สภาพแวดล้อมที่พึงประสงค์สำหรับการพัฒนาที่อยู่อาศัยภายใน หน่วยงานราชการ: กรณีศึกษากรมชลประทาน ปากเกร็ด

Main Article Content

กันต์ ปานประยูร
พิจักษณ์ หิญชีระนันท์
กัมปนาท ภักดีกุล
พัฒน สุวรรณสัมฤทธิ์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมที่พึงประสงค์สำหรับการพัฒนาที่อยู่อาศัยภายในกรมชลประทาน ปากเกร็ด และความสัมพันธ์ระหว่างระดับตำแหน่งงานกับสภาพแวดล้อมที่พึงประสงค์ โดยแบ่งสภาพแวดล้อมเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ทางกายภาพ ความปลอดภัย นันทนาการ และบริการ แล้วใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากผู้พักอาศัยภายในกรมชลประทาน ปากเกร็ด จำนวน 336 ตัวอย่าง ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคาดหวังในระดับสูงกับปัจจัยย่อยทางด้านการออกแบบอาคารที่อนุรักษ์พลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ขนาดที่พักเหมาะสม ความเป็นส่วนตัว พื้นที่สีเขียว สนามแบดมินตัน สนามเปตอง ร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหาร ส่วนสภาพแวดล้อมด้านอื่นอยู่ในระดับปานกลาง และพบว่า  ตำแหน่งงานที่สูงขึ้นจะมีความต้องการสภาพแวดล้อมที่พึงประสงค์เพิ่มมากขึ้น โดย 5 อันดับที่ต้องการมากที่สุด ได้แก่ สนามเด็กเล่น พื้นที่สีเขียว สนามเปตอง ระบบจัดการขยะ และบริการอินเทอร์เน็ตไร้สาย ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
[1]
ปานประยูร ก., หิญชีระนันท์ พ., ภักดีกุล ก. และ สุวรรณสัมฤทธิ์ พ. 2018. สภาพแวดล้อมที่พึงประสงค์สำหรับการพัฒนาที่อยู่อาศัยภายใน หน่วยงานราชการ: กรณีศึกษากรมชลประทาน ปากเกร็ด. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 6, 2 (พ.ค. 2018), 403–426.
บท
บทความวิจัย

References

เกรียงไกร เกิดศิริ. 2554. สถานภาพของที่อยู่อาศัยในท้องถิ่นภาคกลาง: ศักยภาพ ปัญหา และแนวทางการพัฒนา. วารหน้าจั่ว: สถาปัตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดล้อม. 25(1): 331-363.

ชาลี มธุรการ. 2557. การประเมินประสิทธิภาพสภาพแวดล้อมภายในอาคารอยู่อาศัยรวม (อพาร์ทเม้นท์) หลังการเข้าครอบครองพื้นที่: กรณีศึกษา คลาวด์ นาย เพลส อพาร์ทเม้นท์ กรุงเทพฯ. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล. 18(1): 140-153.
ถิรวุฒิ ธนวิชเพียรพาก จรูญศรี มาดิลกโกวิท และ วิรุจ กิจนันทวิวัฒน์. 2560. วารสารครุศาสตร์. 45(3): 66-82.

ทิพย์ฆัมพร เกษโกมล. 2554. การสร้างแบบวัดจิตลักษณะและพฤติกรรมแบบประมาณค่า. วารสารพยาบาลตำรวจ 3(1): 1-11.

บังอร ศิริสัญลักษณ์. 2560. ทุนมนุษย์ของเจนเนอเรชั่นซีกับความพร้อมในการอยู่ร่วมในสังคมผู้สูงอายุ. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 5(1): 36-45.

รัชฎาทิพย์ อุปถัมภ์ประชา. 2558. ความคิดเห็นต่อหลักธรรมาภิบาลของบริษัท จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 3(1): 69-79.

อรรถพล คนเพียร สุพรชัย ศิริโวหาร และ จุไรรัตน์ จุลจักรวัฒน์. 2558. การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัฐกับประชาชน ในที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ ส.ชม. 2257 ตำบลบ้านแปะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารบัณฑิตวิจัย 6(1): 147-163.

อาภา อรรถบูรณ์วงศ์ สันทัด เสริมศรี และ วิภาวี พิจิตบันดาล. 2553. รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตอบสนองของผู้ซื้อห้องชุดพักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารจันทรเกษมสาร 16(31): 98-106.

อุทัย ปริญญาสุทธินันท์. 2559. “สวัสดิการชุมชน” ความสมดุลระหว่างการให้และการรับ. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 4(3): 327-336.

Cronbach, L.J. and R.J. Shavelson. 2004. My current thoughts on coefficient alpha and successor procedures. Educational and Psychological Measurement 64(3): 391–418.

Katz, M.H. 2013. Multivariable Analysis – A Practical Guide for Clinicians. 3rd ed. 4th printing. Cambridge University Press, Cambridge. 234 p.

Koklic, M.K. and I. Vida. 2009. A strategic household purchase: Consumer house buying behavior. Managing Global Transitions 7(1): 75–96.

Hu, X., Chulasai, L. and Phuangsaichai, S. 2011. Hedonic Pricing Model for Housing Market in City of Kunming, the People’s Republic of China. CMU. Journal of Economics. 15(1): 144-165.

Yamane, T. 1973. Statistics, An Introductory Analysis, 3rd ed. Harper and Row, New York. 1130 p.