การพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้นำนักเรียนระดับประถมศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

Main Article Content

ณรงค์ชัย ธนกิจภาคิน
ชวิศ จิตรวิจารณ์
สมเกตุ อุทธโยธา
ชุฏิภัคศ์ เขมวิมุตติวงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้นำนักเรียนระดับประถมศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล  2)  เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้นำนักเรียนระดับประถมศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล  3)  เพื่อพัฒนาคู่มือการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้นำนักเรียนระดับประถมศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ สังเคราะห์ทฤษฎีจากผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ผู้ให้ข้อมูลด้านการศึกษา ได้แก่ ผู้นำนักเรียน และ ครู จำนวน 1,308 โรงเรียน ผู้อำนวยการโรงเรียนและครูในโรงเรียนรางวัลสภานักเรียนระดับชาติ จาก 6 ภาค 6  โรงเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหา แจกแจงความถี่ ร้อยละ ผู้ให้ข้อมูลด้านการสร้างรูปแบบในระยะที่ 2 ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญรางวัลระดับชาติด้านการพัฒนาผู้นำนักเรียน จำนวน 9 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการถอดเทปการสนทนากลุ่มย่อย ผู้ให้ข้อมูลด้านการพัฒนาคู่มือในระยะที่ 3 ได้แก่ ครูจำนวน 30 โรงเรียน วิเคราะห์ข้อมูลจากการศึกษาคู่มือโดยการหาประสิทธิผล EI และความพึงพอใจโดยแจกแจงความถี่
ร้อยละ ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1) คุณลักษณะของผู้นำนักเรียนระดับประถมศึกษาในศตวรรษที่ 21 ควรประกอบด้วย การรู้จักตนเองของผู้นำนักเรียน  การทำงานเป็นทีมของผู้นำนักเรียน  ทัศนคติในการเป็นผู้นำนักเรียน ความสัมพันธ์ของผู้นำนักเรียนกับเพื่อนสภา ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาผู้นำนักเรียน  คุณลักษณะของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง กระบวนงานในการพัฒนาผู้นำนักเรียน กิจกรรมการพัฒนาผู้นำนักเรียน 2) รูปแบบ SAPA-STAR เป็นรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้นำนักเรียนระดับประถมศึกษาในศตวรรษที่ 21 3) ประสิทธิผลของการศึกษาคู่มือของครู 30 โรงเรียน เพิ่มสูงขึ้นกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ระดับ 0.89 จากเกณฑ์มาตรฐานที่ 0.50 ความพึงพอใจต่อคู่มือการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้นำนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
[1]
ธนกิจภาคิน ณ., จิตรวิจารณ์ ช., อุทธโยธา ส. และ เขมวิมุตติวงศ์ ช. 2018. การพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้นำนักเรียนระดับประถมศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 6, 2 (พ.ค. 2018), 245–260.
บท
บทความวิจัย

References

ปทุมวดี ศิริสวัสดิ ทวิช วิริยา และ สิระ สมนาม. 2560. คุณลักษณะของครูในโรงเรียนสาธิตมหา วิทยาลัยเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 5(3): 489-505.

ปัญญา ทองนิล. 2554. รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะภาพการสอนโดยการบูรณาการแบบสอดแทรกสำหรับนักศึกษาครูเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย 3(1, 2): 92-93.

พระครูวิชัยคุณวัตร ชาญสมบัติ. 2559. การพัฒนารูปแบบกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนตามพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว: โรงเรียนพังงูวิทยาคม. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 4(2): 262-272.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. 2557. สภานักเรียน. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, กรุงเทพฯ. 52 หน้า.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. 2552. กรอบโครงการสร้างคู่มือ. สำนักงานคณะกรรม การพัฒนาระบบราชการ, กรุงเทพฯ. 9 หน้า.

อัจศรา ประเสริฐสิน. 2558. การพัฒนารูปแบบคู่มือการวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย 8(1): 63-76.

Dudley, D. C. and R. A. Abigail. 2006. Managing Conflict Through Communication. 3rd . Pearson, Boston. 279 P.

Bellanca, J. and R. Brandt. 2013. 21st Century Skills: Rethinking How Students Learn. Open worlds, Bloomington. 272 P.

Krejcie, R.V. and D.W. Morgan. 1970. Determining sample size for research activities. Education and Psychological Measurement 30: 607-610.