https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/issue/feed วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา 2025-06-08T21:48:50+07:00 ดร.พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์ phisit.kot@mcu.ac.th Open Journal Systems <p>&nbsp;&nbsp; ตั้งแต่ ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2563) เป็นต้นไป ได้ยกเลิกการตีพิมพ์รูปเล่มวารสารโดยจะเผยแพร่บทความแบบออนไลน์เพียงช่องทางเดียว</p> https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/274324 การออกแบบและสร้างสรรค์งานจิตรกรรมฝาผนังอัตลักษณ์ลายคำประยุกต์ เพื่อการสืบทอดศิลปะล้านนา 2025-02-17T17:15:40+07:00 อำนาจ ขัดวิชัย kingkongamnat168@gmail.com พระอธิวัฒน์ ธรรมวัฒน์ศิริ athiwat.tham@mcu.ac.th <p class="p1">บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา <span class="Apple-converted-space"> </span><br />อัตลักษณ์ลายคำประยุกต์ในงานศิลปะล้านนา 2) เพื่อออกแบบและสร้างสรรค์งานจิตรกรรมฝาผนังอัตลักษณ์ลายคำประยุกต์<span class="Apple-converted-space"> </span>เพื่อการสืบทอดศิลปะล้านนา 3) เพื่อจัดกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้และกระบวนการสร้างสรรค์งานลายคำประยุกต์ล้านนา เพื่อส่งเสริมเป็นเป็นแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมในล้านนา เป็นการวิจัยและพัฒนา</p> <p class="p1">ผลการวิจัยพบว่า 1) งานลายคำหรืองานลวดลายปิดทองถือเป็นหนึ่งในเทคนิคที่สำคัญในงานศิลปะของไทยที่มีการสืบทอดกันมา มีวิวัฒนาการตั้งแต่สมัยอยุธยา ช่วงราวพุทธศตวรรษที่ 22-23 เป็นช่วงที่งานศิลปะลายรดน้ำและงานลงรักปิดทองเจริญรุ่งเรืองที่สุด ลายคำ คือ งานศิลปะลงรักปิดทองเป็นลวดลายต่าง ๆ โดยทางล้านนาจะนิยมลงรักเป็นพื้นสีแดงชาด แตกต่างจากงานลงรักปิดทองของภาคอื่น ๆ 2) ปัจจุบันงานลายคำมีการพัฒนาต่อยอดได้รับอิทธิพลและเทคนิควิธีการจากงานศิลปกรรมลายคำล้านนาในอดีต เรียกว่า ลายคำ น้ำแต้ม เป็นวิธีการหนึ่งที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นใหม่จากการทดลอง แก้ปัญหา และสร้างสรรค์ด้วยการใช้วัสดุในปัจจุบันที่หาได้ง่ายขึ้นจึงพัฒนามาเป็นลายคำประยุกต์ 3) การจัดกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้<span class="Apple-converted-space"> </span>มีดังนี้ (1) กิจกรรมการเรียนรู้กระบวนการสร้างสรรค์งานลายคำประยุกต์ล้านนา (2) จัดเวทีถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชนและภาคีเครือข่าย<span class="Apple-converted-space"> </span>(3) การเผยแผ่่องค์์ความรู้้ผ่านสื่อออนไลน์์</p> 2025-06-08T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/278102 การบริหารจัดการสภาพแวดล้อมในการทำงานขององค์กรเชิงพุทธ 2025-04-04T20:40:50+07:00 พระครูสุจิตพัฒนาพิธาน anusorn.rua@mcu.ac.th <p class="p1">บทความนี้ เป็นบทความวิชาการ ที่นำเสนอการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมในการทำงานขององค์กรเชิงพุทธ การบริหารจัดการสภาพแวดล้อมในการทำงานร่วมกันขององค์กรเชิงพุทธ เป็นการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมในการทำงานขององค์กรให้มีความสุขและเกิดประสิทธิภาพ ทั้งผู้บริหารและพนักงาน โดยการเรียนรู้ที่จะบริหารจัดการด้านอารมณ์ สภาพแวดล้อมและทัศนคติที่ดีต่อกัน เป็นการสร้างแรงจูงใจและความพึงพอใจในการทำงานร่วมกันขององค์กร ทั้งในมิติของความเป็นผู้นำ มิติของการสื่อสาร และความสมดุลระหว่างการทำงานร่วมกันภายใต้นโยบายขององค์กร การบริหารจัดการสภาพแวดล้อมภายในองค์กร ถือเป็นสิ่งสำคัญที่บุคลากรต้องเรียนรู้และปรับตัวมองการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก มองการเปลี่ยนแปลงเป็นการท้าทายของการปฏิบัติงาน ให้ความสำคัญกับภาระหน้าที่ที่รับผิดชอบ<span class="Apple-converted-space"> </span>และเป้าหมายชีวิต โดยนำหลักธรรมมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับองค์กร เน้นความดีสำคัญกว่าความรู้ เพราะความดีเป็นพฤติกรรมส่วนบุคคล ความรู้เป็นส่วนที่บุคคลสนใจ เราจะเห็นได้ว่าปัจจุบันสภาพแวดล้อมทางสังคมค่อนข้างเน้นในเรื่องของวัตถุมากกว่าความเอาใจใส่ในเรื่องของจิตใจ หรือทางด้านจริยธรรม จริยธรรมจึงเป็นสิ่งที่อยู่ภายนอกเป็นเครื่องมือที่ใช้เป็นแนวทางในการสร้างคุณธรรมให้กับบุคลากร เพราะฉะนั้น การนำหลักไตรสิกขา หลักอิทธิบาท หลักสัปปุริสธรรม มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาสภาพแวดล้อมและบุคลากรในองค์กร ให้มีคุณธรรมจริยธรรมในการปฏิบัติงานด้วยเหตุด้วยผล ยอมรับการเปลี่ยนแปลง รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงสังคมโลก รู้จักธรรมชาติของมนุษย์ เพราะมนุษย์มีความสามารถและรู้จักบริหารจัดการสภาพแวดล้อมในองค์กร ให้คุณภาพชีวิตที่ดีและปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> 2025-06-08T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา