ประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเกี่ยวกับการสร้างสมรรถนะชุมชน ในการแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออก: ผลการสนทนากลุ่ม

Main Article Content

ทิพวรรณ สินบุญยก
อุดมศักดิ์ แซ่โง้ว
จรวย สุวรรณบำรุง

บทคัดย่อ

การสร้างสมรรถนะชุมชนเป็นกลยุทธ์หนึ่งในการแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกของประเทศไทย วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่ออธิบายประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการสร้างสมรรถนะชุมชนในการแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออก วิธีการวิจัยรูปแบบการวิจัยเชิงปรากฏการณ์วิทยา ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการทำสนทนากลุ่ม 4 กลุ่ม คือ อำเภอกาญจนดิษฐ์ 2 กลุ่ม อำเภอพระแสง 1 กลุ่ม อำเภอเวียงสระ 1 กลุ่ม และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม เลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจงจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่มีประสบการณ์แก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกของ 38 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลใน อำเภอกาญจนดิษฐ์ อำเภอพระแสง และอำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี  โดยมีแนวคำถามเกี่ยวกับการสร้างสมรรถนะชุมชนในการแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกในพื้นที่  วิเคราะห์ข้อมูลโดยประยุกต์ใช้วิธีการวิเคราะห์ประเด็น และตรวจสอบความน่าเชื่อถือด้วยการตรวจสอบข้อมูลกับวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องและการนำเสนอข้อมูลคำพูด ผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 38 คนจำแนกเป็นผู้หญิง 24 คน และผู้ชาย 14 คน พบว่า มีประสบการณ์รวม 5 ประเด็น ได้แก่ 1) “พบปัญหา จึงรู้สาเหตุของการเกิดโรคไข้เลือดออกในชุมชน” 2) “การป้องกันและควบคุมโรค เป็นมาตรการในการแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออก” 3) “เจ้าหน้าที่ต้องมีสมรรถนะที่หลากหลาย เพื่อแก้ปัญหาไข้เลือดออก” 4) “สร้างเสริมสมรรถนะ โดยนายอำเภอเป็นแม่ทัพ ขยับทั้งอำเภอ” และ 5) “ปัญหาโรคไข้เลือดออก ดำเนินการได้ต้องอาศัยภาคีเครือข่าย” สรุปและอภิปรายผลการวิจัย ประสบการณ์เกี่ยวกับการสร้างสมรรถนะชุมชนในการแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขแต่ละพื้นที่มีความหลากหลาย ช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องมีความเข้าใจและนำข้อมูลไปใช้เป็นฐานคิดของการแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกในพื้นที่นั้นๆ อย่างเหมาะสม

Article Details

How to Cite
[1]
สินบุญยก ท., แซ่โง้ว อ. และ สุวรรณบำรุง จ. 2021. ประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเกี่ยวกับการสร้างสมรรถนะชุมชน ในการแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออก: ผลการสนทนากลุ่ม. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 9, 2 (ก.พ. 2021), 223–233.
บท
บทความวิจัย

References

Arellano, C., L. Castro, R.E. Diaz-Caravantes, K.C. Ernst, M. Hayden and P. Reyes-Castro. 2015. Knowledge and beliefs about dengue transmission and their relationship with prevention practices in Hermosillo, Sonora. Journal of Frontiers in Public Health 3(142), doi: 10.3389/fpubh.2015.001 42

Chinda, A. 2017. Factors effecting performance in control and prevention of dengue hemorrhagic fever of village health volunteers in Phangnga province. Region 11 Medical Journal 31(3): 555-568. (in Thai)

Chirawatkul, S. 2011. Qualitative Research in Health Science. Witthayaphat Publishing, Bangkok. 313 p. (in Thai)

Department of Disease Control. 2017. Forecast of dengue fever in Thailand. (Online). Available: http:// www.ddc.moph.go.th/uploads/ckeditor/6f4922f45568161a8cdf4ad2299f6d23/files/Dangue/Situation/2561/DHF%2049.pdf (December 18, 2017). (in Thai)

Li, Q., H. Ren., L. Zheng., W. Cao, A. Zhang, D. Zhuang, L. Lu and H. Jiang. 2017. ‘Ecological ‘niche modeling identifies fine-scale areas at high risk of dengue fever in the Pearl River Delta, China. International Journal of Environmental Research and Public Health 14(6): 619, doi: 10.3390/ijerph14060619

Mopraman, P. 2018. Problem situation and factors related to community capacity level for dengue problem solution. Region 11 Medical Journal 32(2): 1033-1042. (in Thai)

Wong, L.P. and S. AbuBakar. 2013. Health beliefs and practices related to Dengue fever: A focus group study. PLOS Neglected Tropical Diseases 7(7): e2310, doi: 10.1371/ journal.pntd.0002310

Sangawong, S. 2016. Local legislation development model on Dengue vector control in Khueang Nai district, Ubon Ratchathani province. Department of Disease Control, Bangkok: 133 p. (in Thai)

Surat Thani Province Health Official. 2016. Forecast of dengue fever: (Online). Available: http://www.stpho.go.th /0_2562/01_Oct/dhf3861.pdf (July 1, 2018). (in Thai)

Suwanbamrung, C., A. Dumpan, S. Thammapalo, R. Jumrongtong and P. Phidkeang. 2011. A model of community capacity building for sustainable dengue problem solution in Southern Thailand. Journal of Scientific Research an Academic Publisher 3(9): 584-601. (in Thai)

Suwanbamrung, C., A. Ingard, S. Rattanasuwan, S. Supkeaw, P. Kleawaom and P. Chamthong. 2013. Problem situation and factors relating to community in capacity level for sustainable dengue problem solution risk area, Mueang Nakhon Si Thammarat district, Nakhon Si Thammarat province. National Research Council of Thailand (NRCT). 1-175 (in Thai)

Suwanbamrung, C, Ch. Thuethong, T. Eksirinimit and S. Thongchan. 2017. The development of larval indices surveillance system for Dengue prevention in high risk district, Nakhon Si Thammarat Province. Journal of Community Development and Life Quality 5(1): 58-76. (in Thai)

Suwanbamrung, C., S. Thongjan, C. Ponprasert, P. Srituka, B. Tapkun and P. Mopraman. 2018. Chaiya model the network of Aedes Aegypti larval indices surveillance system for sustainable dengue solution: The results from transmitting technology to community. Area Based Development Research Journal 10(1): 70-87. (in Thai)