การเตรียมความพร้อมเพื่อการพัฒนาระบบและกลไกรองรับสังคมสูงวัย อย่างมีศักยภาพในเขตสุขภาพที่ 1

Main Article Content

ภัทรพรรณ ทำดี
เดชา ทำดี
วิลาวัณย์ เสนารัตน์
จรัส สิงห์แก้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (participatory action research) ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบและกลไกรองรับสังคมผู้สูงวัยอย่างมีศักยภาพในเขตสุขภาพที่ 1 โดยการสำรวจสถานการณ์ผู้สูงอายุในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน อันประกอบด้วย เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน พะเยา แพร่ น่าน ลำพูน และลำปาง ทั้งข้อมูลเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพในระดับจังหวัด ตำบล และบุคคล เพื่อนำมากำหนดแนวทางในการพัฒนาระบบและกลไก ซึ่งพบว่าทั้ง 8 จังหวัดมีแนวโน้มของการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์เนื่องจากมีผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 20 ทั้งนี้ ระบบการดำเนินการเพื่อเสริมหนุนการขับเคลื่อนการดูแลทั้งในระดับครอบครัว และชุมชนในแต่ละจังหวัดยังเป็นไปด้วยดี ประกอบกับวิถีชีวิตตามบริบทของสังคมล้านนาสมัยใหม่ จึงทำให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลตนเองได้มากกว่าร้อยละ 50 อย่างไรก็ตาม ระบบและกลไกในการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีสภาพแวดล้อมและสิ่งสนับสนุนที่เอื้อต่อการดำรงชีวิต เพื่อให้เกิดความพร้อมในการพัฒนาศักยภาพ และเอื้อต่อการพึ่งตนเองของผู้สูงอายุในระยะยาวต่อไป

Article Details

How to Cite
[1]
ทำดี ภ., ทำดี เ. , เสนารัตน์ ว. และ สิงห์แก้ว จ. 2022. การเตรียมความพร้อมเพื่อการพัฒนาระบบและกลไกรองรับสังคมสูงวัย อย่างมีศักยภาพในเขตสุขภาพที่ 1. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 10, 1 (ม.ค. 2022), 45–57.
บท
บทความวิจัย

References

Intria M. 2017. Social Capital. Narkbhutparitat Journal Nakhon Si Thammarat Rajabhat University. 9(2): 14-25. (in Thai)

Kantamoon., W. and P. Wongsawat. 2016. Factors influencing risk of depression among the elderly in the upper northern region. EAU Heritage Journal Science and Technology 10(3): 83-92. (in Thai)

Khungtumneam, K. 2013. Utilization social capital for community health care. Journal of Phrapokklao Nursing College Chanthaburi 24(1): 66-72.(in Thai)

Kitreerawutiwong, K. and N. Kitreerawutiwong. 2018. The development direction for long-term care giver in community. Journal of Nursing and Health Care 36(4): 15-24. (in Thai)

Klinsuwan, P. 2018. Correlation between social capitals, cultural capitals and healthy aging promotion. Liberal Arts Review 13(25): 1-12. (in Thai)

Kongkhum, S. 2018. Social Capital on Sustainable Community Management: A Case Study of Bannbonamsub Community, Moo 1, Khuntalae Sub-district, Lansaka District, Nakhon Si Thammarat Province. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 11(2): 1727-1743. (in Thai)

Poonual, D., P. Sirasoonthorn, S. Phongphit and S. Puanarunuthai. 2014. A development of healthy ageing city model. Journal of Health Education 37(126): 82-101.

(in Thai)

Promsuan, W. 2018. Social capital and public policy development, elderly care issues in health service provider zone 9. Journal of Health Science Boromarajonani College of Nursing Sunpasitthiprasong 2(2): 80-95. (in Thai)

Puraya, A. and K. Nuntaboot. 2019. community capacity in elderly care. Journal of Nursing and Health Care 37(1): 22-31. (in Thai)

Putnam, R. 1996. Who killed civic America? Prospect, March: 66-72.

Saengtong, J. 2017. Aging society (complete aged): The elderly condition of good quality. Rusamilae Journal 38(1): 6-28. (in Thai)

Sirikampeng, A. and P. Phosing. 2017. The long term care for the elderly dependency on thailand country 4.0 era. Dhammathas Academic Journal 17(3): 235-244. (in Thai)

Taweecheep, N. and P. Chancharoen. 2017. The role of Thai senior citizens on local development participation. Academic Journal of Humanities and Social Sciences Burapha University 25(49): 167-187. (in Thai)

World Health Organization (WHO). 2002. (2002) Active Ageing: A Policy Framework. The Aging Male 5(1): 1-37. (March 20, 2021).