แนวทางแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยสันติวิธี
DOI:
https://doi.org/10.14456/jem.2015.11บทคัดย่อ
ปัจจุบันสภาพปัญหาความขัดแย้งด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติอยู่ในสถานการณ์อยู่ในขั้นที่น่าเป็นห่วงอย่างมาก โดยเฉพาะพื้นที่ที่อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายและกำลังเผชิญหน้าปัญหาความขัดแย้งด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี โดยบทความวิจัยนี้แสดงให้เห็นถึง การวิเคราะห์จุดร่วมของคู่ขัดแย้งและผู้ที่มีส่วนได้เสียทุกส่วนในการแก้ไขปัญหาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี โดยใช้แนวทางการเสริมสร้างสังคมสันติสุข ซึ่งผลสรุปการศึกษาพบว่า การจัดการความขัดแย้งทรัพยากรที่ดิน ควรมีการบังคับใช้กฎหมายเท่าที่จำเป็น ต้องปรับให้เกิดยืดหยุ่นแล้วอยู่ด้วยกันได้,บูรณการการบริหารจัดการที่ดินระหว่างหน่วยงานของรัฐจำเป็นต้องทำอย่างเป็นระบบ,ควรมีองค์กรที่เป็นกลางมาร่วมรับฟังปัญหาความขัดแย้ง การจัดการความขัดแย้งด้านทรัพยากรน้ำ มีกระบวนการตรวจสอบการแย่งชิง และเฝ้าระวังคุณภาพด้วยกันจากทุกภาคส่วนโดยร่วมกันกำหนดมาตรการในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน เป็นลักษณะเครือข่ายและสร้างต้นแบบปฏิบัติที่ดีในการรักษาแหล่งน้ำและการบริหารจัดการน้ำร่วมกัน การจัดการความขัดแย้งด้านทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อม ประชาชนมีพื้นที่จัดการทรัพยากรธรรมชาติเป็นของตัวเอง โดยมีกระบวนการริเริ่มปฏิบัติและจัดการจากแผนชุมชนก่อน และต้องเกิดการบูรณการร่วมกันหลายภาคส่วน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งอำเภอสวนผึ้งต้องมี ฐานข้อมูล (Database) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เป็นระบบและทันสมัยเพื่อทันต่อกระบวนการแก้ไขปัญหาเชิงรุก และเสริมสร้างกระบวนการเป็นพลเมืองในประชาชนในพื้นที่ด้วยความเข้มแข็งจริงใจ ต่อเนื่องในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการพัฒนาอย่างยั่งยืน
References
Bossel, H. (1999). Indicators for sustainable development: Theory, method, applications; a report to the Balaton Group. International Institute for Sustainable Development, Winnipeg, Manitoba, Canada.
Bacow, L. S. & Wheeler, M. (1984). Environmental Dispute Resolution. New York: Plenum Press.
Boonlert, W. (2003). When Karen at Ampoe Suan Pueng Speaks out [In Thai]. Bangkok: Thailand Research Fund.
Galtung, J. (1996). Peace by Peaceful Means: Peace and Conflict, Development and Civilization.London: Sage Publications.
King Prajadhipok’s Institute. (2010). Sustainable Natural Resources and Environmental Management [In Thai: รายงานการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน]. Group Study Report, Strengthen Peaceful Society Certificate Course (Batch 2). Office of Peace and Governance, King Prajadhipok’s Institute.
Makarapirom, P. (2007). Environmental Conflict Resolution [In Thai]. Unpublished Research Report. Social Research Institute, Chiang Mai University.
Mathews, D. (1999). Politics for People: Finding a Responsible Public Voice [In Thai: การเมืองภาคพลเมือง] (W. Wattanasap, Trans.). Nonthaburi: King Prajadhipok Institute.
Payutto, P. (2001). Sustainable Development [In Thai]. 8th Edition. Bangkok: Reuan Kaew Press.
Wattanasapt, W. (2007). Conflict: Principle and Tools for Resolution (3th Edition). Khon Kean: Siripan Offset.Journal of Environmental Management Vol.11 No.2/2015 75