ศักยภาพทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารคลีน ของวัยรุ่นในจังหวัดเชียงราย

Main Article Content

ศิรินาฏ จันทนะเปลิน
ณิชพัณณ์ ปิตินิยมโรจน์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารคลีน และศึกษาศักยภาพ การตลาดที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารคลีน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน คือ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson correlation) ผลการศึกษา พบว่า วัยรุ่นที่บริโภคอาหารคลีนส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 21-24 ปี พักอาศัยอยู่หอพักภายนอกมหาวิทยาลัย มีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพคือ ออกกำลังกาย และเข้าฟิตเนสเป็นประจำ  ด้านพฤติกรรมการบริโภคอาหารคลีนพบว่า บุคคลที่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจบริโภคอาหารคลีนคือแฟน และจะบริโภคในช่วงเย็น เลือกปรุงอาหารคลีนเอง รองลงมา ซื้อจากฟิตเนส โดยเลือกอาหารคลีนที่มีรสชาติถูกปากกับตนเอง  และศึกษาข้อมูลอาหารคลีนผ่านสื่อออนไลน์  ผลการศึกษาความสัมพันธ์ พบว่า ศักยภาพด้านช่องทางการจัดจำหน่ายมีความสัมพันธ์ในทางเดียวกับความถี่ในการบริโภคอาหารคลีน  ส่วนศักยภาพด้านราคามีความสัมพันธ์ทางตรงกันข้ามกับค่าใช้จ่ายในการบริโภคอาหารคลีน

Article Details

How to Cite
[1]
จันทนะเปลิน ศ. และ ปิตินิยมโรจน์ ณ. 2020. ศักยภาพทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารคลีน ของวัยรุ่นในจังหวัดเชียงราย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 8, 2 (ก.ย. 2020), 377–388.
บท
บทความวิจัย

References

Chamchoy K., K. Srisukho, Y. Chalermchat, N. Kitsopee, N. Thammason and C. Wilamas. 2017. Social factors and lifestyle related to clean food purchasing intentions of consumers in Phra Nakhon Si Ayutthaya province. RMUTSB Academic Journal (Humanities and Social Sciences) 2(2): 116-125. (In Thai)
Khonkla A., M. Kupatipatnukul, P. Tanadkid, S. Kumyod, and S. WongJun. 2016. Marketing mix affecting product selection dietary supplements of consumers in Phayao municipality. The Journal of Pacific Institute of Management Science 2(1): 33-44. (in Thai)
Nithitantiwat P. and W. Udomsapaya. 2017. Food consumption behavior of Thai adolescents, impacts and solutions. Journal of Phrapoklao nursing college 28(1): 122-128. (in Thai)
Phatlom, T. and K. Mongkol. 2015. Consumer s’ behavior on buying clean food via E-commerce in Bangkok. Burapha Journal of Business Management Burapha University 4(2): 6-21. (in Thai)
Prayalaw, N. and L. Manmart. 2015. Factors affecting Consumers’ purchasing decision in food product of One Tambon One Product project produced in Khon Kaen province. KKU Research Journal (Graduate studies) of Humanities and Social Sciences 3(1): 38-51. (in Thai)
Pungmai A. and C. Thongjeen. 2018. Factors affecting the decision to buy clean food in Bangkok. Graduate School Conference 2018 of Suan Sunandha Rajabhat University 2(1): 983-990. (in Thai)
Ruangying J., S. Jorajit and K. Janyam. 2016. Food consumption behavior of adolescents in Songkhla Province: Synthesis of literacy and factors influencing food consumption behavior. Journal of Liberal Arts Prince of Songkla University 8(1): 245-264. (in Thai)
Saimek, M. 2016. The relationship between breakfast behavior and learning efficiency. Burapha Journal of Business Management, Faculty of Management and Tourism Burapha University 4(2): 22-33. (in Thai)
Samutachak, B. and M. Kanchanachitra. 2014. What Drives Consumerism in Thai Youth?. Thammasat Journal 33(1): 46-69. (in Thai)
Waratornpaibool, T. 2014. Consumption behavior: Consumerism food and health-conscious food. Panyapiwat Journal 5(2): 255-264. (in Thai)
Wongpoom A. and T. Noythonglek. 2016. Effect of perceived value and marketing mix toward the consumer’s buying behavior for dietary supplement in Muang district, Lampang province. Sakon Nakhon Graduate Studies Journal 13(60): 213-224. (in Thai)