การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพชุมชน โดยใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านด้วยสมุนไพร: กรณีศึกษา บ้านนาดอกคำ ตำบลนาดอกคำ อำเภอนาด้วง จังหวัดเลย

Main Article Content

กานต์ธิดา แก้วอาษา
ภัทรธิรา ผลงาม

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ความรู้หมอพื้นบ้าน บ้านนาดอกคำ จังหวัดเลย 2) พัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพชุมชน โดยใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านด้วยสมุนไพร 3) นำรูปแบบในการส่งเสริมสุขภาพชุมชน สู่การปฏิบัติ และประเมินผล โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแนวทางการสนทนากลุ่ม และประชุมระดมความคิดเห็น กลุ่มตัวอย่างคือ  หมอพื้นบ้าน จำนวน 10 คน สมาชิกในชุมชน กลุ่มเครือข่ายหมอพื้นบ้านและภาคีที่เกี่ยวข้องด้านสุขภาพ จำนวน 90 คน ผลการศึกษาพบว่า หมอพื้นบ้านบ้านนาดอกคำ ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้สมุนไพรและการรักษามาจากบรรพบุรุษ พระ  ตำรายาสมุนไพรโบราณ มีประสบการณ์ในการรักษาไม่ต่ำกว่า 20 ปี พัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพชุมชน มีการร่วมคิด ร่วมลงมือปฏิบัติ ถ่ายทอดความรู้โดยหมอพื้นบ้าน แก่ชุมชน วัดและโรงเรียน เกิดกระบวนการเรียนรู้ สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในชุมชน  ส่งเสริมทักษะความรู้ส่งเสริมการปลูกและใช้สมุนไพรอย่างจริงจังในชุมชนให้กลายเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมองค์ความรู้ภูมิปัญญาสมุนไพร สร้างกระบวนการเรียนรู้ พัฒนาภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพร ใช้ดูแลสุขภาพของคนในชุมชนอย่างยั่งยืน

Article Details

How to Cite
[1]
แก้วอาษา ก. และ ผลงาม .ภ. 2019. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพชุมชน โดยใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านด้วยสมุนไพร: กรณีศึกษา บ้านนาดอกคำ ตำบลนาดอกคำ อำเภอนาด้วง จังหวัดเลย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 7, 2 (พ.ค. 2019), 144–155.
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงสาธารณสุข .2556. การจัดทาแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบบริการสุขภาพแผนสุขภาพจังหวัดเครือข่าย:CUP. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

จักรพงษ์ แพทย์หลักฟ้า วิรุณ ตั้ง เจริญ พฤทธิ์ ศุภเศรษฐศิริ และวิชัย วงษ์ใหญ่.2556.การมีส่วนร่วมของชุมชนเมืองในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม: กรณีศึกษาชุมชนลาดพร้าว. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ 14 (2): 35 – 48.

ดารณี อ่อนชมจันทร์. 2548. การส่งเสริมพัฒนาการนวดพื้นบ้านในการดูแลสุขภาพและเสริมสร้างรายได้ชุมชน. นนทบุรี: กลุ่มงานการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข.

นัยนา หนูนิล.2543. รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการส่งเสริมสุขภาพ วารสารสาธารณสุขมูลฐาน ภาคใต้ ปีที่ 14 ฉบับที่ 3 เมษายน-มิถุนายน 2543:3.

พชรมน พรหมศวร; และ ปิยธิดา คูหิรัญญรัตน์. (2554). สัดส่วนและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการแสวงหาบริการด้านสุขภาพของผู้ป่วยที่มารับบริการที่คลินิกแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามเป็นลำดับแรก. รายงานการประชุมวิชาการครั้งที่ 27. Srinagarind Med Journal. 26(Supplement): 236-239.

พระสุริยา มาต์คำ.2552. การพัฒนากระบวนการสืบทอดภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านในประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว.เลย: ยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

ภควรรณ ปัทมสุวรรณ .2559. การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศจังหวัดชัยภูมิ: กรณีศึกษา มอหินขาว. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 4 (2): 237-250.

ภัทรธิรา ผลงาม. 2555. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพชุมชนโดยใช้ภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านอีสาน. กรุงเทพ: สำนักบริหารโครงการวิจัยในอุดมศึกษาและพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ.

รัชนี จันทร์เกษและประพจน์ เภตรากาศ. 2559. การบูรณาการการแพทย์แผนไทย: สถานการณ์การให้บริการการแพทย์แผนไทย. กรุงเทพฯ: หน่วยปฏิบัติการวิจัยเภสัชศาสตร์สังคม กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สามารถ ใจเตี้ย สิวลี รัตนปัญญา รพีพร เทียมจันทร์ สมชาย แสนวงศ์ และพันนภา อุสาห์ใจ .2559.การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ชุมชนเพื่อการส่งเสริมวัฒนธรรมสุขภาพ : กรณีศึกษาลุ่มนํ้าลี้ จังหวัดลำพูน. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 4 (2): 284-296.

Pender, N. J. 1996. Health Promotion in Nursing Practice. Norwalk: Appleton & Lange
Williams, E.1976. Participation Management. Concepts, Theory, and Implementation, Georgia State
University, Atlanta.