ศักยภาพในการลดปริมาณขยะชุมชนและความต้องการด้านสวัสดิการของคนเก็บขยะ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปริมาณ องค์ประกอบของขยะที่เกิดจากการเก็บของคนเก็บขยะ รายได้ทางเศรษฐกิจจากการเก็บขยะขาย และความต้องการด้านสวัสดิการของคนเก็บขยะ ณ สถานที่ หลุมฝังกลบขยะอ่างห้วยแกง จังหวัดกาฬสินธุ์ ทำการศึกษา ปริมาณ และองค์ประกอบของขยะ การสัมภาษณ์เชิงลึกกับคนเก็บขยะ จำนวน 16 ครอบครัว ผลการวิจัยพบว่า คนเก็บขยะทำการคัดและเก็บขยะได้ปริมาณเฉลี่ย 3,439 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ มีองค์ประกอบได้แก่ ขวดใส ขวดขาว ขวดแดง ขวดโค้ก กระป๋องกาแฟ พลาสติกสี พลาสติกแข็ง กระดาษสี กระดาษแข็งและถุงปุ๋ย คิดเป็นร้อยละ 9.78, 15.63, 14.97, 7.03, 7.53, 9.29, 10.94, 10.00, 8.48 และร้อยละ 5.68 ตามลำดับ และสามารถลดปริมาณขยะได้ 13,756 กิโลกรัม ต่อเดือน โดยมีรายได้จากการขายขยะที่เก็บได้เฉลี่ย 3,885 บาทต่อเดือนต่อครอบครัว คนเก็บขยะมีความต้องการให้ภาครัฐเข้ามาดูแลเกี่ยวกับสวัสดิการด้านสุขภาพ เช่น การฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก และการฉีดพ่นยาฆ่าแมลงวัน
Article Details
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
Abd, M.M., E.-Salam and G.A. Abu-Zuid. 2015. Impact of landfill leachate on the groundwater quality: A case study in Egypt. Journal of Advance Research 6(4): 579-586.
Department of Pollution Control. 2018. Reporting on pollution situation of Thailand 2559. (Online). Available: http://www.pcd.go.th/public/Publications/print_report.cfm (May 10, 2018). (in Thai)
Hardati, P., R. Rijanta and S. Ritohardoyo. 2016. Scavengers role in sustainable waste management. Case studies in Ngempon subdistrict, district Bergas, Semarang Regency, Central Java province. Modern Environmental Science and Engineering 2(4): 262-267.
Mwanza, B.G., C. Mbohwa, A. Telukdarie and C. Medoh. 2019. Value addition to plastic solid wastes: Informal waste collectors’ perspective. Procedia Manufacturing 33: 391-397.
Nyathi, S., J.O. Olowoyo and A. Oludare. 2018. Perception of scavengers and occupational health hazards associated with scavenging from a waste dumpsite in Pretoria, South Africa. Journal of Environmental and Public Health, doi: 10.1155/2018/9458156.
Owusu-Nimo, F., S. Oduro-Kwarteng, H. Essandoh F. Wayo and M. Shamudeen. 2019. Characteristics and management of landfill solid waste in Kumasi, Ghana. Scientific African, doi: 10.1016/j.sciaf. 2019.e00052
Pearce, D. and R.K. Turner. 1994. Economics and solid waste management in the developing world. CSERGE, working paper wm 94-05. Economic and Social Research council, Saindon, UK.
Popoola O.E., A.O. Popoola and D. Purchase. 2019. Levels of awareness and concentrations of heavy metals in the blood of electronic waste scavengers in Nigeria. Journal of Health and Pollution 9(21): 190311, doi: 10.5696/2516-9654-9.21.190311.
Sembiring, E. and V. Nitivattananon. 2010. Sustainable solid waste management toward an inclusive society: Integration of the informal sector. Resources, Conservation and Recycling 54(11): 802-809.
Srisatit, T. 2015. Waste Management Engineering. Global Co.Ltd., Bangkok. 939 p. (in Thai)
Thirarattanasunthon, P., W. Kwanhian and A. Yaowayod. 2017. Health impact assessment and quality of life among scavengers exposed to solid waste in a municipality dump site, Nakhon Si Thammarat province, Thailand. Journal of Health Science 26(4): 680-689. (in Thai)