การพัฒนาศักยภาพของพืชสมุนไพรสำหรับการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (participatory action research; PAR) ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของพันธุ์พืชสมุนไพรในพื้นที่ตำบลบุญเรือง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย และเพื่อพัฒนานวัตกรรมการดูแลสุขภาพด้วยพืชสมุนไพรสำหรับผู้สูงอายุ การรวบรวมข้อมูลได้จากการสำรวจสภาพแวดล้อมทั่วไปของพื้นที่ดังกล่าวร่วมกับการสำรวจสมุนไพร จากนั้นข้อมูลที่ได้นำมาใช้เพื่อวิเคราะห์โอกาสและแนวทางในการพัฒนานวัตกรรมส่งเสริมการพึ่งพาตนเองด้านการดูแลสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุด้วยการประชุมสนทนากลุ่ม (focus group) จากการศึกษาพบว่ามีสมุนไพรจำนวน 18 ชนิด จากสมุนไพรทั้งหมด 142 ชนิดมีประสิทธิผลในการดูแลสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ เป็นองค์ความรู้ที่ครอบคลุมถึงการคัดเลือกสายพันธุ์สมุนไพร การเพาะพันธุ์และขยายพันธุ์ การเลือกสภาพแวดล้อมและดินที่เหมาะสม บำรุงรักษา การป้องกันศัตรูพืช และการเก็บเกี่ยว รวมถึงรูปแบบและวิธีการใช้สมุนไพรเพื่อดูแลรักษาสุขภาพของผู้สูงอายุบนพื้นฐานกรรมวิธีทางการแพทย์แผนไทยยุคใหม่
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
Hermhuk, S., W. Sungpalee, C. Atnaseo, N. Pothawong and K. Sri-Ngernyuang. 2018. Plants utilization of Tai Lue at Bann Tapapao community forest, Mae Tha district, Lamphun province. Thai Journal of Forestry 37(1): 111-120. (in Thai)
Institute for Population and Social Research. 2022. Thailandometers. (Online). Available: http://www.thailand ometers.mahidol.ac.th/ (January 22, 2022). (in Thai)
Jantawong, N., R. Mama, C. Sae-Wang, S. Tansuwanwong and C. Ruancharoen. 2021. The development of health self-reliance innovation with basic handy herbs for the elderly. Journal of MCU Social Science Review 10(1): 245-256. (in Thai)
Kespichayawattana, J., S. Wiwatwanich, A. Srisuk and S. Jetmanorom. 2018. Handbook of learn to understand the elderly. Yuenyong Press, Bangkok. 68 p. (in Thai)
Rakpuang, S. and P. Senanuch. 2019. Social innovation for the elderly: significance to the elderly society in Thailand. The Journal of Social Communication Innovation 7(2): 205-215. (in Thai)
Saengtong, J. 2017. Aging society (complete aged): The elderly condition of good quality. Rusamilae Journal 38(1): 6-28. (in Thai)
Sukimanol, U. 2020. Concepts of HealthCare for The Elderly under Buddhist Methods and Laws. Journal of MCU Peace Studies 8(Supplement Issue): 386-402. (in Thai)
Tamdee, D., P. Tamdee, W. Senaratana and J. Singkaew. 2022. Preparation for system and mechanism development in responding to ageing society in Health Region 1. Journal of Community Development and Life Quality 10(1): 45-57. (in Thai)
Wises, S. 2019. People Council of Ing River Basin: Civil society dynamic in Natural Resource Management in Ing River Basin. Journal of Buddhist Studies 10(2): 331-345. (in Thai)