การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรพร้อมบริโภค: กรณีศึกษา บ้านผาสุก ตำบลดอนตาล อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร

Main Article Content

พิริยาพร สุวรรณไตรย์
ชัยวิวัฒน์ วงศ์สวัสดิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการจัดการความรู้เรื่องสมุนไพรพร้อมบริโภค และสัมฤทธิผลของการเรียนรู้เรื่องผลิตภัณฑ์สมุนไพรพร้อมบริโภค ประชากร คือผู้แปรรูปสมุนไพรและภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสมุนไพรในจังหวัดมุกดาหารและกลุ่มตัวอย่างสมาชิกกลุ่มสมุนไพรบ้านผาสุก อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร จากการศึกษาการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรพร้อมบริโภค พบว่าเกิดกระบวนการจัดเก็บความรู้จากปราชญ์ชาวบ้าน กระบวนจัดการปฏิทินการปลูก การเก็บรักษาสมุนไพร กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับสรรพคุณของสมุนไพร การนำสมุนไพรมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพร การถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับผู้อื่นอย่างเป็นระบบ และได้รับการยอมรับเป็นสมาชิกของกลุ่มเกษตรกรกลุ่มสมุนไพรเมืองมุกดาหาร ผลการศึกษาสัมฤทธิผลของการเรียนรู้เรื่องผลิตภัณฑ์สมุนไพรพร้อมบริโภคจากการศึกษาพบว่าสัมฤทธิผลของการเรียนรู้เรื่องผลิตภัณฑ์สมุนไพรพร้อมบริโภคมีสัมฤทธิผลทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน คิดเป็นร้อยละ 45.27และกลุ่มสมุนไพรผู้ร่วมโครงการมีความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการโครงการ อยู่ที่ระดับมาก มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.38

Article Details

How to Cite
[1]
สุวรรณไตรย์ พ. และ วงศ์สวัสดิ์ ช. 2021. การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรพร้อมบริโภค: กรณีศึกษา บ้านผาสุก ตำบลดอนตาล อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 9, 2 (ก.พ. 2021), 213–222.
บท
บทความวิจัย

References

Dammee, D. 2014. Long life education: Development of a learning society Thailand. Mahidol R2R E-Journal 1(2): 12-30. (in Thai)

Janpen, P., P. Praneetpolgang and P. Harada. 2012. TQM model for KM systems in Thai communities. NIDA Development Journal 50(1): 115-126. (in Thai)

Maneelert, C. 2017. The development of e–learning system on healthy herbs by the community participation process in Muang Kaen Pattana municipality area, Mae Taeng district, Chiang Mai province. FEU academic review 11(4): 111-127. (in Thai)

Patsin, T. 2016. Medicinal herbs and ways of life of Ban Chianhian village, in Khwao subdistrict, Mueang district, Maha Sarakham province. Journal of Research for Development Social and Community, Rajabhat Maha Sarakham University 32(6): 140-152. (in Thai)

Ramphaiboon, P., R. Charoensup, R. Sunsern and P. Kanthawee. 2018. Effectives of the developing health literacy focusing on herbal and herbal product program among elderly people with hypertension at Mae-Chan district, Chiang Rai province. Chiang Rai Medical Journal 10(1): 81-92. (in Thai)

Reimratanakorn, K. 1999. Food and herb. Medical Journal of Srinakharinwirot 6(2): 132-138. (in Thai)

Suksawangrote, S., S. Sampradit, A. Sarakshetrin and R. Chantra. 2017. Project evaluation: Herbal first aid kit in Suratthani. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health 4(3): 63-75. (in Thai)

Tuetun, B. 2010. Herbal mosquito repellents. Nursing Journal 39: 140-157. (in Thai)

Wongkrajang, Y. and W. Supharattanasitthi. 2015. Precautions in using herbs. (Online). Available: https://www. pharmacy.mahidol.ac.th/th/service-knowledge-article-info.php?id=270 (July 26, 2019).

Yuyen, Y. 2012. Indigenous plants of Thaisongdum in Don Makluea subdistrict, U Thong district, SuphanBuri province. SDU Research Journal Science and Technology 5(2): 99-112. (in Thai)