การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนบนฐานทุนทางวัฒนธรรมลาวแง่ว ตําบลทองเอน อําเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี

Main Article Content

พนิตสุภา ธรรมประมวล
กาสัก เต๊ะขันหมาก

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนบนฐานทุนทางวัฒนธรรมลาวแง้ว ตำบลทองเอน อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนสำคัญในการพัฒนา โดยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ 1) การศึกษาทุนทางวัฒนธรรมลาวแง้ว ตำบลทองเอน ใช้การวิจัยเชิงสำรวจ โดยการประยุกต์ใช้การวิจัยภาคสนาม ประชากร คือ ผู้ทรงภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม และปราชญ์/ผู้รู้ชาวบ้าน/ผู้นำท้องถิ่น วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา 2) การศึกษาศักยภาพและความพร้อมในการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนของชุมชนลาวแง้ว ใช้การวิจัยเชิงสำรวจ โดยการประยุกต์ใช้การวิจัยภาคสนาม ประชากร คือ ผู้ทรงภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ปราชญ์/ผู้รู้ชาวบ้าน/ผู้นำท้องถิ่น และผู้เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา 3) การพัฒนาศักยภาพและความพร้อมในการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนของชุมชนลาวแง้ว ตำบลทองเอน ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ประชากร คือ ไตรพลังในการพัฒนาได้แก่ ภาคีวิชาการ ภาคีชุมชน และภาคีนโยบาย/ผู้สนับสนุน โดยประยุกต์ใช้เทคนิคการประชุมเชิงสร้างสรรค์ โดยใช้วงจรคุณภาพ P-D-C-A แล้วร่วมกันสรุป ถอดบทเรียน และจัดการความรู้ และ 4) การจัดทำแผนการท่องเที่ยวโดยชุมชนบนฐานทุนทางวัฒนธรรมลาวแง้ว ตำบลทองเอน ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ประชากร คือ ไตรพลังในการพัฒนาได้แก่ ภาคีวิชาการ ภาคีชุมชน และภาคีนโยบาย/ผู้สนับสนุน โดยประยุกต์ใช้เทคนิคการประชุมเชิงสร้างสรรค์ โดยใช้วงจรคุณภาพ P-D-C-A แล้วร่วมกันสรุป ถอดบทเรียน และจัดการความรู้ ผลการวิจัยที่สำคัญ พบว่า 1) ทุนทางวัฒนธรรมชาวลาวแง้ว ตำบลทองเอน อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ได้แก่ (1) มีพุทธศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ (2) ภาษาลาวแง้ว (3) อาชีพหลักของลาวแง้ว (4) ประเพณีชาวลาวแง้วอันทรงคุณค่า (5) วิถีชีวิต และ (6) อาหารพื้นบ้าน 2) ศักยภาพทุนทางวัฒนธรรมของชุมชนลาวแง้ว ตำบลทองเอน มีโอกาสและความแข็งแกร่งทางธุรกิจการท่องเที่ยว 3) สามารถพัฒนาศักยภาพและความพร้อมในการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนของชุมชนลาวแง้ว ตำบลทองเอน อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี โดยใช้ 4 กลยุทธ์ คือ (1) การพัฒนาส่งเสริมการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเพื่อเรียนรู้ประเพณีวัฒนธรรมของชุมชนลาวแง้ว ตำบลทองเอน (2) การพัฒนาการบุคลากรผู้ให้ความรู้ในประเพณีวัฒนธรรมของชุมชนลาวแง้ว (3) การพัฒนาปรับปรุงภูมิทัศน์ของสถานที่ท่องเที่ยวชุมชน และ (4) การอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาศักยภาพทุนทางวัฒนธรรมของชุมชนลาวแง้ว และ 4) สามารถจัดทำแผนการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยชุมชนบนฐานทุนทางวัฒนธรรมลาวแง้ว ตำบลทองเอน อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ได้ 3 แผน คือ (1) สำหรับกลุ่มเยาวชน “เที่ยวบ้านไทย-ลาวแง้วทองเอนกันเด้อ” (2) สำหรับบุคคลทั่วไป “ทริปเที่ยวทองเอนอินเทรนจริงเหรอ” และ (3) สำหรับผู้สูงอายุ “เที่ยวทองเอนสุดสุดฟิน”


 

Article Details

How to Cite
[1]
ธรรมประมวล พ. และ เต๊ะขันหมาก ก. 2020. การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนบนฐานทุนทางวัฒนธรรมลาวแง่ว ตําบลทองเอน อําเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 8, 2 (พ.ค. 2020), 389–402.
บท
บทความวิจัย

References

Buddaduang, A. and S. Chai-Amporn. 2012. The ability to apply social capital of Ban Bang Prai community, Bang Khonthi district, Samut Songkhram province. Journal of the Association of Researchers17(1): 29-41. (in Thai).

Aneksuk, B. and W. Panyavuttrakul. 2016. The development of tourism type and tourism product in Phitsanulok province for carrying Thai and ASEAN tourists. Journal of Social Sciences, Naresuan University12(2): 217-243. (in Thai).

Champawan, S. and T. Promburom. 2015. Guidelines for capacity development and community-based cultural tourism management in Tambon Ban Ruean, Pasang district, Lamphun province. Journal of Community Development and Life Quality 3(1): 5-16. (in Thai).

Kamonsakdavikul, S. 2013. Development in community-based ‘New Theory’ agro-tourism management at Sao Hai district, Saraburi province. Journal of Community Development and Life Quality 1(1): 53-65. (in Thai).

Pengnorapat, U. 2017. The strategies for the developmentof the cultural tourism potentiality in Sisaket province.Journal of Thai Hospitality and Tourism 12(2): 28-43. (in Thai).

Wisutthiluk, S. 2013. Model of creative tourism, important tools leading to sustainablecommunitiesThammasat Journal. 31(2).(in Thai).

Tekhanmag, K. and P. Thampramuan. 2015. Strategic development of cultural capital potential in promoting tourism for creative economy in Ang Thong province. Thepsatri Rajabhat University Lop Buri. (in Thai).

Wetchaninnart, W. 2016. The development of marketing mix of historic sites to promote sustainable tourism in Udon Thani province. Journal of Community Development and LifeQuality 4(3): 375-388. (in Thai).