แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน จากรายการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนทางโทรทัศน์

Main Article Content

สุภารักษ์ จูตระกูล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์เนื้อหารายการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนทางโทรทัศน์ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนจากเนื้อหาการนำเสนอในรายการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางโทรทัศน์ ใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบจำเพาะเจาะจง (purposive sampling) โดยเลือกเฉพาะรายการที่มีเนื้อหาและรูปแบบรายการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนทางโทรทัศน์ 3 รายการ ได้แก่ รายการคาราวานสำราญใจ รายการชุมชนต้องเที่ยว และรายการชุมชนสืบไทย รวมเก็บข้อมูลทั้งสิ้น 29 ตอน ใช้วิธีวิเคราะห์ตัวบท (textual analysis) มุ่งเน้นศึกษาเนื้อหาสารในรายการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนทางโทรทัศน์ ผลการวิจัย พบว่า 1) การวิเคราะห์เนื้อหารายการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนทางโทรทัศน์ ทั้ง 3 รายการ
มีการนำเสนอแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน และเป็นสื่อกลางในการนำทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชนออกสู่สังคมภายนอก ทั้งด้านวัฒนธรรม วิถีชีวิต ผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น 2) การศึกษาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนจากเนื้อหารายการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนทางโทรทัศน์ พบว่า ทั้ง 3 รายการ มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาให้แนวทางการพัฒนาคนในชุมชนให้สามารถบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวของตนเองได้ จากผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า การนำเสนอแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนจากรายการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนทางโทรทัศน์ช่วยประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนเป็นที่รู้จักและช่วยให้คนในชุมชนนำคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญไปพัฒนาชุมชนของตนเองให้ได้รับประโยชน์จากการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

Article Details

How to Cite
[1]
จูตระกูล ส. 2022. แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน จากรายการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนทางโทรทัศน์ . วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 10, 1 (ม.ค. 2022), 35–44.
บท
บทความวิจัย

References

Changchutoe, N. 2016. Factor analysis of corporate social responsibility for brand communications. Journal of Behavioral Science for Development 8(2): 93-114. (in Thai)

Chansong, S. 2020. Communication for development of potential for self-reliance and promotion of occupations for the community: A case study of Ban Mae Thalu, Sop Moei district, Mae Hong Son Province. Journal of Community Development and Life Quality 8(2): 414 – 427. (in Thai)

Designated Areas for Sustainable Tourism Administration [DASTA]. 2015.

Community-based tourism. (Online). Available: https://tis.dasta.or.th/

dastaknowledge/wp-content/

uploads/2018/02/1-Community-Based-Tourism.pdf (March 2, 2021). (in Thai)

Hinviman, S. 2019. The analysis of genre of TV travel programmes. Dhurakij Pundit Communication Arts Journal 13(2): 44-80. (in Thai)

Mankong, A. 2017. The role of cultural capital and the community’s economic development: Case study of community in Ban Toon sub-district, Muang district, Phayao province. Research and Development Journal Loei Rajabhat University 12(39): 90-100. (in Thai)

Ngamsilstian, A. 2020. Development approach for tourism following the film and TV series trails in Thailand. Dusit Thani College Journal 14(3): 717-734. (in Thai)

Phutthadet, C. 2018. The influence of sports sponsorship on the brand recognition of King Power International Co., Ltd.’s customers in Bangkok and the suburban areas. M.B.A. Independent Study Bangkok University, Bangkok. (in Thai)

Sthapitanonda, P. 2006. Participatory communication and community development: From concepts to practices in Thai society. Thailand Research Fund, Bangkok. (in Thai)

Sukkun, T. and T. Towanit. 2015. Development of a publicrelations model for tourism at Ban Kao National Museum, Kanchanaburi province. Humanity and Social Science Journal, Ubon Ratchathani University 6(2): 98-120. (in Thai)

Tahom, U., P Wandee and S. Dhurata. 2015. Cultural capital and local wisdom for promoting participation in natural resources and environmental management of Tama community, Buriram. Journal of Environmental Management 11(2): 44-59. (in Thai)

Thailand CBT Network Coordination Center. 2012. Community – Based Tourism – CBT. (Online). Available: https://thai

communitybasedtourismnetwork.wordpress.com/cbt/ (April 12, 2021). (in Thai)

Tungseng, T. 2021. Guidelines for community-based tourism development in the three southern border provinces based on Thailand’s criteria for community-based tourism. Journal of Community Development and Life Quality 9(2): 183 – 193. (in Thai)

Visadsoontornsaku, P., C. Na Thalang, C.Jittithavorn and S. Tungbenchasirikul. 2020. Potentiality development approach for community-based tourism in Nakhon Ratchasima province. The Journal of Development Administration Research 10(3): 22-33. (in Thai).