สารสกัดจากเมล็ดกระทงลายปกป้องเซลล์ประสาทจากความเป็นพิษของ MPP+ ในแบบจำลองโรคพาร์กินสัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
มีการรายงานก่อนหน้านี้ว่าเมล็ดกระทงลาย (Celastrus paniculatus) มีบทบาทต่อการทำงานของเซลล์หลากหลาย ที่สำคัญคือ มีฤทธิ์ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของความทรงจำและการเรียนรู้ แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษาฤทธิ์ในการปกป้องเซลล์ประสาทจากความเป็นพิษ โดยเฉพาะพิษจากการได้รับสาร MPP+ ซึ่งเป็นสารสำคัญที่เหนี่ยวนำให้เกิดโรคพาร์กินสัน ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นที่จะศึกษาผลของสารสกัดจากเมล็ดกระทงลายต่อการยับยั้งการตายของเซลล์ประสาทชนิด SH-SY5Y ที่ได้รับสาร MPP+ โดยวิธี MTT assay และศึกษาการแสดงออกของโปรตีนบ่งชี้ การมีชีวิตของเซลล์ที่สำคัญ คือ Bcl2 และ mTOR โดยวิ ธี Western blot ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าสารสกัดจากเมล็ดกระทงลาย ที่ความเข้มข้น 10 และ 25 ug/ml ยับยั้งการตายของเซลล์จากการเหนี่ยวนำด้วย MPP+ เป็นเวลา 3 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังเพิ่มการแสดงออกของ Bcl2 และลดการแสดงออกของ mTOR ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม บ่งชี้ว่าสารสกัดจากเมล็ดกระทงลายมีฤทธิ์ปกป้องเซลล์ประสาทจากการเหนี่ยวนำด้วย MPP+ ในแบบจำลองโรคพาร์กินสันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
Bhagya, V., T. Christofer and B.S. Shankaranarayana Rao. 2016. Neuroprotective effect of Celastrus paniculatus on chronic stress-induced cognitive impairment. Indian Journal of Pharmacology 48(6): 687-693.
Bhanumathy, M., M.S. Harish, H.N. Shivaprasad and G. Sushma. 2010. Nootropic activity of Celastrus paniculatus seed. Pharmaceutical Biology 48(3): 324–327.
Chamniansawat, S. and S. Chongthammakun. 2010. Genomic and non-genomic actions of estrogen on synaptic plasticity in SH-SY5Y cell. Neuroscience Letters 470: 49–54.
Dong, W., S. Cheng, F. Huang, W. Fan, Y. Chen, H. Shi and H. He. 2011. Mitochondrial dysfunction in long-term neuronal cultures mimics changes with aging. Neurotoxicity Research 22(3): 231-248.
Kim, M.J., S.J. Oh, S.H. Park, H.J. Kang, M.H. Won, T.C. Kang, J.B. Park, J.I. Kim, J. Kim and J.Y. Lee. 2007. Neuronal loss in primary long-term cortical culture involves neurodegeneration-like cell death via calpain and p35 processing, but not developmental apoptosis or aging. Experimental and Molecular Medicine 39(1): 14-26.
Kulkarni, Y.A., S. Agarwa, and M.S. Garud. 2015. Effect of Jyotishmati (Celastrus paniculatus) seeds in animal models of pain and inflammation. Journal of Ayurveda and Integrative Medicine 6(2): 82–88.
Kumar, K.H., M.P. Venuprasad, G.V. Jayashree, P. Rachitha, K. Krupashree, A. Pal and F. Khanum. 2015. Celastrus paniculatus Willd. mitigates t-BHP induced oxidative and apoptotic damage in C2C12 murine muscle cells. Cytotechnology 67(6): 955–967.
Nalini, K., K.S. Karanth, A. Rao and A.R. Aroor. 1995. Effects of Celastrus paniculatus on passive avoidance performance and biogenic amine turnover in albino rats. Journal of Ethnopharmacology 47(2): 101-108.
Nicholson, D.A., R. Yoshida, R.W. Berry, M. Gallagher and Y. Geinisman. 2004. Reduction in size of perforated postsynaptic densities in hippocampal
axospinous synapses and age-related spatial learning impairments. Journal of Neuroscience 24(35): 7648-7653.
Wang, L., Z. Zhang, L. Hou, Y. Wang, J. Zuo, M. Xue, X. Li, Y. Liu, J. Song, F. Pan and T. Pu. 2019. Phytic acid attenuates upregulation of GSK-3β and disturbance of synaptic vesicle recycling in MPTP-induced Parkinson's disease models. Neurochemistry International 129: 104507.