แนวทางการพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขันในการจัดการท่องเที่ยวเดินป่า ในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2

Main Article Content

ภูวนารถ ศรีทอง
ประกอบศิริ ภักดีพินิจ
วารัชต์ มัธยมบุรุษ
พัจน์พิตตา ศรีสมพงษ์

บทคัดย่อ

     บทความวิจัยนี้ศึกษาเกี่ยวกับขีดความสามารถทางการแข่งขันของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์และขีดความสามารถทางการแข่งขันการท่องเที่ยวของการจัดการท่องเที่ยวเดินป่าในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 เชียงราย พะเยา แพร่และน่าน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวเดินป่า ผู้นำองค์กรท้องถิ่นหรือตัวแทน หน่วยงานภาครัฐด้านการท่องเที่ยว และนักท่องเที่ยวเดินป่าที่มีประสบการณ์มากกว่า 10 ปีขึ้นไป ด้วยวิธีการสุ่มแบบเจาะจงและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย การสัมภาษณ์เชิงลึก/ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม/ การสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า ขีดความสามารถการจัดการท่องเที่ยวเดินป่าของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 อยู่ในระดับต่ำ ต้องมีการจัดทำกลยุทธ์เพื่อเสนอแนวทางในการจัดการท่องเที่ยวให้เกิดความได้เปรียบทางการแข่งขันโดยการสร้างกลยุทธ์ความแตกต่างและกลยุทธ์มุ่งเน้นเฉพาะ

Article Details

How to Cite
[1]
ศรีทอง ภ., ภักดีพินิจ ป., มัธยมบุรุษ ว. และ ศรีสมพงษ์ พ. 2022. แนวทางการพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขันในการจัดการท่องเที่ยวเดินป่า ในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 . วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 10, 3 (ก.ย. 2022), 250–262.
บท
บทความวิจัย

References

Bazan, G.1997.Review: Our ecological footprint: Reducing human impact on the earth. Electronic Green Journal 1(7), doi: 10.5070/G31710273.

Brockelman, W. Y., and P. Dearden. 1990. The role of nature trekking in conservation: A case-study in Thailand. Environmental Conservation, 17(02), 141.

Esichaikul, R and R. Chansawan. 2017. Development of ecotourism attraction standards in Thailand. Dusit Thani College Journal 11(Special Issue): 1-17.

Getz, D. 2008. Event tourism: Definition, evolution, and research. Tourism Management 29(3): 403–428.

Jussapalo, C. 2019. Assessment of community-based tourism management by ban tha hin area of songkha lake basin, sathing phra district, Songkhla province. Journal of Community Development and Life Quality 9(1) : 73-86. (in Thai)

Sangpikul, A. 2010. Marketing ecotourism through the Internet: A case of ecotourism business in Thailand. International Journal of Hospitality and Tourism Administration 11 (2): 65-79.

Somnil, P., K. Sihanu, N. Nilsang, and C. Chaimanee. 2020. The influence of marketing mix on sports tourism promotion of the trail running events. Journal of Sports Science and Health 21(2), (May-August 2020). Faculty of Science, Udonthani Rajabhat University. (in Thai)

Songsoonthornwong, C., K. Trakansiriwanich and T. Rattanalapho. 2017. Marketing promotion for ecotourism in Thailand. Electronic Journal of Open and Distance Innovation Learning 7(2): 103-117 (in Thai)

Wagnild, G. and H.Young. 1993. Development and psychometric evaluation of the resiliency scale. Journal of Nursing Measurement (1) :165-178. (in Thai)