การคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ กรณีศึกษา: การทำตะเกียงน้ำมันพืชแบบโบราณของ ชุมชนปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ กรณีศึกษา การทำตะเกียงน้ำมันพืชแบบโบราณของชุมชนปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์เกี่ยวกับการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นในฐานะที่เป็นรากเหง้าของชุมชน 2) ศึกษาการปรับตัวของภูมิปัญญาการทำตะเกียงน้ำมันพืชแบบโบราณ เพื่อหาข้อสรุปว่า ชุมชนมีการตั้งรับหรือปรับตัวในภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเองอย่างไรต่อความเคลื่อนไหวภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ โดยกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนในตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง ประเภทกลุ่มผู้ผลิตตะเกียงน้ำมันพืชแบบโบราณ โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลหลายวิธีผสมผสานกัน ได้แก่ การวิเคราะห์จากเอกสารงานวิจัย การเก็บข้อมูลภาคสนามจากการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม การสังเกตการณ์ แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยสรุปว่า สถานการณ์เกี่ยวกับการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนปงยางคก เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยภายนอกและภายในชุมชน ซึ่งส่งผลต่อการปรับตัวของภูมิปัญญาด้วยการสร้างความหมายของ “ความโบราณ” ผ่าน “ตำนาน”
Article Details
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
นิยพรรณ (ผลวัฒนะ) วรรณศิริ. 2550. มานุษยวิทยาสังคมและวัฒนธรรม. เอ็กซเปอร์เน็ท, กรุงเทพฯ.
บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ และเจษฎ์ โทณะวณิก. 2548. โครงการสัมมนาเรื่องบทบาท/ท่าทีของไทยต่อการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่น. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.measwatch.org/project3050 (10 มกราคม 2551).
เสน่ห์ จามริก. 2551. เศรษฐกิจพอเพียงในกระแสโลกาภิวัตน์. สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.
สุกัญญา ดวงอุปมา และ ภัทรพร ภาระนาค. 2556. การถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นการทอเสื่อกก. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 1(3): 195-203.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2549. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554). (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.Ldd.go.th/ Thaihtml/05022007/PDF01/index.htm (10 มกราคม 2551).
อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. 2546. อัตลักษณ์: การทบทวนทฤษฎีและกรอบแนวคิด. คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาสังคมวิทยา สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.
อานันท์ กาญจนพันธุ์. 2542. การวิจัยในมิติวัฒนธรรม. โรงพิมพ์มิ่งเมือง, เชียงใหม่.