การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพของประชาชนจากสารเบนซีน บริเวณริมถนนที่มีการจราจรหนาแน่นในอำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี HEALTH RISKS ASSESSMENT FROM BENZENE ON THE ROADSIDE AREAS WITH HEAVY TRAFFIC IN UDON THANI DISTRICT, UDON THANI PROVINCE

ผู้แต่ง

  • Mathana Wongaree มัธณา วงศ์อารีย์ Udonthani Rajabhat University
  • Sivapan Choo-in ศิวพันธุ์ ชูอินทร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jem.2020.4

คำสำคัญ:

การประเมินความเสี่ยง, สารเบนซีน, โรคมะเร็ง, การจราจรหนาแน่น, อุดรธานี

บทคัดย่อ

การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพของประชาชนผู้อยู่อาศัยและผู้ประกอบอาชีพบริเวณที่มีการจราจรหนาแน่นในอำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี โดยดำเนินการเก็บตัวอย่างอากาศริมถนนจำนวน 5 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัย โรงเรียน โรงพยาบาล ศูนย์การค้าและตลาดสด ในช่วงเวลาเร่งด่วนและมีการจราจรหนาแน่น (16.00 - 17.00 น.) ระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2561 ทำการเก็บตัวอย่างทั้งหมด 30 ตัวอย่าง โดยใช้หลอดเก็บตัวอย่างชนิด coconut shell charcoal tube ที่อัตราดูดอากาศ 200 มิลลิลิตรต่อนาที และวิเคราะห์ปริมาณเบนซีนด้วยเทคนิคแก๊สโครมาโตกราฟี พบว่าริมถนนมหาวิทยาลัยมีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 1.260±2.42 mg/m3 และริมถนนตลาดสดมีค่าเฉลี่ยเบนซีนต่ำสุดเท่ากับ คือ 0.001±0.0002 mg/m3 เมื่อประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพของประชาชนต่อการรับสัมผัสสารเบนซีนทั้ง 5 แห่ง พบว่ามีค่า CDI เท่ากับ 0.00152  1.20943x10-6  0.00089  0.00114 และ 1.21x10-6 mg/kg-day ตามลำดับ และมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง (cancer risk) เท่ากับ 4.16019x10-5  3.30174x10-8  2.43999x10-5  3.10033x10-5 และ 3.30174x10-8 ตามลำดับ สรุปได้ว่ามีค่าความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งจากการได้รับสารเบนซีนริมถนนที่มีการจราจรหนาแน่นบริเวณมหาวิทยาลัย ศูนย์การค้าและโรงพยาบาลมีค่าความเสี่ยงมากกว่า 1x10-6 เป็นค่าที่ยอมรับไม่ได้ และส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนในบริเวณที่มีการศึกษาทั้ง 5 แห่ง ในอำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี

References

1. กรมควบคุมมลพิษ. เอกสารเผยแพร่ทางวิชาการของสารเบนซิน. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2545.
2. ธิดารัตน์ บูรณนัติ และ สิรินภา คงศรีประพันธุ์. การประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งของนักศึกษาจากการได้รับสารเบนซินในขณะที่ยืนรอรถประจำทางบริเวณหน้ามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 2558.
3. ดำรงฤทธิ์ แก้วเอื้อ. การประเมินความเสี่ยงสุขภาพการรับสัมผัสสารอินทรีย์ระเหยง่ายของผู้ประกอบอาชีพค้าขายริมถนนในพื้นที่การจราจรหนาแน่นของกรุงเทพมหานคร. การจัดประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2557; 4: 1-14.
4. ศิวพันธุ์ ชูอินทร์. ความเเตกต่างของความเข้มข้นของสารเบนซีนที่ได้จากการตรวจวัดจริงกับการประเมินด้วยเเบบจำลอง 4-CALINE บริเวณริมถนนโดยรอบมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. การประชุมสวนสุนันทาวิชาการระดับชาติ. 2560; 6: 380-388.
5. ธนพัฒน์ เกิดผล และ นิเทศ ตินณะกุล. ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อปัญหาการจราจรในจังหวัดปทุมธานีและปริมณฑล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี. 2560; 1: 229-236.
6. Bowei Li, Steven Sai, Hang Ho, Yonggang Xue, Yu Huang, Liqin Wang, Yan Cheng, Wenting Dai, HaobinZhong, Junji Cao and Shuncheng Lee. Characterizations of volatile organic compounds from vehicular emissions at roadside environment: The first comprehensive study in Northwestern China. Atmospheric Environment. 2017; 161: 1-12.
7. Ki-Hyun Kim, Jan E. Szulejko, Hyo-Jae Jo, Min-Hee Lee, Yong-Hyun Kim, Eilhann Kwon, Chang-Jin Ma and Pawan Kumar. Measurements of major VOCs released into the closed cabin environment of different automobiles under various engine and ventilation scenarios. Environmental Pollution. 2016; 215: 340-346.
8. Wang Hong-li, Jing Sheng-ao, Lou Sheng-rong, Hu Qing-yao, Li Li, Tao Shi-kang, Huang Cheng, Qiao Li-ping and Chen Chang-hong. Volatile organic compounds source of on-road vehicle emissions in China. Science of the Total Environment. 2017: 253-261.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-28

How to Cite

มัธณา วงศ์อารีย์ M. W. ., & ศิวพันธุ์ ชูอินทร์ S. C.- in. (2020). การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพของประชาชนจากสารเบนซีน บริเวณริมถนนที่มีการจราจรหนาแน่นในอำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี HEALTH RISKS ASSESSMENT FROM BENZENE ON THE ROADSIDE AREAS WITH HEAVY TRAFFIC IN UDON THANI DISTRICT, UDON THANI PROVINCE. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, 16(1), 70–85. https://doi.org/10.14456/jem.2020.4

ฉบับ

บท

บทความวิจัย Research