานประกันคุณภาพการศึกษาคณะเทคโนโลยี คหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. รายงานการวิจัย เสนอต่อคณะเทคโนโลยี คหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
วิภาดา ศรีจอมขวัญ.(2556).รูปแบบบริหารการพัฒนาสมรรถนะครูอาชีวศึกษาไทย.วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ ปีที่ 3 ฉบับที่ 3 .(กันยายน-ธันวาคม 2556).
วิชัย วงษ์ใหญ่และมารุต พัฒผล. (2557). การโค้ชเพื่อการรู้คิด (Cognitive Coaching). จรัลสนิทวงศ์ การพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.(2547).ความรู้ความสามารถ ทักษะและสมรรถนะ ที่จำเป็นสำหรับตำแหน่ง. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.2561. คู่มือการประกันคุณภาพภายในสถานสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษา.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2546). การประเมินการความต้องการจำเป็น : หลักการ เทคนิค และการประยุกต์ใช้.ภาควิชาวิจัยการศึกษา คณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
______ .(2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: วี.พริ้นท์ (1991).
องอาจ นัยพัฒน์. (2561). การวิจัยสถาบัน : เครื่องมือพัฒนาสถาบันสู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
______.(2554).การออกแบบการวิจัย : วิธีการเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพและผสมผสานวิธีการ. (พิมพ์ครั้งที่ 2) กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อาภรณ์ ภู่วิทยาพันธ์. (2552). การจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์.
Creswell,J.W.(2011). Designing and Conducting Mixed Methods Research. California.
Kerlinger, F.N. & Lee, H.B. (2000). Foundation of Behavioral Research. 4thed. Singapore: Thomson Learning.
McClelland, D. C. (1973).Testing for competence rather than intelligence.American Psychologist, 28(1), 1-14.
Miles M B. & Huberman A M. (1994). Qualitative Data Analysis. An Expanded Sourcebook. 2nd ed. Thousand Oaks,CA: Sage.
Witkin, B.R. and Altschuld, J.W.