รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรประมงชายฝั่งอย่างยั่งยืน อำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี A MODEL OF COASTAL FISHERIES RESOURCES SUSTAINABLE DEVELOPMENT IN KOH SICHANG DISTRICT, CHONBURI PROVINCE

ผู้แต่ง

  • Kanokwan Kiatsewee กนกวรรณ เกียรติเสวี สาขาวิชาการจัดการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ฉะเชิงเทรา
  • Preecha Dilokwutthisit ปรีชา ดิลกวุฒิสิทธิ์ สาขาวิชาการจัดการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ฉะเชิงเทรา
  • Suwattana Thadaniti สุวัฒนา ธาดานิติ

DOI:

https://doi.org/10.14456/jem.2020.3

คำสำคัญ:

การพัฒนาอย่างยั่งยืน, ประมงชายฝั่ง, อำเภอเกาะสีชัง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการพัฒนาทรัพยากรประมงชายฝั่ง
อย่างยั่งยืน 2) พัฒนาและประเมินรูปแบบการพัฒนาทรัพยากรประมงชายฝั่งอย่างยั่งยืน อำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี การวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน ของการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ ชาวประมง จำนวน 400 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้างโดยใช้โปรแกรม LISREL ส่วนผู้ให้ข้อมูลสำคัญสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญและชาวประมงจำนวน 12 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาทรัพยากรประมงชายฝั่งอย่างยั่งยืน อำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี มี 5 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคม ระบบนิเวศ และสถาบัน 10 องค์ประกอบย่อย และ 50 ตัวบ่งชี้ ซึ่งองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ทุกตัวมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรประมงชายฝั่งอย่างยั่งยืน อำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน หน่วยงานราชการและเอกชน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง เสริมสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรประมงชายฝั่งในหมู่นักเรียนและเยาวชนอื่น ๆ เพื่อนำประโยชน์มาสู่ชุมชนอย่างยั่งยืน

References

เอกสารอ้างอิง
[1] แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. ราชกิจจานุเบกษา แผนพัฒนาฯ พ.ศ.2560-2564. เล่ม 133 ตอนที่ 115 ก ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2559; 2559.
[2] นฤดม ทิมประเสริฐ. กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของสิทธิชุมชนในการจัดทำข้อบัญญัติท้องถิ่นทางทะเล: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหาร; 2554.
[3] กรมประมง (โฮมเพจ). สถิติการประมงแห่งประเทศไทย ปี 2553. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2560, จาก http://www.fisheries.go.th/it-stat/data_2553 ; 2553.
[4] สยาม อรุณศรีมรกต ยงยุทธ วัชรดุลย์. เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ประการของสหประชาชาติเพื่อโลกอนาคต. วารสารวิจัยสหวิทยาการไทย, 11(3), 1-7; 2559.
[5] กรมประมง. ข่าวกรมประมง. กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์สำนักงานเลขานุการกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2558. เอกสารเผยแพร่ ณ วันที่ 26 มกราคม 2558., 82-84; 2558.
[6] อุธร ฤทธิลึก. การจัดการทรัพยากรประมง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.ปอเรชั่น จำกัด, 168; 2556.
[7] สมภพ รุ่งสุภา. การบูรณาการฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งเกาะสีชังแบบมีส่วนร่วมโดยชุมชนท้องถิ่น. ในรายงานการบูรณาการฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งเกาะสีชังแบบมีส่วนร่วมโดยชุมชนท้องถิ่น, สำนักงานคณะกรรมการแห่งชาติ; 2555.
[8] United Nation. World Summit Development, Johannesburg Declaration on Sustainable Development. Retrieved November 23,2016 from http://www.un-ocuments.net/jburgdec.htm ; 2002.
[9] นิลนาจ ชัยธนาวิสุทธิ์, ศิรุษา กฤษณะพันธุ์, สราวุธ แสงสว่างโชติ, อานุภาพ พาณิชผล. รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงความหลากหลายของทรัพยากรชีวภาพทางทะเลอย่างยั่งยืน กลุ่มเกาะสีชัง จังหวัด
ชลบุรี. สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากรากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน); 2559.
[10] สำนักงานอำเภอเกาะสีชัง. สถิติประชากรจากทะเบียนบ้าน แยกรายพื้นที่ ระดับตำบล เดือนธันวาคม พ.ศ.2560. ตำบลท่าเทววงษ์ ท้องถิ่นเทศบาลตำบลเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี; 2560.
[11] Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. Determining Sampling Size for Research Activities. Educational Psychological Measurement 30 (3), 607-608; 1970.
[12] Food and Agriculture Organization of the United Nations. Introduction to tropical fish Stock assessment. Retrieved November 23,2016 from http://www.fao.org/docrep/W5449E/w5449e0b.htm. 1998.
[13] World Commission on Environment and Development. Our Common Future. Oxford, Oxford University Press. Business. United State of America : SHRM. 1987.
[14] Food and Agriculture Organization of the United Nations. Indicators for sustainable Development of marine capture fisheries. FAO technical guidelines for responsible Fisheries No. 8 FAO, Rome; 1999.
[15] Charles, A. Towards sustainability: the fishery experience. Ecological Economics. 11(3): 201-211; 1994.
[16] เรืองไร โตกฤษณะ และคณะ. โครงการศึกษา Best Practice การบริหารจัดการทรัพยากรในพื้นที่อย่างมีส่วนร่วมกรณีจังหวัดตรังและจังหวัดตราด. สำนักงานปฏิรูปเพื่อสังคมไทยที่เป็นธรรม (สปร.). 207; 2555.

[17] รินทร์ลภัส อรรถเธียรไชย. ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. ปริญญาวิทยาศาสตร มหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) สาขาวิชาเอกบริหารสาธารณสุข บัณฑิต
วิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล; 2557.
[18] ดวงพร จันทร์แก้ว. แนวทางการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการวางแผน สิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาชุมชนและชนบท บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล; 2550.
[19] Fletch, R. National ESD Reporting Framework for Australian Fisheries: The How To Guide for Wild Capture Fisheries. FRDC Project 2000/145, Canberra, Australia; 2002.
[20] อุดมศักดิ์ สินธิพงษ์. ชุมชนท้องถิ่นกับการมีส่วนร่วมจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยังยืน มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. วารสารนักบริหาร, 35(1)104-113; 2558.
[21] Charles, A. Sustainable Fishery System. London: Blackwell Science; 2001.
[22] Raakjaer, J., Son, M., Staehr, K., Hovgard, H., Thuy, N., Ellegaard, K., Riget, F.Thi, D. and Hai, P. Adaptive fisheries management in Vietnam The use of indicators and the Introduction of a multi-disciplinary Marine Fisheries Specialist Team to support Implementation. Marine Policy. 31(2):143-152; 2007.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-19

How to Cite

กนกวรรณ เกียรติเสวี K. K., ปรีชา ดิลกวุฒิสิทธิ์ P. D., & สุวัฒนา ธาดานิติ S. T. (2020). รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรประมงชายฝั่งอย่างยั่งยืน อำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี A MODEL OF COASTAL FISHERIES RESOURCES SUSTAINABLE DEVELOPMENT IN KOH SICHANG DISTRICT, CHONBURI PROVINCE. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, 16(1), 44–69. https://doi.org/10.14456/jem.2020.3

ฉบับ

บท

บทความวิจัย Research