การพัฒนาการตลาดภายใต้แนวคิดไทยแลนด์ 4.0 สู่การเป็น Premium OTOP ของกลุ่มหัตถกรรมจักสานไม้ไผ่ ชุมชนบ้านป่าบง อ.สารภี จ.เชียงใหม่

Main Article Content

อาชว์บารมี มณีตระกูลทอง
ฑริดา ใบเกษม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ได้ทำการศึกษาและพัฒนาส่วนประสมทางการตลาดของกลุ่มหัตถกรรมจักสานไม้ไผ่ เพื่อสร้างแนวทางพัฒนาการตลาดในการตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย อีกทั้งยังส่งเสริมความสามารถทางการแข่งขันสู่การเป็น premium OTOP ภายใต้แนวคิดไทยแลนด์ 4.0 ของกลุ่มหัตถกรรมจักสานไม้ไผ่ ชุมชนบ้านป่าบง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่  การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจำนวน 20 ราย การลงพื้นที่สังเกต อีกทั้งการสำรวจโดยแบบสอบถามจำนวน 427 ชุดกับชาวไทยและชาวต่างชาติ รวมถึงศึกษาข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ เพื่อจัดทำแนวทางพัฒนา การตลาดของกลุ่มหัตถกรรมจักสานไม้ไผ่  ชุมชนบ้านป่าบง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ภายใต้แนวคิดไทยแลนด์ 4.0 ผลการศึกษาพบว่า ด้านผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่ของบ้านป่าบง มีความโดดเด่น มีความประณีต พิถีพิถัน เป็นที่ยอมรับในตลาดเฉพาะกลุ่ม แต่ทว่ายังขาดการประชาสัมพันธ์เพื่อพัฒนาขยายตลาดให้กว้างขึ้น รวมทั้งผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ จึงขาดการนำนวัตกรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสาร การขนส่งสินค้า เป็นต้น ขณะที่ผู้ผลิตควรกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ตามสัญลักษณ์ด้านวัฒนธรรม (positioning by cultural symbols) อีกทั้งควรนำคนรุ่นใหม่มาสานต่อ และช่วยพัฒนาตลาดให้เข้มแข็งมากขึ้น เพื่อความต่อเนื่องและยั่งยืนยิ่งขึ้น

Article Details

How to Cite
[1]
มณีตระกูลทอง อ. และ ใบเกษม ฑ. 2020. การพัฒนาการตลาดภายใต้แนวคิดไทยแลนด์ 4.0 สู่การเป็น Premium OTOP ของกลุ่มหัตถกรรมจักสานไม้ไผ่ ชุมชนบ้านป่าบง อ.สารภี จ.เชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 8, 1 (ก.ย. 2020), 227–237.
บท
บทความวิจัย

References

Chaipinchana, P. 2016. Competitive advantage strategy concerning to creative economy of ceramic products group in Chiang Mai province. Journal of Community Development and Life Quality 5(3): 526-534. (in Thai)
Chiarakul, T. 2014. The problems and the adaptation of OTOP to AEC. Executive Journal 34 (1): 177-191. (in Thai)
Knowledge Management Institution. 2016. Blueprint Thailand 4.0. (Online). Available: http:/ /www. nstda. or.th /th/nstda-doc-archives/thailand-40/11625-blueprint-thailand-4. (April 18, 2018) (in Thai)
Kunpluem, P. 2017. A development of knowledge management process for local wisdom: A case study of Eastern OTOP groups. Journal of Politics, Administration and Law 9(3): 273-295. (in Thai)
Phakamach, V. 2018. OTOP product development of occupational group to AEC: A case study of Sai Miang herbal occupational group in Phetchabun province. pp.2110-2117. In: Proceedings of the XVII Graduate Studies of Northern Rajabhat University Network Conference. July 17th, 2017. Phitsanulok. (in Thai)
Punpon, P. and T. Promlai. 2017. Problems and development, product marketing entrepreneur of One Tambon One Product (1 to 5 star levels) in Khon Kaen province. College of Asian Scholars Journal 7 (Special Issue): 23-33. (in Thai)
Puttikanjanakul, A, V. Phattarowas and P.
Limpiangkanan. 2015. The operations development of One Tambon One Product (OTOP) to support the ASEAN economic community (AEC) of the entrepreneurs in Amphoe Hang Dong, Chiang Mai province. Journal of Management and Marketing Rajamangala University of Technology Thanyaburi 2(1): 75-85. (in Thai)
Srimaitree, M. and N. Chunhapinyokul. 2017.
Development of marketing activities for genius rice steamer of innovative woven community enterprise. Journal of Community Development and Life Quality 5(2): 215-225. (in Thai)
Sudasna Na Ayudhaya, B., P. Thanitbenjasith, S. Mekkaphat and M. Chalai. 2018. Development of handicrafts to promote Tawai Village community-based tourism. Thammasat University Journal 37(1): 125-148. (in Thai)
World Travel Tourism Council. 2019. Mobile
payments in travel and tourism: unlocking the potential. (Online). Available: https://www.wttc.org/ publications/2019/mobile-payments-in-travel-tourism/ (20 July 2019).