Journal Information
จริยธรรม
จริยธรรมในการตีพิมพ์ผลงานในวารสารพุทธศาสตร์ศึกษา
บทบาทและหน้าที่ของผู้เขียนบทความ
- ผู้เขียนจะต้องไม่ส่งบทความที่เคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่ส่งต้นฉบับบทความเดียวกันซ้ำซ้อนกับวารสารอื่น
- ผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย โดยไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน ซึ่งวารสารพุทธศาสศึกษา ได้กำหนดความซ้ำซ้อนของผลงาน ผ่านโปรแกรม CopyCat ของเวป Thaijo ในระดับไม่เกิน 20% ถ้าหากเกินมาตรฐานที่กำหนดไว้ ทางวารสารสามารถปฏิเสธการตีพิมพ์ของบทความนั้นๆ
- ผู้เขียนจะต้องจัดทำต้นฉบับของบทความตาม "คำแนะนำสำหรับผู้เขียน” ในวารสารนี้
- ผู้เขียนที่มีชื่อในบทความจะต้องเป็นผู้มีส่วนร่วมในการเขียนบทความหรือในการดำเนินการวิจัย
- ผู้เขียนจะต้องอ้างอิงโดยให้ระบุ “ที่มา” ของผลงาน ภาพ หรือ ตาราง ที่นำมาใช้ในบทความ เพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ (หากมีการฟ้องร้องจะเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทางวารสารจะไม่รับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น)
- ผู้เขียนจะต้องตรวจสอบความถูกต้องของรายการเอกสารอ้างอิง และควรอ้างอิงเอกสารที่ใช้เป็นแหล่งข้อมูลเท่าที่จำเป็นและเกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม
- ผู้เขียนจะต้องแก้ไขบทความที่ได้รับคำแนะนำให้แก้ไขตามผลประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิและกองบรรณาธิการให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนด
- ผู้เขียนจะต้องระบุชื่อเจ้าของแหล่งทุนที่ให้การสนับสนุนในการทำวิจัย และระบุผลประโยชน์ทับซ้อน (ถ้ามี)
- ผู้เขียนบทความจะต้องไม่รายงานข้อมูลที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ไม่ว่าจะเป็นการสร้างข้อมูลเท็จ การปลอมแปลง บิดเบือน ตกแต่ง หรือ เลือกแสดงข้อมูลเฉพาะที่สอดคล้องกับข้อสรุป
- ผู้เขียนไม่ควรอ้างอิงเอกสารที่ถูกถอดถอนออกไปแล้ว เว้นแต่ข้อความที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการถอดถอน และจะต้องอ้างอิงด้วยว่า เป็นเอกสารที่ได้ถูกถอดถอนออกไปแล้ว
- ผู้เขียนไม่สามารถนำบทความที่ถูกตีพิมพ์ในวารสารพุทธศาสตร์ศึกษา แล้วนำไปแก้ไข ดัดแปลง หรือแปลเป็นภาษาอื่นๆ เพื่อนำไปเสนอการตีพิมพ์ในวารสารอื่น และนำเสนอบทความในรูปแบบต่างๆ
บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการ
- บรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณาคุณภาพของบทความ เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารที่ตนรับผิดชอบ และต้องคัดเลือกบทความมาตีพิมพ์หลังจากผ่านกระบวนการประเมินบทความ โดยพิจารณาความชัดเจนและความสอดคล้องของเนื้อหากับนโยบายของวารสาร จะต้องมีข้อความรู้ที่สะท้อนมุมมอง แนวคิดเชิงทฤษฎีที่ได้จากประสบการณ์ การสังเคราะห์เอกสาร หรืองานวิจัย ที่นำเสนอแนวคิดทฤษฎีใหม่รวมถึงแบบจำลองเชิงแนวคิด (Conceptual Model) ซึ่งช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันจะนำไปสู่การวิจัยในหัวข้อวิชาการที่สำคัญ
- บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้เขียน และผู้ประเมินบทความแก่บุคคลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงเวลาของการประเมินบทความ
- บรรณาธิการต้องไม่ตีพิมพ์บทความที่เคยตีพิมพ์ในที่อื่นมาแล้ว
- บรรณาธิการต้องมีการตรวจสอบการคัดลอกผลงานผู้อื่นอย่างจริงจัง โดยใช้โปรแกรมที่เชื่อถือได้ เพื่อให้แน่ใจว่า บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารไม่มีการคัดลอกผลงานของผู้อื่น และหากตรวจพบ การคัดลอกผลงานของผู้อื่น จะต้องหยุดกระบวนการประเมิน และติดต่อขอคำชี้แจงจากผู้เขียนบทความ เพื่อประกอบการ “ตอบรับ” หรือ “ปฏิเสธ” การตีพิมพ์บทความนั้นๆ
- บรรณาธิการจะต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียน และผู้ประเมิน
- บรรณาธิการต้องไม่นำข้อมูลบางส่วนหรือทุกส่วนของบทความไปเป็นผลงานของตนเอง
- บรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยที่มีระเบียบวิธีวิจัยที่ถูกต้อง และให้ผลที่น่าเชื่อถือ โดยนำผลของการวิจัยมาเป็นตัวชี้นำว่า สมควรตีพิมพ์เผยแพร่หรือไม่
- หากบรรณาธิการตรวจพบว่า บทความมีการลอกเลียนบทความอื่นโดยมิชอบ หรือมีการปลอมแปลงข้อมูล ซึ่งสมควรถูกถอดถอน แต่ผู้เขียนปฏิเสธที่จะถอนบทความ บรรณาธิการสามารถดำเนินการถอนบทความได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้เขียน
บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ
- ผู้ประเมินต้องรักษาความลับและไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาแก่บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ
- เมื่อผู้ประเมินได้รับบทความจากบรรณาธิการวารสาร และ ตระหนักว่า ตนเองอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียนทำให้ไม่สามารถให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอย่างอิสระได้ ควรแจ้งปฏิเสธการประเมินบทความนั้นๆให้บรรณาธิการวารสารทราบ
- ผู้ประเมินควรประเมินบทความในสาขาวิชาที่ตนมีความเชี่ยวชาญ โดยพิจารณาความสำคัญของเนื้อหาในบทความที่มีต่อสาขาวิชานั้นๆ คุณภาพของการวิเคราะห์ ความเข้มข้นของผลงานหรือระบุผลงานวิจัยที่สำคัญๆ สอดคล้องกับบทความที่กำลังประเมิน แต่ผู้เขียนไม่ได้อ้างถึง เข้าไปในการประเมินบทความด้วย ทั้งนี้ผู้ประเมินไม่ควรใช้ความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลรองรับมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสิน
- ผู้ประเมินต้องไม่นำข้อมูลบางส่วนหรือทุกส่วนของบทความไปเป็นผลงานของตนเอง
- เมื่อผู้ประเมินบทความพบว่า มีส่วนใดของบทความ ที่มีความเหมือนกัน หรือซ้ำซ้อนกับผลงานชิ้นอื่นๆ ต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบ