การศึกษาแนวทางในการพัฒนารูปแบบระบบขนส่งรองด้วยรถโดยสารไฟฟ้าล้อยาง ในเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี

Main Article Content

ภาวิณี เอี่ยมตระกูล
สรารัตน์ ฉายพงษ์

บทคัดย่อ

การศึกษาแนวทางในการพัฒนารูปแบบระบบขนส่งรองด้วยรถโดยสารไฟฟ้าล้อยางในเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรีโดยได้ดำเนินการวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ทัศนคติของกลุ่มตัวอย่างต่อการเลือกรูปแบบความเหมาะสมของการพัฒนารถโดยสารโดยสารไฟฟ้าต้นแบบ โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ในการสอบถามกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,200 ชุด ซึ่งเป็นวิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจงโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิจากขนาดของประชากร ซึ่งแบ่งประเภทของแบบสอบถามตามรูปแบบการเดินทางของผู้ตอบแบบสอบถามกลุ่มละ 400 ชุด ทั้ง 3 กลุ่มผู้สัญจรในพื้นที่เมืองพัทยาด้วยการเดินทางประเภทที่แตกต่างกัน คือ ชุดที่ 1 รถยนต์ ชุดที่ 2 รถจักรยานยนต์ ชุดที่ 3 รถสองแถวหรือรถประจำทางอื่น ๆ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกใช้ระบบขนส่งสาธารณะทางเลือกโดยเทียบจากระบบการคมนาคมเดิมที่ใช้ ซึ่งผลการศึกษาพบว่าประชาชนกว่าร้อยละ 47.01 เดินทางด้วยรถยนต์ส่วนบุคคล รองลงมาคือ รถจักรยานยนต์ และรถสองแถว ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาทางเลือกการเดินทางในอนาคตที่ได้กำหนดขึ้นภายใต้เงื่อนไขที่แตกต่างกันเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยในการเปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทางจากรถยนต์ส่วนบุคคลและรถจักรยานยนต์ ไปสู่ระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น โดยผลการวิเคราะห์พบว่า ประชาชนยังคงตัดสินใจเลือกใช้รูปแบบการเดินทางตามเดิม แต่หากมีการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะด้วยรถประจำทางประอากาศมีปัจจัยทางด้านราคาและเวลาในการเดินทางที่น้อยและค่าใช้จ่ายที่ประหยัดกว่าจะส่งผลต่อการตัดสินใจของประชาชนที่มีแนวโน้มที่อาจตัดสินใจเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางมาสู่ระบบขนส่งสาธารณะมากยิ่งขึ้น

Article Details

How to Cite
[1]
เอี่ยมตระกูล ภ. และ ฉายพงษ์ ส. 2019. การศึกษาแนวทางในการพัฒนารูปแบบระบบขนส่งรองด้วยรถโดยสารไฟฟ้าล้อยาง ในเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 7, 3 (ก.ย. 2019), 328–338.
บท
บทความวิจัย

References

Ben-Akiva ME & Morikawa T (1990) Estimation of switching models from revealed prefer- ences and stated intentions. Transportation Research 24A(6): 485-495
Ben-Akiva, M. and Lerman S.R. (1993) Discrete choice analysis: Theory and application to travel
demand. USA: MIT press, Cambridge
Berry, B. J. L., and Horton, F. E., (1970). Geographic perspective on Urban system. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-hall.
Daniel, A. (2010). Tourism and urban public transport: Holding demand pressure under supply constraints, Tourism Management, Vol.31, PP.425-433.
Debbie Lang, Damian Collins, Robin Kearns. Understanding modal choice for the trip to school. School of Environment, University of Auckland, Private Bag 92019, Auckland, New Zealand, 2010.
Hensher D. A., (1994). Stated preference analysis of travel choices: the state of practice. Transportion21: 107-133
Janet, E. Dickinson. (2008). Representations of tourism transport problems in a rural destination National Parks, Tourism Management, Vol.29, PP.1110-1121.
Ortúzar, J. d. D. and Willumsen, L. G. (2011) References, in Modelling Transport, Fourth Edition, John Wiley & Sons, Ltd, Chichester, UK. doi: 10.1002/9781119993308.refs 
Transport Department, Hong Kong (2001) Agreement No. CE 72/99, Feasibility Study of
Introducing a Trolleybus System in Hong Kong. Available at
http://www.thb.gov.hk/eng/psp/publications/transport/studies/fsitshk.pdf
Vrtic, M. and Axhausen, K W., (2002). The impact of tilting trains in Switzerland: A route choice model of regional- and long distance public transport trips. Arbeitsberichte Verkehrsund Raumplanung, 128 Institut für Verkehrsplanung und Transportsysteme, ETH Zürich, Zürich.
Vrtic, M., Schuessler, N., Erath, A., Axhausen, K.W., (2007). Route, mode and departure time choice behavior in the presence of mobility pricing. Proceedings of the 86th Annual Meeting of the Transportation Research Board, January 2007, Washington, D.C.
Vukan R. V., (2007). Urban Transit System and Technology.
Yamane, Taro, (1967). Statistics, An Introductory Analysis, 2nd ed., New York, Harper and Row.
สำนักงานนโยบายแลแผนพลังงาน, (2559). แผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2558-2579 http://www.eppo.go.th/index.php/th/plan-policy/tieb/eep