การจัดการความขัดแย้งด้านสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษา โครงการอ่างเก็บน้ำคลองบ้านนา จังหวัดสระบุรี

ผู้แต่ง

  • ชนิดา เจริญเนตร์ คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jem.2021.4

คำสำคัญ:

ความขัดแย้งด้านสิ่งแวดล้อม, โครงการอ่างเก็บน้ำคลองบ้านนา, การจัดการทรัพยากรน้ำ, การมีส่วนร่วมของประชาชน

บทคัดย่อ

ความขัดแย้งด้านสิ่งแวดล้อมจากการจัดการทรัพยากรน้ำในประเทศไทย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีผู้ได้รับผลกระทบหลายฝ่าย และส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง ดังนั้นการจัดการความขัดแย้งด้านสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพจึงมีความจำเป็นในสังคมไทยปัจจุบัน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุความขัดแย้งด้านสิ่งแวดล้อมจากการพัฒนาโครงการอ่างเก็บน้ำคลองบ้านนา และเพื่อเสนอแนวทางในการจัดการปัญหาความขัดแย้งด้านสิ่งแวดล้อมจากโครงการดังกล่าว โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ มีวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาเอกสาร ร่วมกับการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างจากผู้มีส่วนได้เสียในการพัฒนาโครงการ ผลการศึกษา พบว่า สาเหตุหลักของความขัดแย้งในกรณีศึกษานี้ ได้แก่ ความขัดแย้งด้านข้อมูล ความขัดแย้งด้านผลประโยชน์ และความขัดแย้งด้านค่านิยมเป็นหลัก โดยพบว่า ข้อมูลโครงการที่ได้รับนั้นไม่เพียงพอ ขาดความน่าเชื่อถือของข้อมูล นอกจากนี้ประชาชนมีความกังวลเกี่ยวกับการเยียวยาผลกระทบที่เกิดขึ้น รวมถึงวิถีชีวิตของประชาชนในพื้นที่ที่อาจเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งผู้พัฒนาโครงการยังไม่ได้มีแนวทางในการป้องกันความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้น ในการเสนอแนวทางการจัดการความขัดแย้งด้านสิ่งแวดล้อม ผู้พัฒนาโครงการควรใช้เครื่องมือแก้ไขความขัดแย้งในรูปแบบของการร่วมมือ เพื่อหาทางออกในการแก้ไขข้อกังวลของทั้งสองฝ่าย เปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น และตัดสินใจเกี่ยวกับการดำเนินโครงการ เพื่อจะนำสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

References

Apichai, S. (2017). Conflict from a Mega Industrial Development Project: A Case Study of RayongIndustrial Estate Park Project (Bankhai). [In Thai]. Unpublished Thesis, National Instituteof Development Administation.

Apinya, T. (2015). Guideline for Environmental Conflict Resolution: A Case Study of Suan PhuengRatchaburi. Journal of Environmental Management, 11(2), 60-75.

Chutarat, C. (2017). Environmental conflict management: A case study of the thermal coal-firedpower plant project in Rayong provice. Kasetsart Journal of social sciences, 38, 692-970.

Hisschemoller, M. and Midden, C. J. S. (1989). Technological risk, policy theories and public perception in connection with the siting of hazardous facilities, in Vlek, C. and Cvetkovich, G. (eds). Social Decision Methodology for Technological Projects. Kluwer Academic Publishers. Dordrecht, 173–194.

Jariya, C. (2012). Conflict in the management of water resources case study water shortage management project in the Nakhon Ratchasima Municipality. [In Thai]. Unpublished Thesis, National Institute of Development Administation.

Moore, C. W. (1996). The mediation processes. San Francisco. CA: Jossey-Bass. Nakhon Nayok Provincial Administrative Organization. (2018). Geography of Nakhon Nayok (InThai). Retrieved September 23, 2019, from http://khonyok.go.th/public/resource/data/index/menu/126.

Nithita, S. (2014). Conflict in Land Resource Management in the Context of Thai society A case study of Tungsa public land use, Phattalung province. Humanitise&Social Sciences, 31(3), 1-18.

Pheik, K. (2016). Tree transplant Learning & Resource Centre. (In Thai). Retrieved September 23, 2019, from http://www.rakbankerd.com/agriculture/print.php?id=7498&s=tblplant.

Sawat, S. (2018). Public Participation in Environmental Conflict Management: A Case Study of Krabi Coal-fired Power Plant Expansion Project. [In Thai]. Unpublished Thesis, National Institute of Development Administation.

Soonthorn, P; Viyouth, C, and Wongsa, L. (2012). Conflict between Local Community and Public Organizations on Water Management from LamPatao Dam Kaeng khor District Chaiyaphum Province. Journal of Mekong Societies, 8(1), 115-135.

Supatra, K. (2018). Conflicts Occurred from State Projects in Chon Buri. Burpha Journal of Humanities and Social Sciences, 26, 253-275.

Thomas, K W. (1992). Conflict and Negotiation in Organizations: Historical and Contemporary Perspectives. Journal of Organizational Behavior, 13(3), 265-274.

Tillett, G. (1999). Resolving Conflict: A Practical Approach. Oxford University Press. Melbourne.

Wynne, B. (1989). Sheep farming after Chernobyl: a case study in communicating scientific information. Environment, 31, 10–39.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-20

How to Cite

เจริญเนตร์ ช., & ชมพันธุ์ จ. (2021). การจัดการความขัดแย้งด้านสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษา โครงการอ่างเก็บน้ำคลองบ้านนา จังหวัดสระบุรี. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน, 17(1), 56–75. https://doi.org/10.14456/jem.2021.4

ฉบับ

บท

บทความวิจัย Research