การทำปลาส้มตัวจากปลาสร้อยขาวที่เป็นเอกลักษณ์ตามแบบภูมิปัญญาของชุมชน กรณีศึกษาบ้านท่าค้อ ตำบลขุมเงิน อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมซึ่งศึกษาเกี่ยวกับสูตรและอายุการเก็บรักษาปลาส้มตัวจากปลาสร้อยขาว โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ภูมิปัญญาชุมชน ผู้แทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านท่าค้อ ผู้แทนชุมชนบ้านท่าค้อ และผู้แทนชุมชนบ้านหนองบัว ผลการวิจัยพบว่า 1) สูตรการทำปลาส้มตัวจากปลาสร้อยขาวที่ได้รับการยอมรับทางประสาทสัมผัสของผู้บริโภคมากที่สุดคือสูตรของนางบรรเลิง ยั่งยืน 2) การเก็บรักษาปลาส้มตัวจากปลาสร้อยขาวที่ได้รับการยอมรับทางประสาทสัมผัสของผู้บริโภคสามารถเก็บรักษาในตู้เย็นที่อุณหภูมิ 4-8 องศาเซลเซียสเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์และมีค่าคุณภาพทางจุลินทรีย์อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช 26/2557) ซึ่งมีความปลอดภัยต่อการบริโภค 3) ชุมชนได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้การทำปลาส้มตัวจากปลาสร้อยขาวจากสูตรที่เป็นเอกลักษณ์ตามแบบภูมิปัญญาของชุมชนโดยมีความพึงพอใจในระดับมากและสามารถนำไปประกอบเป็นอาชีพเสริมและสร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือนได้
Article Details
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
Boonphila, N. 2018. Phu Tai wisdom cultural cuisine in Udonthani. Journal of Community Development and Life Quality 4(2): 224– 34. (in Thai)
Chaikham, P. and R. Kaewjinda. 2017. Quality changes of Plaa-som during fermentation along with difference levels of probiotic lactobacillus casei 01. Journal of VRU Research and Development Science and Technology 12(3): 37-53. (in Thai)
Chaiphakdee, D. 2019. Participation for career promotion of the elderly by adopting local wisdom on herb pickled fish food product. Journal of Humanities and Social Sciences Surin Rajabhat University 21(1): 295-308. (in Thai)
Kalac, P., J. Spicka, M. Krizek and T. Pelikanova. 2000. The effect of lactic acid bacteria inoculants on biogenic amines formation in sauerkraut. Food Chemistry 70(3): 355-359.
Kerdsup, P., P. Charoenthaikij, T. Iithisoponkul, N. Rakkhumkaew and P. Naknean. 2018. Effect of vacuum packing on chemical, microbiological and sensory characteristics of Nakhon-Nayok traditional fermented fish (Pla-som). Journal of Srinakharinwirot University (Journal of Science and Technology) 10(19): 92-105. (in Thai)
Ruangsuwan, C., C. Brahmawong, S. Pamornsamit and P. Uitragool. 2009. A community wisdom model: A case study of Pla Som (fermented fish) of Thai-Yor at Tha Khon Yang village, Kantharawichai district, Maha Sarakham province. Journal of Rajabhat Maha Sarakham University 3(2): 67-78. (in Thai)
Sirisumphand, T. 2018. Strong communities, civil societies and sustainable economics based on research. Journal of Community Development and Life Quality 1(2): 1-5. (in Thai)
Suteebut, N., C. Kee-ariyo, J. Sriyeethong, T. Soteyome and N. Sakulyuyongsuk. 2017. Certain physical, chemical, microbiological and sensory properties of Som-fug. Journal of RMUTP (Journal of Science and Technology) 11(2): 69-79. (in Thai)
Thai Industrial Standards Institute. 2014. Thai Community Products Standard 26/2014. Thai Industrial Standards Institute, Ministry of Industry, Bangkok. (in Thai)