กระบวนการขับเคลื่อนเพื่อเพิ่มจำนวนเกษตรกรในการทำเกษตรอินทรีย์ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนแม่มอก ตำบลแม่มอก อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง

Main Article Content

สุวรรณี จันทร์ตา
จักรชัยวัฒน์ กาวีวงศ์
ปิยะรัตน์ ทองธานี
เบญจวรรณ เลาลลิต
เอกชัย ญานะ
ชัยวุฒิ โกเมศ
วรพล คณิตปัญญาเจริญ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการทำเกษตรอินทรีย์ 2) ศึกษาแนวทางการขับเคลื่อนการเพิ่มจำนวนเกษตรกรในการทำเกษตรอินทรีย์ ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการทำเกษตรอินทรีย์ได้แก่ 1) ด้านสุขภาพ จากการเข้าร่วมกลุ่มเกษตรอินทรีย์พบว่าไม่มีสารพิษตกค้างในเลือด 2) ด้านเศรษฐกิจ การเข้าร่วมกลุ่มเกษตรอินทรีย์ ส่งผลให้ ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในครัวเรือนลดลงอย่างมาก นอกจากนี้ยังมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์อินทรีย์ต่าง ๆ 3) ด้านนโยบาย ด้วยเทศบาลตำบลแม่มอกมีนโยบายชัดเจนที่จะให้แม่มอกเป็นเมืองแห่งอาหารปลอดภัย และ 4) ด้านอื่น ๆ และแนวทางการขับเคลื่อนการเพิ่มจำนวนเกษตรกรในการทำเกษตรอินทรีย์ มีแนวทางดังนี้ 1) แสวงหาบุคคลต้นแบบที่เป็นแบบอย่างเกษตรกรผู้ทำเกษตรอินทรีย์ 2) จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ่ายทอดประสบการณ์ 3) ผู้รับผิดชอบในการดำเนินนโยบายในการผลักดันเกษตรอินทรีย์ในทุก ๆ ระดับ ต้องแสวงหาหน่วยงานที่จะสนับสนุนการผลิต ทั้งสนับสนุนด้านความรู้ เทคโนโลยีตลอดจนถึงแหล่งรับซื้อผลผลิต และผลักดันให้แปลงผลิตพืชอินทรีย์และผลผลิตเกษตรอินทรีย์ได้รับการรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4) สร้างเกษตรกรต้นแบบให้เป็นวิทยากรประจำชุมชน และสร้างศูนย์การเรียนรู้ชุมชนด้านเกษตรอินทรีย์ และ 5) จัดทำธรรมนูญชุมชนด้านเกษตรอินทรีย์ และจากการดำเนินตามแนวทางดังกล่าวพบว่ามีจำนวนเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้นจาก 32 คน เป็น 298 คน

Article Details

How to Cite
[1]
จันทร์ตา ส., กาวีวงศ์ จ., ทองธานี ป., เลาลลิต เ. , ญานะ เ., โกเมศ ช. และ คณิตปัญญาเจริญ ว. 2020. กระบวนการขับเคลื่อนเพื่อเพิ่มจำนวนเกษตรกรในการทำเกษตรอินทรีย์ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนแม่มอก ตำบลแม่มอก อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 8, 2 (ก.ย. 2020), 428–437.
บท
บทความวิจัย

References

Benchasri, S. 2010. Organic agriculture in
Thailand. Thaksin University Journal 13(1): 78-88 (in Thai)
Jiumpanyarach, W. 2017. Sustainable
impacts on organic farmers in Thailand: lessons from small-scale farmers. Journal of Social science Srinakharinwirot University 20(20): 199-215. (in Thai)
Kawichai, P., P. Yosssuk., S. Kaewthip and C.
Boonrahong. 2015. Factors affecting development of organic agriculture policy of local administrative organization: Cases studies of Mae Tha Tambon administrative organization. Mae on district and Luang Nuae Tambon municipality, Doi Saket district, Chiangmai province. Journal of Community Development and Life Quality 5(1): 142-154 (in Thai)
Mingchai. C. and P. Yossuck, 2508. Thai
Organic farming: policy context and content analysis. Pp.461-468. In Proceedings of 46Th Kasetsart University Annual Conference: Education Humanities and Social Sciences Economics and Business Administration Agriculture and Home Economics. Kasetsart University, Bangkok. (in Thai)
National Bureau of Agricultural Commodity
and Food Standards. 1971. Organic agriculture part 1: The production, processing, labeling and marketing or produce and produce from organic agriculture. National Bureau
of Agricultural Commodity and Food Standards, Bangkok, Thailand. 77 p. (in Thai)
National organic farming development
committee. 2017. Strategy of national organic farming development. Office of Agricultural Economics. Bangkok, Thailand. 86 p. (In Thai)
Pompranee, P. 2015. The empowerment of
sustainable agriculture system by communities participation art the Kok-Chang village, Laem-Bua sub-district, Nakhon Chaisri district, Nakhon Pathom province. Area Based Development Research Journal 7(1): 59-73 (in Thai)
Yossuk, P. and P. Kawichai. 2018. Problems
and appropriate approaches to implementing organic agriculture policy in Thailand. Journal of Community Development and Life Quality 5(1): 129-141 (in Thai)