ผลของพุทธนวัตกรรมต่อสัญญาณคลื่นสมองในพระภิกษุจังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ฐาวรี ขันสำโรง มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • ประภาเพ็ญ สุวรรณ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • สุภาดา คำสุชาติ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • สำราญ ขันสำโรง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • พระบุญทรง ปุญญธโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

คำสำคัญ:

คำสำคัญ: พุทธนวัตกรรม; สัญญาณคลื่นสมอง; พระภิกษุ

บทคัดย่อ

การวิจัยทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบสัญญาณคลื่นสมองก่อนและหลังการทดลองในกลุ่มทดลอง และเปรียบเทียบสัญญาณคลื่นสมองระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างเป็นพระภิกษุสามเณร อายุ 18-30 ปี ไม่มีประสบการณ์วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน 4 พำนักวัดในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 52 รูปคํานวณด้วยโปรแกรม G*Power  เครื่องมือวิจัย ได้แก่ เครื่องวัดคลื่นสมอง (Emotiv Insight) แบบบันทึกข้อมูล และแบบสอบถาม ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม (สัมประสิทธิ์แอลฟา) เท่ากับ 0.836 ทดสอบสมมติฐานด้วย Paired t-test, Independent t-test, Pearson Correlation, Chi-square test
ผลการวิจัย พบว่า สัญญาณคลื่นสมองก่อนและหลังการทดลองในกลุ่มทดลองแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ยของค่าสมาธิหลังการทดลอง (±SD; ก่อน = .4372 ± .19, หลัง = .5596 ± .19, p<.05) และค่าความตื่นเต้นหลังการทดลองลดลง (±SD; ก่อน = .6784 ± .18, หลัง = .5344 ± .21, p<.05) เมื่อเปรียบเทียบสัญญาณคลื่นสมองระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม พบว่า สัญญาณคลื่นสมองของทั้งสองกลุ่มแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ค่าความว้าวุ่น (±SD; กลุ่มควบคุม = .4520 ± .15, กลุ่มทดลอง = .6136 ± .09, p<.001) ค่าสมาธิ (±SD; กลุ่มควบคุม = .4492 ± .16, กลุ่มทดลอง = .5596 ± .19, p<.05)
องค์ความรู้และนวัตกรรม 4.0 จากการวิจัยคือ สติปัฏฐาน 4 เป็นพุทธนวัตกรรม (ครั้งพุทธกาล) เปลี่ยนสัญญาณคลื่นสมองมนุษย์ เพิ่มสมาธิ ลดความตื่นเต้นของจิต (สมอง) สามารถควบคุมอารมณ์และจิตใจให้สงบ จดจ่อกับงานที่ทำ จึงเป็นวิธี (มรรค) พัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตในตัวบุคคลที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับรองและด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์

References

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2553). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: ยูแอนด์ไออินเตอร์มีเดีย จำกัด.

พระครูสุธีปริยัติโกศล. (2561). พัฒนาการวิชาพัฒนาจิตในมหาวิทยาลัยสงฆ์ สภาพปัจจุบันและปัญหารูปแบบการพัฒนาเพื่อความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนาอย่างยั่งยืน. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร. 9(2): 156-161.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2536). สถานการณ์พระพุทธศาสนาพลิกหายนะเป็นพัฒนา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2554). ปฏิบัติธรรม คืออย่างไร. 2 สิงหาคม 2561. สืบค้นจาก www.dharma-gateway.com/monk/preach/lp.../lp-prayuth-33.htm

มาณพ พลไพรินทร์. (2531). คู่มือการบริหารกิจการคณะสงฆ์. กรุงเทพมหานคร : ชุติมาการพิมพ์.

มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา. (2556). วินัยพระกับเณร. [เข้าถึงเมื่อ 4 ส.ค.2562]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dhammahome.com/webboard/topic22412.html

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). ทิศทางของแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2544-2564)-12 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2556). จำนวนพระภิกษุ สามแณร และวัดในจังหวัดเชียงใหม่. 2 มิถุนายน 2562. สืบค้นจากhttp://cmi.onab.go.th/index.php?option=comcontent&view=article&id=271&Itemid =143 และข้อมูลจำนวนพระภิกษุ สามแณร และวัดในจังหวัดเชียงใหม่ปี พ.ศ.2561 สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติจังหวัดเชียงใหม่.

Ahir D.C. (1999). Vipassana : A Universal Buddhist Meditation Technique. New Delhi: Sri Satguru Publications.

Burns, N., & Grove, S. K. (2005). The practice of nursing research: Conduct, critique, and utilization (5th ed.). Missouri: Elsevier Saunders.

Cahn, BR; Polich, J. (2006). Meditation states and traits : EEG, ERP and neuroimaging studies. Psychological Bulletin,142 (2):180–211.

Chiesa A & Serretti A. (2010). A systematic review of neurobiological and clinical features of mindfulness meditations. Psychological Medicine. 40 (8): 1249–1252.

Daniel Goleman &Tara Bennett-Goleman. (2001). The Emotionally Intelligent Workplace. (edited with Cary Cherniss) Jossey-Bass.

Emotiv Inc. (2019). Performance Metrics. Retrieved from https://www.emotiv.com/knowledge -base/performance-metrics.

Jain S., ShapiroL.S., Swanick S, Roesch CS., Mills JP., Bell I. & Schwartz E.R. G. (2007). A Randomized Controlled Trial of Mindfulness Meditation Versus Relaxation Training: Effects on Distress, Positive States of Mind. Rumination and Distraction. Annals of Behavioral Medicine. 33(1): 11-21 .

Kabat-Zinn Jon. (1998). Wherever You Go, There You Are : Mindfulness Meditation in Everyday Life. New York: Hyperion.

Kasamatsu KH & Hirai T. (1966). An electroencephalographic study on the zen meditation (Zazen). Folia Psychiatrica et Neurologica Japonica. 20 (4): 415–446.

Kraemer, H.C. and Thiemann, S. (1987). How Many Subjects? Statistical Power Analysis in Research. Sage Publications: Newbury Park.

Manotas M., Segura C., Eraso M., Oggins J. & McGovern K. (2014).

Association of brief mindfulness training with reductions in perceived stress and distress in Colombian health care professionals. International Journal of Stress Management, 21(2): 207-225.

Mascaro J. S. (2011). A Longitudinal Investigation of Empathic Behavior and Neural Activity and their Modulation by Compassion Meditation. Ph.D. thesis. Emory University: Atlanta, GA.

Roy, Sr. C. (2009). The Roy’s adaptation model (3rd ed.). Upper Saddle River. NJ: Pearson.

Zanesco, A.P., et al. (2018). Case Study: Improvements to Attention: Cognitive aging and Long-term Maintenance of Attentional Improvements Following Meditation Training. Journal of Cognitive Enhancement. 2018(2): 259.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-28