การวิเคราะห์ความคงทนของพื้นที่ธรรมชาติ และศักยภาพทรัพยากร เพื่อจำแนก เขตการจัดการอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง ANALYSIS OF NATURAL SITE RESISTANCE AND RESOURCE POTENTIAL FOR MANAGEMENT ZONING OF HUAI NAM DANG NATIONAL PARK
DOI:
https://doi.org/10.14456/jem.2019.9คำสำคัญ:
ความคงทนของพื้นที่ธรรมชาติ, ศักยภาพทรัพยากรนันทนาการ, การจำแนกเขตการจัดการ, อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความคงทนต่อการใช้ประโยชน์ด้านนันทนาการของพื้นที่ธรรมชาติ ประเมินศักยภาพทรัพยากรนันทนาการ จำแนกเขตการจัดการและเปรียบเทียบการใช้ประโยชน์ทางนันทนาการในปัจจุบันกับเขตการจัดการที่จำแนกได้ของอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง โดยผลการศึกษาพบว่า พื้นที่ส่วนใหญ่ของอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังมีความคงทนอยู่ในระดับต่ำ-ต่ำมาก คิดเป็นร้อยละ 49.01 ความคงทนปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 39.96 และความคงทนสูง-สูงมาก คิดเป็นร้อยละ 11.03 ผลการประเมินศักยภาพทรัพยากรนันทนาการในแหล่งนันทนาการ จำนวน 11 แหล่ง พบว่า มีศักยภาพสูง 9 แหล่ง ได้แก่ จุดชมวิวดอยกิ่วลม จุดชมวิวสองตะวัน เส้นทางศึกษาธรรมชาติโป่งเดือด-ปางป่าคา น้ำพุร้อนโป่งเดือด น้ำตกแม่เย็น น้ำตกหัวช้าง เส้นทางศึกษาธรรมชาติโป่งเดือด-ป่าข้าวหลาม ลำน้ำแตง และน้ำตกแม่ปิง และมีศักยภาพปานกลาง 2 แหล่ง ได้แก่ น้ำตกสบโป่ง และน้ำตกแม่หาด โดยสามารถจำแนกเขตการจัดการที่เหมาะสมกับพื้นที่อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังได้ 5 เขตการจัดการ คือ เขตสงวนสภาพธรรมชาติ เขตการใช้ประโยชน์เพื่อวัตถุประสงค์พิเศษ เขตฟื้นฟูสภาพธรรมชาติ เขตบริการ และเขตนันทนาการ ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 1,052.544, 141.375, 32.271, 3.714 และ 2.045 ตารางกิโลเมตร ตามลำดับ และพบว่าการใช้ประโยชน์ด้านนันทนาการในปัจจุบันส่วนใหญ่ไม่สอดคล้องกับเขตการจัดการที่จำแนกได้
References
Interpretation Section. (2010). Northern National Parks. Office of National Park, Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation. (In Thai)
National Parks Research and Innovation Development Section. (2015). Basic Management Plan 2015 – 2019 Huai Nam Dang National Parks. Retrieved August 8, 2017, from https://portal.dnp.go.th/Content/ nationalpark?contentId=3713.(In Thai)
Sritabtim, S. (2003). Application of Remote Sensing and Geographic Information System for Zoning Khao Chamao - Khao Wong National Park, Rayong and Chanthaburi Province. Master Thesis, Kasetsart University. (In Thai)
Tanakanjana, N. (2012). Parks, Recreation and Nature Tourism. Department of Conservation, Faculty of Forestry, Kasetsart University. (In Thai)
Tanakanjana, N., Arunpraparut, W., Pongpattananurak, N., Nuampukdee, R., & Chumsangsri, T. (2006). A Final Report of the Project “Decision Support System for Sustainable Management Planning of Nature-based Recreation Areas, Phase I”. Faculty of Forestry, Kasetsart University. (In Thai)