วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS <p>&nbsp;&nbsp; ตั้งแต่ ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2563) เป็นต้นไป ได้ยกเลิกการตีพิมพ์รูปเล่มวารสารโดยจะเผยแพร่บทความแบบออนไลน์เพียงช่องทางเดียว</p> th-TH phisit.kot@mcu.ac.th (ดร.พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์) boonmee.kaew@mcu.ac.th (บุญมี แก้วตา) Sat, 29 Jun 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 แนวทางการจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงพุทธ ของวัดในอำเภอเมืองเชียงใหม่ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/263763 <p class="p1">บการท่องเที่ยวเชิงพุทธ 2) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรม ของวัดในอำเภอเมืองเชียงใหม่ 3) เพื่อเสนอแนวทางการจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงพุทธของวัดในอำเภอเมืองเชียงใหม่ <span class="Apple-converted-space"> </span>เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบเจาะจง จำนวน 20 รูป/คน ด้วยการ สัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และเสนอรายงานวิจัยเชิงพรรณนาวิเคราะห์ </p> <p class="p1">ผลของการวิจัยพบว่า 1) แนวคิดภูมิทัศน์วัฒนธรรมกับการท่องเที่ยวเชิงพุทธ ได้แก่ การท่องเที่ยวในมิติภูมิทัศน์วัฒนธรรม ศาสนสถานและสถานที่สำคัญสำหรับประกอบกิจกรรมทางศาสนาของผู้ที่นับถือ ศาสนาพุทธ ผู้ที่สนใจรวมถึงนักท่องเที่ยว เป็นการเผยแผ่ความรู้ และความเข้าใจในการท่องเที่ยวเชิงพุทธ ผสมผสานทางพุทธศิลป์ วัฒนธรรมประเพณี และวิถีชีวิตของชุมชน เพื่อนำเสนอหลักการปรับภูมิทัศน์วัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงพุทธ<span class="Apple-converted-space"> </span><br />2) สภาพและปัญหาการจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรมของวัด 4 วัด คือ วัดสวนดอก วัดเจ็ดยอด วัดศรีโสดา และวัดอุโมงค์สวนพุทธธรรม<span class="Apple-converted-space"> </span>ในอำเภอเมืองเชียงใหม่ จากข้อมูลทั้ง 5 ด้าน คือ (1) พุทธประวัติศาสตร์ (2) พุทธสถาน (3) พุทธศิลป์ (4) พุทธธรรม (5) พุทธกิจกรรม พบว่า มีสภาพและปัญหาความสำคัญอยู่ 2 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธ 2) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ส่วนแนวทางการจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงพุทธของวัดในอำเภอเมืองเชียงใหม่ พบว่าควรดำเนินการ 2 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธ 2) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ</p> <p class="p2"> </p> ญาณวดี พงศากลวัชร, วิโรจน์ วิชัย Copyright (c) 2024 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/263763 Sat, 29 Jun 2024 00:00:00 +0700 ศึกษาวิเคราะห์การตลาดวิถีธรรม ของชุมชนภูผาฟ้าน้ำแม่เลา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/262449 <p class="p1">บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดการตลาดในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาการตลาดวิถีธรรม แม่เลา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อวิเคราะห์การตลาดวิถีธรรม ของชุมชนภูผาฟ้าน้ำแม่เลา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ แบบการวิจัยเอกสาร ร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกและสังเกตแบบมีส่วนร่วม</p> <p class="p1">ผลการวิจัยพบว่า 1) ในสมัยพุทธกาลนั้น การค้าขายอาศัยความซื่อสัตย์ ต้องการอะไรก็เอาสินค้าที่ตนมีไปแลกเปลี่ยนกัน การค้าขายต่างเมืองก็ไปเป็นกองคาราวาน สินค้าส่วนใหญ่เป็นไปตามวรรณะที่เกิด ตระกูลไหนถนัดทำอะไรก็จะทำไม่ซ้ำกัน เมื่อค้าขายกลับมามีกำไรก็ตั้งโรงบุญโรงทานมากมายเป็นการบ่งบอกฐานะและกำไรที่ได้จากการเดินทางไปค้าขาย 2) ตลาดวิถีธรรมเป็นตลาดทางเลือก เน้นพัฒนาคนให้มีศีล มีสัมมาทิฏฐิ การแบ่งปัน ทำงานฟรี เริ่มจากจุดเล็กๆ เป้าหมายเพื่อช่วยมนุษย์ชาติ ไม่ได้หวังกำไร ใช้ระบบการค้าบุญนิยม 4 ระดับ คือ 1) ขายต่ำกว่าราคาท้องตลาด 2) ขายราคาเท่าทุน 3) ขายในราคาขาดทุน และ 4) แจกฟรี<span class="Apple-converted-space"> </span>3) เมื่อนำส่วนประสมทางการตลาด 7Ps มาวิเคราะห์ตลาดวิถีธรรมของชุมชนภูผาฟ้าน้ำ พบว่าทุกองค์ประกอบนั้นมีต้นทุนทางการเงินที่ต่ำ ซึ่งเกิดจากบุคคลที่มีอุดมการณ์ ขัดเกลาตนเอง กินน้อยใช้น้อย ฝึกฝนการพึ่งตนและช่วยคนให้พ้นทุกข์ เสียสละเป็นบุญ ปัจจัยสนับสนุนการจัดทำตลาดวิถีธรรม ของชุมชนภูผาฟ้าน้ำ คือการพัฒนาคน หรือการพัฒนาจิตอาสาแพทย์วิถีธรรม ให้เป็นผู้พึ่งตนและช่วยคนให้พ้นทุกข์</p> เพลินพิศ สังข์บุญลือ, เทพประวิณ จันทร์แรง, ผุสดี เจริญไวยเจตน์ Copyright (c) 2024 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/262449 Sat, 29 Jun 2024 00:00:00 +0700 แนวทางบูรณาการจิตตปัญญาศึกษากับภาวนาธรรม ในพระพุทธศาสนาเพื่อพัฒนาสุขภาวะในศตวรรษที่ 21 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/264215 <p class="p1">ธรรมในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาแนวคิดการพัฒนาสุขภาวะในศตวรรษที่ 21 และ 3) เพื่อเสนอแนวทางบูรณาการ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ การค้นคว้าศึกษาทางเอกสาร การสังเกตแบบมี ส่วนร่วม การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการและการสนทนากลุ่มย่อย</p> <p class="p1">ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวคิดจิตตปัญญาศึกษาน้อมนำแนวคิด วิถีปฏิบัติ รวมถึงญาณวิทยาของพุทธปรัชญาเข้ามาไว้ในตัวศาสตร์อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการภาวนา การเจริญกรรมฐานทั้งสมถะและวิปัสสนา การพัฒนามิติด้านใน กัลยาณมิตรและการใช้ท่าทีการเรียนรู้ต่างๆ แบบพระพุทธศาสนา 2) แนวคิดการพัฒนาสุขภาวะในศตวรรษที่ 21 สำคัญ จำนวน 2 แนวคิด คือ ความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนและทักษะชีวิต โดย องค์การอนามัยโลก 3) แนวทางบูรณาการจิตตปัญญาศึกษากับภาวนาธรรมในพระพุทธศาสนาเพื่อพัฒนาสุขภาวะในศตวรรษที่ 21 โดยสุขภาวะทางกายพัฒนาด้วยหลักการเผชิญความจริงกับหลักความต่อเนื่องร่วมกับกายภาวนาด้วยการเดินจงกลม การนั่งสมาธิ โยคะ ชี่กง ไท้เก๊ก การเดินป่า การออกกำลังกาย เป็นต้น สุขภาวะทางสังคมพัฒนาด้วยหลักการเชื่อมโยงสัมพันธ์กับหลักการชุมชนแห่งการเรียนรู้ร่วมกับสีลภาวนาด้วยกิจกรรมบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ เป็นต้น สุขภาวะทางจิตพัฒนาด้วยหลักความรักความเมตตากับหลักความมุ่งมั่นร่วมกับจิตภาวนาด้วยการสวดมนต์ทำวัตรเช้าเย็น การอ่านพระสูตรในพระไตรปิฎก การปิดทองพระพุทธรูป เป็นต้น และสุขภาวะทางปัญญาพัฒนาด้วยหลักพิจารณาด้วยใจอย่างใคร่ครวญร่วมกับปัญญาภาวนาด้วยการพิจารณาอสุภะ การเรียนรู้จากผู้ป่วยระยะสุดท้าย การร่วมงานศพ การร่วมกิจกรรมประเพณีทางจิตวิญญาณ เป็นต้น</p> สุดปฐพี เวียงสี Copyright (c) 2024 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/264215 Sat, 29 Jun 2024 00:00:00 +0700 ศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในประเพณีแห่ผีตลก ของชาวไท-ยวน อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/267240 <p class="p1"><strong>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ 1) เพื่อศึกษาความเป็นมาของประเพณีแห่ผีตลกของชาวไท-ยวน อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ 2) เพื่อวิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในประเพณีแห่ผีตลกของชาวไท-ยวนอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์<span class="Apple-converted-space"> </span>3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าประเพณีแห่ผีตลก ของชาวไท-ยวน อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์<span class="Apple-converted-space"> </span>เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 3 กลุ่ม กลุ่มละ 27 ท่าน</strong></p> <p class="p2"><strong>ผลการวิจัยพบว่า 1) ประวัติความเป็นมาที่ยาวนานเกินกว่าร้อยปี เป็นประเพณีที่สัมพันธ์กับความเชื่อเรื่องผี มีจุดประสงค์สำคัญ คือ 1) เพื่อสื่อสารความเชื่อเรื่องหลักกรรมและบูชาผึบรรพบุรุษ 2) เพื่อร่วมขบวนแห่นาคบวชพระและงานบุญเทศน์มหาชาติ 3) เพื่อความสนุกสนาน และเป็นแรงจูงใจในการร่วมงานบุญบวชพระและงานบุญออกพรรษา 4) เพื่อเชิญชวนร่วมบริจาคในการทำบุญประเพณีเทศน์มหาชาติและบุญออกพรรษา เป็นประเพณีที่เกิดขึ้นเพื่อเติมเต็มความปรารถนาทางใจ เป็นเสมือนเครื่องมือช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางใจ มีพัฒนาการ และเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย ท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางวัฒธรรม สังคม เศรษฐกิจ และการเมืองการปกครอง 2) เป็นประเพณีที่สัมพันธ์กับความเชื่อเรื่องผี มีจุดประสงค์สำคัญ คือ 1) เพื่อสื่อสารความเชื่อเรื่องหลักกรรมและบูชาผึบรรพบุรุษ 2) เพื่อร่วมขบวนแห่นาคบวชพระและงานบุญเทศน์มหาชาติ 3) เพื่อความสนุกสนาน และเป็นแรงจูงใจในการร่วมงานบุญบวชพระและงานบุญออกพรรษา 4) เพื่อเชิญชวนร่วมบริจาคในการทำบุญประเพณีเทศน์มหาชาติและบุญออกพรรษา เป็นประเพณีที่เกิดขึ้นเพื่อเติมเต็มความปรารถนาทางใจ เป็นเสมือนเครื่องมือช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางใจ มีพัฒนาการ และเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย ท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางวัฒธรรม สังคม เศรษฐกิจ และการเมืองการปกครอง 3) พระพุทธศาสนามีมุมมองทางโลกทั้งแบบโลกวิสัย ที่ชีวิตต้องดำเนินไปตามวิสัยของโลกที่ยังมีกามคุณ เป็นฐานมีผลแบบโลกียสุข เป็นสุขที่เกิดและเสวยผลได้ชั่วคราว และแบบจิตวิสัย ที่ชีวิตต้องดำเนินไปเพื่อสุขประณีต ซึ่งต้องออกจากกามคุณ มีผลแบบโลกุตรสุข คุณค่าประเพณีแห่ผีตลก สามารถมองเห็นได้ 5 ด้าน คือ ด้านความเชื่อและจิตใจ ก่อให้เกิดสันนาการมีสุข รื่นเริงใจ ด้านวัฒนธรรมประเพณี ก่อให้เกิดการอนุรักษ์ส่งเสริมประเพณีให้เกิดความมั่งคงทางวัฒนธรรมประเพณี ด้านสังคมและการปกครอง ก่อให้เกิดความรักความศรัทธาสามัคคีความเรียบร้อยในสังคม ด้านเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลการแลกเปลี่ยนและสร้างรายได้ในสังคม และด้านการศึกษา ก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ ๆ แนวคิดในมิติใหม่ ๆ เพื่อประยุกต์ใช้ในการพัฒนาชีวิตของตนเองและสังคม</strong></p> พระครูศรีสุตโสภณ (เงิน จันต๊ะ), พระครูสิริปริยัตยานุศาสก์ Copyright (c) 2024 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/267240 Sat, 29 Jun 2024 00:00:00 +0700 การประยุกต์ใช้คิลานสูตร เพื่อป้องกันและรักษาโรคโควิด 19 ของเครือข่ายจิตอาสาแพทย์วิถีธรรม https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/263071 <p class="p2">บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาหลักการรักษาโรคในพระพุทธศาสนาตามหลักคิลานสูตร (2) เพื่อศึกษาวิธีการป้องกันและรักษาโรคโควิด 19 ของแพทย์วิถีธรรม (3) เพื่อวิเคราะห์การประยุกต์หลัก คิลานสูตรรักษาผู้ป่วยจากปัญหาโควิด 19 ของจิตอาสาแพทย์วิถีธรรม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างจำนวน 21 คน</p> <p class="p2">ผลการวิจัยพบว่า 1) การรักษาโรคในพระพุทธศาสนา แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ โรคทางกาย(กายิกโรโค) และโรคทางใจ (เจตสิกโรโค) การรักษาโรคทางกาย ออกกำลังกาย เปลี่ยนอาหาร ใช้ยาสมุนไพรให้สมดุล โรคทางใจต้องรักษาการปรับเปลี่ยนอารมณ์ โดยใช้ธรรมะ ìคิลานสูตรî นั้นเป็นหนึ่งในพระสูตรในการรักษาโรคในพระไตรปิฎก เป็นหลักธรรมรักษาโรคที่สำคัญในการอบรมค่ายสุขภาพ เพื่อให้เกิดความสุข ความสบาย ด้านจิตใจ เครือข่ายจิตอาสาแพทย์วิถีธรรมได้นำมาประยุกต์ใช้ในการรักษาโรค 2) วิธีป้องกันและรักษาโรคโควิด 19 ของแพทย์วิถีธรรมนั้น มีแนวคิดหลัก คือ การฝึกฝนปฏิบัติเพื่อเข้าถึงสภาวะของความสุข คือใจเป็นประธานของสิ่งทั้งปวง พึ่งตนเอง ประหยัดเรียบง่าย มีประโยชน์ไม่มีโทษ พิสูจน์ผลได้ด้วยตนเอง มีการอธิบายกลไกการเกิดการหายของโรคอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ 3) มีวิธีปฏิบัติโดยใช้ธรรมชาติกับพระพุทธศาสนาในการรักษาโรคที่ดี คือหมอที่ดีได้แก่ตัวเราเอง เบื้องต้นคือการลดกิเลสรักษาโรค โดยมีแนวคิด ìศูนย์บาทรักษาทุกโรคî ผลของการปฏิบัติของผู้ป่วยในโรคโควิด 19 พบว่ารักษาโรคได้จริง ก่อให้เกิดความสุข ความสบาย ความสมบูรณ์ของชีวิต เข้าใจการลดกิเลสรักษาโรคครบถ้วนสมบูรณ์ทั้งวิทยาศาสตร์เชิงนามธรรมและรูปธรรม</p> แสงอรุณ สังคมศิลป์ Copyright (c) 2024 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/263071 Sat, 29 Jun 2024 00:00:00 +0700 Defense mechanism : กลไกการป้องกันตนเองแบบรอบด้านเชิงพุทธ จากผลกระทบโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หมู่บ้านสีขาว จังหวัดลำพูน https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/269220 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือเพื่อพัฒนากระบวนการสร้างกลไกการป้องกันตนเองเชิงพุทธด้านสุขภาพแบบองค์รวมตามหลักธรรม อัปปมาเทนะ สัมปาเทถะ ผ่านภาษาท้องถิ่นภาคเหนือ “หมึ้ง – หนิม - ฮัก” หมู่บ้านสีขาว จังหวัดลำพูน และเพื่อพัฒนากระบวนการสร้างกลไกการปรับตัวด้านการจัดการกิจกรรมทางสังคมเชิงพุทธจากผลกระทบโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หมู่บ้านสีขาว จังหวัดลำพูน เป็นการวิจัยแบบผสมผสานทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพ &nbsp;และเชิงปฏิบัติการ ในพื้นที่ตำบลต้นธง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1) การพัฒนากระบวนการสร้างกลไกการป้องกันตนเองเชิงพุทธด้านสุขภาพแบบองค์รวมตามหลักธรรม อัปปมาเทนะ สัมปาเทถะ ผ่านภาษาท้องถิ่นภาคเหนือ “หมึ้ง – หนิม - ฮัก” หมู่บ้านสีขาว จังหวัดลำพูน เป็นการพัฒนาชุดความรู้และนำไปเผยแพร่แก่ประชาชน ในด้าน “หมึ้ง” คือการมีสติสัมปชัญญะต่อปัจจัยภายนอก คือ การสวมหน้ากากอนามัย การล้างมือ การเว้นระยะห่าง และมีสติต่อปัจจัยภายใน คือ ทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และฉีดวัคซีน ด้าน“หนิม” หรือการอยู่นิ่งๆ คือ การอยู่บ้าน และทำงานที่บ้าน โดยใช้เทคโนโลยีเครื่องมือสื่อสารให้เป็นประโยชน์ และด้าน“ฮัก” คือการรักษาสุขภาพทางกายและใจ ด้วยการรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของสมุนไพรและรักษาสุขทางใจ ด้วยการสวดมนต์ นั่งสมาธิ ฟังธรรมะ</p> <p>2) การพัฒนากระบวนการสร้างกลไกการปรับตัวด้านการจัดกิจกรรมทางสังคมเชิงพุทธจากผลกระทบโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 หมู่บ้านสีขาว จังหวัดลำพูน คือ การปรับเปลี่ยนรูปแบบกิจกรรม ปรับเปลี่ยนเนื้อหา ปรับตัวทางวิธีการ การปรับตัวให้เหมาะสมกับสถานการณ์&nbsp; และประยุกต์ใช้หลักสัมมัปธาน 4 กับการปรับตัวในระดับบุคคล และการประยุกต์ใช้หลักภาวนา 4 กับการปรับตัวระดับสังคม</p> พระครูสิริสุตานุยุต -, พระมหาอินทร์วงศ์ วงค์ไชยคำ, นิกร ยาอินตา Copyright (c) 2024 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/269220 Sat, 29 Jun 2024 00:00:00 +0700 กระบวนการสร้างกลไกการปรับตัวด้านการจัดกิจกรรมทางสังคมเชิงพุทธจากผลกระทบโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 หมู่บ้านสีขาว จังหวัดลำพูน https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/269240 <p class="p1">บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาการปรับตัวในการจัดกิจกรรมทางสังคมของชุมชน จากผลกระทบโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 หมู่บ้านสีขาว จังหวัดลำพูน 2) เพื่อพัฒนากระบวนการสร้างกลไกการปรับตัวด้านการจัดกิจกรรมทางสังคมเชิงพุทธจากผลกระทบโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 หมู่บ้านสีขาว จังหวัดลำพูน<span class="Apple-converted-space"> </span>3) เพื่อทอดองค์ความรู้การสร้างกลไกการปรับตัวด้านการจัดกิจกรรมทางสังคมเชิงพุทธจากผลกระทบโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 หมู่บ้านสีขาว เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี</p> <p class="p1">ผลการวิจัยพบว่า 1) ประชาชนในตำบลต้นธงมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการการปรับตัวในการจัดกิจกรรมทางสังคมของชุมชนและกระบวนการสร้างกลไกการปรับตัวด้านการจัดกิจกรรมทางสังคมเชิงพุทธ คือ การสวมใส่หน้ากากอนามัยอย่างสม่ำเสมอ ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์เป็นประจำ เว้นระยะห่างทางสังคม โดยต้องคำนึงถึงความเรียบง่าย เหมาะสมแก่สถานการณ์ และกำชับให้ผู้ร่วมงานป้องกันตัวเอง เช่น การสวมใส่หน้ากากอนามัยและมีสติป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อโรคโควิด 19 2) การพัฒนากระบวนการสร้างกลไกการปรับตัวด้านการจัดกิจกรรมทางสังคมเชิงพุทธจากผลกระทบโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 หมู่บ้านสีขาว จังหวัดลำพูน มี 5 กระบวนการ คือ<span class="Apple-converted-space"> </span>(1) การส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันให้แก่ประชาชน<span class="Apple-converted-space"> </span><br />(2) การสื่อสารให้เข้าใจข้อมูลที่ถูกต้อง<span class="Apple-converted-space"> </span>(3) การสร้างวินัยให้แก่คนในชุมชน (4) การสร้างสิ่งแวดล้อมที่ให้สะอาด (5) การรณรงค์ให้มีสวมหน้ากากอนามัยทุกคน สำหรับหลักธรรมที่สามารถประยุกต์ใช้ในการปรับตัวมี 2 ระดับ คือ (1) ระดับบุคคล ได้แก่ หลักสัปมัปปธาน 4 และ (2) ระดับสังคม ได้แก่ หลักภาวนา 4<span class="Apple-converted-space"> </span>3) การถ่ายทอดองค์ความรู้การสร้างกลไกการปรับตัวด้านการจัดกิจกรรมทางสังคมเชิงพุทธจากผลกระทบโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 หมู่บ้านสีขาว คือ (1) การจัดกิจกรรมอบรมประชาชนและเครือข่ายภาคี (2) การทำเอกสารสรุปองค์ความรู้เผยแผ่ และ (3) การเผยแผ่องค์ความรู้ผ่านสื่อออนไลน์</p> พระมหาอินทร์วงค์ วงค์ไชยคำ, จันทรัสม์ ตาปูลิง, พระครูภาวนาโสภิต, บุญเพลิน ยาวิชัย, พระอธิวัฒน์ ธรรมวัฒน์ศิริ Copyright (c) 2024 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/269240 Sat, 29 Jun 2024 00:00:00 +0700 ศิลปกรรมบำบัด: พระเจดีย์สร้างความสุข ชุมชนบ้านแม่ห่าง อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/267423 <p class="p1">บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาที่มาองค์ประกอบการสร้างเจดีย์ (พุทธศิลปะ) วัดแม่ห่าง ต.เวียงกาหลง อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย 2) เพื่อศึกษาศรัทธาจากการสร้างเจดีย์ หลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาผ่านกระบวนการสร้างเจดีย์วัดแม่ห่างทำให้คนในชุมชนเกิดความสุข และ 3) เพื่อบูรณาการพุทธศิลป์ลวดลายเวียงกาหลง พัฒนาจิตใจชุมชน และเกิดการอนุรักษ์สืบสานต่อไปในอนาคต การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และการจัดกิจกรรมวิจัยเชิงปฏิบัติการในพื้นที่ ได้แก่ วัดแม่ห่าง ตำบลเวียงกาหลวง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย กับกลุ่มประชากรเป้าหมาย ได้แก่ พระสงฆ์ ชาวบ้านในชุมชน ช่างสร้างเจดีย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 30 รูป/คน</p> <p class="p1">ผลการวิจัยพบว่า 1) ที่มาองค์ประกอบการสร้างเจดีย์ เกิดขึ้นจากความสามัคคีกันของพระสงฆ์และชาวบ้านในทุกขั้นตอนตั้งแต่การประชุมวางแผน ดำเนินการก่อสร้างจนแล้วเสร็จ และการจัดงานเฉลิมฉลองพระเจดีย์ <span class="Apple-converted-space"> </span>โดยมีลักษณะพุทธศิลป์ในรูปแบบเจดีย์ทรงล้านนาแบบฐานเขียงสี่เหลี่มจตุรัส องค์เจดีย์มีสีขาว ตกแต่งลวดลายด้วยสีทอง และการสร้างบริเวณพื้นที่รอบพระธาตุเป็นพื้นที่เรียนรู้ลวดลายเวียงกาหลง 2) ความศรัทธาจากการสร้างเจดีย์มีความสำคัญมากสำหรับชาวบ้าน เพราะเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความรู้สึกมั่นคงและปลอดภัย การมีเจดีย์ในวัดจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นและความศรัทธาให้กับชุมชน รวมทั้งเป็นศูนย์รวมจิตใจที่สำคัญ<span class="Apple-converted-space"> </span>3) การบูรณาการพุทธศิลป์ลวดลายเวียงกาหลงในการสร้างพระเจดีย์ เพื่อพัฒนาจิตใจชุมชนสอดคล้องกับหลักธรรม ìพละ 5î ซึ่งประกอบด้วยศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา ช่วยพัฒนาความสุขและความมั่นคงทางจิตใจของชุมชน โดยชาวบ้านร่วมมือกันในทุกขั้นตอนการก่อสร้าง นอกจากนี้ การบูรณาการพุทธศิลป์ลวดลายเวียงกาหลงยังช่วยอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น ส่งเสริมจิตใจชุมชน และเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับคนรุ่นหลัง</p> <p class="p2"> </p> พระวิสิทธิ์ วงค์ใส, พระมหาดนัยพัชร์ ยุนิรัมย์, ธวัชชัย จันจุฬา Copyright (c) 2024 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/267423 Sat, 29 Jun 2024 00:00:00 +0700 สัตว์หิมพานต์สู่การสร้างสรรค์งานจิตรกรรมไทยร่วมสมัย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/267618 <p class="p1">บทความวิจัยนี้ เป็นการศึกษาเชิงสร้างสรรค์ศิลปะ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ1) เพื่อศึกษาประวัติความสำคัญและประเภทของสัตว์หิมพานต์ในพุทธศาสนา<span class="Apple-converted-space"> </span>2) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์รูปแบบสัตว์หิมพานต์ในสมุดไทยดำในสมัยรัชกาลที่ 3 และศิลปินร่วมสมัย 3) เพื่อสร้างสรรค์จิตรกรรมไทยร่วมสมัยโดยใช้สัตว์หิมพานต์สะท้อนคติพุทธศาสนาเรื่อง มหาภูตรูป เป็นการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ศิลปะ โดยการศึกษาเอกสาร และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมไทยร่วมสมัย</p> <p class="p1">ผลการวิจัยพบว่า 1) สัตว์หิมพานต์ หมายถึง สัตว์พิเศษที่อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ มีลักษณะรูปร่างผสมระหว่างมนุษย์กับสัตว์ สัตว์ผสมกับสัตว์ และสัตว์ตามธรรมชาติที่ไม่ผสม สร้างขึ้นเพื่อแสดงในเรื่องของพื้นที่การสร้างเขาพระสุเมรุ ตามคติไตรภูมิเป็นสําคัญ 2) สัตว์หิมพานต์ในสมุดไทยดำ สมัยราชกาลที่ 3 เป็นภาพร่างที่เขียนขึ้นเพื่อใช้เฉพาะงานพระเมรุ และมีข้อจำกัดการเลือกประเภทสัตว์ โดยมีท่าทางลักษณะเดียวกันจำนวน 77 ชนิด สัตว์ทุกตัวมีบุษบกตั้งอยู่บนหลังเพื่อตั้งภาชนะรองรับไทยทานวัตถุสำหรับถวายพระ ส่วนสัตว์หิมพานต์ที่สร้างสรรค์โดยศิลปินร่วมสมัยมีลักษณะทางกายวิภาคที่แสดงกล้ามเนื้อเสมือนจริงแบบศิลปะตะวันตก และการใช้ลวดลายจิตรกรรมไทยแบบศิลปะตะวันออกผสมร่วมเข้าด้วยกันในรูปแบบอุดมคติ 3) การสร้างสรรค์จิตรกรรมไทยร่วมสมัย มีจำนวน 15 ภาพ เกิดจากการสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับสัตว์หิมพานต์ที่ศึกษานำมาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ โดยใช้รูปแบบการผสมร่างระหว่างมนุษย์กับสัตว์หิมพานต์ ซึ่งเป็นจุดเด่นในการสร้างสรรค์ที่แตกต่างออกไปจากการสร้างสรรค์สัตว์หิมพานต์ในอดีต ทั้งนี้ผู้ศึกษาเลือกใช้สีเบญจรงค์เพื่อสร้างสรรค์ผลงานที่รวมศิลปะแบบตะวันตกและตะวันออกเข้าด้วยกันแบบอุดมคติ โดยการสร้างสรรค์จะนำไปสู่การสื่อธรรมเรื่องมหาภูตรูป</p> ภัคพงศ์ ทองเกลี้ยง, ศิริศักดิ์ อภิศักดิ์มนตรี, พระอธิวัฒน์ ธรรมวัฒน์ศิริ, พูนชัย ปันธิยะ, ฉลองเดช คูภานุมาต Copyright (c) 2024 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/267618 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 บทบาทของเศรษฐีในการอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา ในคัมภีร์อรรถกถาธรรมบท https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/268877 <p class="p1">บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาประวัติของเศรษฐีที่อุปถัมภ์พระพุทธศาสนาในคัมภีร์อรรถกถาธรรมบท 2.เพื่อศึกษาบทบาทของเศรษฐีที่อุปถัมภ์พระพุทธศาสนาในคัมภีร์อรรถกถาธรรมบท 3.เพื่อวิเคราะห์บทบาทของเศรษฐีที่อุปถัมภ์พระพุทธศาสนาในคัมภีร์อรรถกถาธรรมบท เป็นงานวิจัยเชิงเอกสาร ศึกษาข้อมูลจากการรวบรวมข้อมูลจากคัมภีร์อรรถกถาธรรมบท ภาค 1- 8 ที่เกี่ยวข้องกับประวัติและบทบาทของเศรษฐี</p> <p class="p1">ผลการวิจัยพบว่า : 1.เศรษฐีแต่ละท่านมีฐานะและเส้นทางชีวิตที่แตกต่างกัน บางท่านมีฐานะร่ำรวยมาตั้งแต่เกิดมีชีวิตที่สมบูรณ์ บางท่านเกิดมาในตระกูลเศรษฐีมีฐานะร่ำรวย ภายหลังกลายเป็นคนจน บางท่านไม่ได้เกิดมาในตระกูลเศรษฐี ต่อมาได้เป็นเศรษฐี แต่ละท่านได้สร้างบารมี มานับภพนับชาติไม่ถ้วน เมื่อถึงเวลาที่บุญส่งผลจึงทำให้ได้สมบัติ ได้พบพระพุทธเจ้าได้ฟังธรรมและเข้าถึงธรรมในที่สุด มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต<span class="Apple-converted-space"> </span>2.เศรษฐีเป็นผู้มีบทบาทในการอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา อนาถบิณฑิกเศรษฐีบริจาค สร้างวัดพระเชตวัน โชติกเศรษฐี ได้ถวายน้ำอ้อยเภสัช ได้สร้างพระคันธกุฎีด้วยรัตนะ ถวายภัตตาหารเครื่องไทยทานพระภิกษุถึง 6 ล้าน 8 แสนรูป เมณฑกเศรษฐี สร้างศาลาราย จัดงานฉลอง 4 เดือน โฆสกเศรษฐี ใช้มรดกของพ่อและที่ พระเจ้าอุเทน พระราชทานนำมาบริจาคสร้างโรงทานเลี้ยงคนยากจน สร้างวัดโฆสิตาราม ถวายทานทำบุญ จิตตเศรษฐี ถวายสวนอัมพาฏกวัน ให้สร้างอัมพาฏาการาม อุปถัมภ์พระภิกษุผู้มาจากทั่วสารทิศ 3) เศรษฐีทุกท่านเป็นผู้มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก ได้พบพระพุทธเจ้าได้ฟังธรรมจึงหันมานับถือพระพุทธศาสนา ให้การอุปถัมภ์ด้านปัจจัย 4 เป็นตัวอย่างในการอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาจนถึงปัจจุบัน</p> พระมหาสิทธิชัย ธรรมสุจริต, อุเทน ลาพิงค์ Copyright (c) 2024 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/268877 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการสอนภาษาไทยของนักศึกษา สาขาวิชาการสอนภาษาไทย ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ปีการศึกษา 1/2562 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/264158 <p class="p1">บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการเรียนการสอนของนักศึกษาสาขาวิชาการสอนภาษาไทย 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนของนักศึกษาสาขาวิชาการสอนภาษาไทย และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบพัฒนาทักษะการเรียนการสอนของนักศึกษาสาขาวิชาการสอนภาษาไทย การวิจัยเป็น<span class="s1">การวิจัยเชิงปริมาณ โดย</span>กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาสาขาวิชาการสอนภาษาไทย ชั้นปีที่ 4 ภาคปกติ ปีการศึกษาที่ 1/2562 จำนวน 52 คน มมร.วข. ล้านนา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบตารางประกอบบรรยาย</p> <p class="p2"> </p> <p class="p3">ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านสภาพปัญหาการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการสอน โดยรวมมีผู้เห็นด้วยคิดเป็นร้อยละ 82.20 2) ด้านการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการสอนโดยรวม 4 ด้าน แปลผลอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.06 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.69<span class="Apple-converted-space"> </span>3) ด้านการนำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการสอน โดยรวมแปลผลอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.05 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.77</p> พระครูปลัดณฐกร ปฏิภาณเมธี, พระครูปริยัติกิตติวิมล, อัครชัย ชัยแสวง, ชุ่ม พิมพ์คีรี, กิตติคุณ ภูลายยาว Copyright (c) 2024 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/264158 Sat, 29 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบเอส เอส ซี เอสร่วมกับการจัดการเรียนรู้ห้าแนวปฏิบัติการสอน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/269168 <p class="p1">บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาดัชนีประสิทธิผลของหลักสูตรส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบเอส เอส ซี เอสร่วมกับการจัดการเรียนรู้ห้าแนวปฏิบัติการสอน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) ศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบเอส เอส ซี เอสร่วมกับการจัดการเรียนรู้ห้าแนวปฏิบัติการสอน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น แบบแผนที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้ คือแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อน - หลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนเถินวิทยา จังหวัดลำปาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลำปาง ลำพูน จำนวน 34 คน มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม โดยทำการสุ่มโรงเรียนจากโรงเรียนในสหวิทยาเขตเถินบุรินทร์มา 1 โรงเรียน ได้โรงเรียนเถินวิทยา ซึ่งมี 2 ห้องเรียน คือชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 และ 4/3<span class="Apple-converted-space"> </span>ทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างได้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ หลักสูตร คู่มือการใช้หลักสูตร แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน<span class="Apple-converted-space"> </span>และการทดสอบค่าที</p> <p class="p1">ผลการวิจัยพบว่า 1)<span class="Apple-converted-space"> </span>หลักสูตรส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบเอส เอส ซี เอสร่วมกับการจัดการเรียนรู้ห้าแนวปฏิบัติการสอน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มี 7 องค์ประกอบ<span class="Apple-converted-space"> </span>ได้แก่<span class="Apple-converted-space"> </span>(1) ความเป็นมาและความสำคัญของหลักสูตร<span class="Apple-converted-space"> </span>(2) หลักการของหลักสูตร<span class="Apple-converted-space"> </span>(3) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร (4) เนื้อหาหลักสูตร โดยประกอบด้วย 2 หน่วยการเรียนรู้ ได้แก่ หน่วยที่ 1 สถานการณ์ปัญหาเกี่ยวกับ ความยาว พื้นที่ และปริมาตร และหน่วยที่ 2 สถานการณ์ปัญหาเกี่ยวกับเงินและร้อยละ<span class="Apple-converted-space"> </span>(5) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน<span class="Apple-converted-space"> </span>(6) สื่อและแหล่งเรียนรู้<span class="Apple-converted-space"> </span>(7) การวัดและประเมินผล<span class="Apple-converted-space"> </span>ค่าเฉลี่ยความเหมาะสมของหลักสูตรในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด<span class="Apple-converted-space"> </span>ค่าเฉลี่ยความเหมาะสมของคู่มือการใช้หลักสูตรในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด<span class="Apple-converted-space"> </span>และหลักสูตรมีค่าดัชนีประสิทธิผลอยู่ที่ 0.6202<span class="Apple-converted-space"> </span>2) นักเรียนที่เรียนโดยใช้หลักสูตรส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบเอส เอส ซี เอสร่วมกับการจัดการเรียนรู้ห้าแนวปฏิบัติการสอน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4<span class="Apple-converted-space"> </span>มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05</p> พิชชาพร ทองเลียบ, ปริญญภาษ สีทอง Copyright (c) 2024 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/269168 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อลดอัตราการออกกลางคัน ของนักเรียนโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/268878 <p class="p1">บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ความต้องการจำเป็นในการบริหารสถานศึกษาเพื่อลดอัตราการออกกลางคันของนักเรียนโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลยเขต 2 2) สร้างและตรวจสอบยืนยันความเหมาะสม รูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อลดอัตราการออกกลางคันของนักเรียนโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 3) ประเมินความเป็นไปได้และเป็นประโยชน์รูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อลดอัตราการออกกลางคันของนักเรียนโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างงานวิจัย ได้แก่ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 จำนวน 108 โรง ซึ่งผู้วิจัยกําหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยเปิดตารางสำเร็จรูปของเคจซีมอร์แกน และเลือกกลุ่มตัวอย่างการสุ่มอย่างง่าย ให้ได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่าง</p> <p class="p2"> </p> <p class="p1">ผลการวิจัยพบว่า 1)<span class="Apple-converted-space"> </span>ผลการศึกษาองค์ประกอบ สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ความต้องการจำเป็น การบริหารสถานศึกษาเพื่อลดอัตราการออกกลางคันของนักเรียน องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านการกำหนดนโยบายเพื่อลดอัตราการออกกลางคันของนักเรียนด้านการพัฒนาระบบการติดตามและระบบงานดูแลช่วยเหลือนักเรียน ด้านการดำเนินการเชิงรุก ด้านการส่งเสริมการจัดการศึกษาแบบเชื่อมโยงกับการประกอบอาชีพ และด้านการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ สภาพปัจจุบัน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นโดยภาพรวมเท่ากับ 0.389<span class="Apple-converted-space"> </span>2) ผลการประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อลดอัตราการออกกลางคันของนักเรียน โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด</p> กานต์ชนก ทองมา, พิกุล ภูมิโคกรักษ์ Copyright (c) 2024 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/268878 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/268961 <p class="p1">บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบ สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ความต้องการจำเป็นของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 2) เพื่อศึกษารูปแบบและตรวจสอบยืนยันความเหมาะสม ของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 3) เพื่อประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี ประชากรกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน/รักษาการ จำนวน 173 โรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 123 คน</p> <p class="p1">ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษา จากวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พบว่าองค์ประกอบและตัวชี้วัดภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) วิสัยทัศน์การเปลี่ยนแปลง (2) มีความคิดสร้างสรรค์ (3) การบริหารความเสี่ยง (4) การทำงานเป็นทีมและมีส่วนร่วม (5) บรรยากาศแห่งองค์กรนวัตกรรม 2) ผลการศึกษา จากวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 พบว่าวิธีการพัฒนาในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม ของผู้บริหาร สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 ได้แก่ (1) การศึกษาด้วย ตนเอง (2) การอบรม (3) การศึกษาดูงาน และ 4. การรวมกลุ่มทำงาน 3) ผลการศึกษา จากวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 พบว่ารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 มีองค์ประกอบของโปรแกรม คือ (1) หลักการ (2) วัตถุประสงค์ (3) เนื้อหา ประกอบด้วย 5 Module คือ Module (1) การมีวิสัยทัศน์การเปลี่ยนแปลง Module (2) การมีความคิดสร้างสรรค์ Module (3) การบริหารความเสี่ยง Module (4) การทำงานเป็นทีมและมีส่วน ร่วม และ Module (5) บรรยากาศแห่งองค์การนวัตกรรม 4. วิธีการพัฒนา คือการเรียนรู้ด้วยตนเอง การศึกษาดูงาน การฝึกอบรม และการรวมกลุ่มทำงาน และ 5. การวัดและประเมินผลโดยประเมินผล ก่อนพัฒนา ระหว่างการพัฒนา และหลังการพัฒนา ประเมินการทำกิจกรรมตามที่กำหนด และการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกัน ระยะเวลาการพัฒนา 30 ชั่วโมง การดำเนินการพัฒนาได้กำหนดกระบวนการพัฒนาไว 4 ขั้น ดังนี้ ขั้นที่ 1 การเตรียมความพร้อมก่อนการพัฒนา ขั้นที่ 2 การฝึกอบรม ขั้น ที่ 3 การบูรณาการแบบ สอดแทรกการปฏิบัติงาน และขั้นที่ 4 การประเมินหลังการพัฒนา</p> นาฏยา ปาละสิทธิ์, พิกุล ภูมิโคกรัตน์ Copyright (c) 2024 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/268961 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคปกติใหม่ของโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/269019 <p class="p1">บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ความต้องการจำเป็นและของการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคปกติใหม่ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคปกติใหม่ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2<span class="Apple-converted-space"> </span>3) เพื่อประเมินความเป็นไปได้และเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคปกติใหม่ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 เป็นวิจัยแบบผสมผสาน<span class="Apple-converted-space"> </span>ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 6 คน โดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากสถานศึกษาที่มีผลงานด้านการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้รับรางวัล พ.ศ. 2563 - พ.ศ. 2565 อย่างต่อเนื่อง จาก 3 โรงเรียน ใช้แบบสัมภาษณ์ประกอบกับการสนทนากลุ่ม</p> <p class="p1">ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคปกติใหม่ของโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 1.1) ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับมาก พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการคัดกรองนักเรียน ด้านการส่งต่อ ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ด้านการส่งเสริมและพัฒนานักเรียน และด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน 1.2)<span class="Apple-converted-space"> </span>ผลการศึกษาสภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมาก พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด 1 ด้าน ได้แก่ ด้านการส่งต่อ พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการส่งเสริมและพัฒนานักเรียน ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน ด้านการคัดกรองนักเรียน และด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล 1.3) ผลการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น โดยรวมเท่ากับ 0.231 เรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ ลำดับที่ 1 ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน ลำดับที่ 2 ด้านการส่งต่อ ลำดับที่ 3 ด้านการส่งเสริมและพัฒนานักเรียน ลำดับที่ 4 ด้านการคัดกรองนักเรียน และลำดับที่ 5 ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล 2) ผลการสร้างรูปแบบการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคปกติใหม่ของโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 2.1) ผลการสร้างรูปแบบการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคปกติใหม่ของโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 ประกอบด้วย 4 ส่วน ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 หลักการของรูปแบบ องค์ประกอบที่ 2 วัตถุประสงค์ของรูปแบบ องค์ประกอบที่ 3 วิธีดำเนินการการบริหารจัดการเรียนรู้ยุคใหม่ในสถานศึกษา ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ด้านการคัดกรองนักเรียน ด้านการส่งเสริมและพัฒนานักเรียน ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน และด้านการส่งต่อองค์ประกอบที่ 4 แนวทางการประเมินรูปแบบ <span class="Apple-converted-space"> </span>2.2) ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคปกติใหม่ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2ภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผลการประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคปกติใหม่ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2<span class="Apple-converted-space"> </span>3.1) ผลการประเมินความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคปกติใหม่ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3.2) ผลการประเมินความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคปกติใหม่ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</p> นุชธิดา ก้อนพิลา Copyright (c) 2024 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/269019 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 สัญศาสตร์: การถอดรหัสบทสวดมนต์พาหุงจากจิตรกรรมฝาผนัง พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/267188 <p class="p1">วรรย์เพื่อนำมาวิเคราะห์สัญญะ เพื่อเปรียบเทียบเหตุการณ์ในบทสวดมนต์พาหุงกับเหตุการณ์ในบริบทเชิงวัฒนธรรม บทความนี้เป็นการทบทวนวรรณกรรม และนำมาววิเคราะห์เนื้อหา นำเสนอด้วยการพรรณนา</p> <p class="p1">พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ตั้งอยู่ในบริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จังหวัดกรุงเทพมหานคร โดยที่เนื้อหาหลักของภาพเขียนที่อยู่ภายในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์บริเวณผนังระหว่างหน้าต่างนั้นมีเรื่องราวเกี่ยวกับ พระพุทธประวัติ โดยมีความพิเศษที่นอกเหนือจากภาพจิตรกรรมที่มีความงดงาม และเก่าแก่ที่สุดที่ถ่ายทอดโดยช่างในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยังมีความพิเศษที่เหตุการณ์ที่ถูกเลือกมาวาดนั้นมีบางส่วนตรงกับเรื่องราวสำคัญทั้งแปดที่ถูกกล่าวถึงในบทสวดมนต์ชัยมงคลคาถา (พาหุง) ที่ชาวไทยให้ความสนใจนำมาสวดเพื่อสรรเสริญชัยชนะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า</p> <p class="p1">ภาพจิตรกรรมฝาผนังถูกนำมาถอดรหัสเปรียบเทียบระหว่างเหตุการณ์ในสมัยพุทธกาลและเรื่องราวในบริบทปัจจุบัน ด้วยหลักการสัญศาสตร์ของบุคคลหลักสองท่าน คือ ชาร์ลส์ แซนเดอร์ส เพิร์ส นักปรัชญาชาวอเมริกา และ แฟรดิน็องด์ เดอ โซซูร์ นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์<span class="s3"> จากการทบทวนวรรณกรรมพบว่าความสัมพันธ์ของสิ่งแทนความนี้มีสภาพเป็นพลวัต ที่มีการเปลี่ยนแปลงไม่หยุดนิ่ง เปลี่ยนแปลงไปได้ตามปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ เช่น วัฒนธรรม หรือ สังคม<span class="Apple-converted-space"> </span>อย่างไรก็ตาม </span>นอกเหนือจากการการถอดรหัสดังกล่าวแล้ว การนำเนื้อหาสาระของแก่นธรรมมาถ่ายทอดในในสภาวะแวดล้อมปัจจุบันนั้นยังคงเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญ<span class="Apple-converted-space"> </span>เพื่อพุทธศาสนิกชนที่สนใจจะได้นำหลักธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาประยุกต์ใช้ได้ในสื่อใหม่สมัยใหม่ไม่ว่าบริบททางสังคมจะเปลี่ยนไปเช่นไร</p> นันท์ภัสกร ล่ำภากร, อนุชา แพ่งเกษร Copyright (c) 2024 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/267188 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 “พลายศักดิ์สุรินทร์” วาทกรรมทางการเมืองทูตสันถวไมตรี ไทย-ศรีลังกา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/268034 <p class="p1">ìพลายศักดิ์สุรินทร์î ช้างไทยถูกส่งออกนอกราชอาณาจักรในปี 2544 เพื่อเป็นช้างแห่พระเขี้ยวแก้ว อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในงานแห่พระธาตุประจำปี จึงอยู่ในฐานะสัตว์ทูตสันถวไมตรีเชื่อมสัมพันธ์ทวิภาคีไทย-ศรีลังกา ควรได้รับการปฏิบัติที่ดีจากประเทศคู่สัญญาอย่างสมเกียรติ ต้องเกิดจากการทำข้อตกลงระหว่างประเทศที่เท่าเทียมทั้งสองฝ่าย โดยรวมถึงสวัสดิภาพของสัตว์ในต่างแดน กรณีพลายศักดิ์สุรินทร์ กลับไม่ปรากฎการทำข้อตกลงส่งมอบสัตว์ทูตอย่างรัดกุมจากฝ่ายรัฐบาลไทย ส่งผลให้ 21 ปีต่อมา เกิดวาทกรรมทางการเมืองเรื่องช้างในประเด็นการทารุณกรรมสัตว์ ลุกลามใหญ่โตเป็นปมขัดแย้งโดยเฉพาะในศรีลังกา อาทิ กลุ่มต่อต้านการใช้แรงงานสัตว์ วัดถือกรรมสิทธิ์ครอบครองพลายศักดิ์สุรินทร์ เป็นต้น เกิดกระแสสงสารช้างไทยอย่างรวดเร็ว รัฐบาลไทยจึงต้องดำเนินการให้ความช่วยเหลือ เพราะ 1) ช้าง หมายถึง เกียรติยศศักดิ์ศรีของชาติ ทั้งยังผูกพันกับวิถีชีวิตคนไทยมาช้านานเสมือนคนในครอบครัวเดียวกัน 2) เพื่อแก้ไขความผิดพลาดการทำข้อตกลงส่งมอบสัตว์ทูตในอดีตที่ไม่ละเอียดและรัดกุมมากพอ ส่งผลให้เกิดทุกขเวทนาต่อช้างซึ่งเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมือง และนำไปสู่การยกเลิกนโยบายส่งมอบ ìช้างî เป็นสัตว์ทูตอย่างเป็นรูปธรรมในปี 2559 รวมถึงการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับช้างให้ทันสมัยสอดคล้องกับสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงไป</p> อัญชลี แสงเพชร, พระพิทักษ์ แฝงโกฎิ Copyright (c) 2024 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/268034 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 การจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน ด้วยหลักอิทธิบาท 4 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/267268 <p class="p1">การจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน ด้วยหลักอิทธิบาท 4 เป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญที่ผู้สอนต้องตระหนักเนื่องจากการจัดการในชั้นเรียนนั้นส่งผลต่อตัวผู้เรียน ส่วนใหญ่เข้าใจกันว่าการจัดตกแต่งห้องเรียนทางวัตถุ หรือทางกายภาพให้มีบรรยากาศน่าเรียนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนเท่านั้น แท้จริงแล้วการจัดการชั้นเรียนได้ดีก็ย่อมทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีและมีความสุขในการเรียนทั้งในด้านพฤติกรรมสมาธิในการเรียน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนต้องได้มีโอกาสลงมือกระทำมากกว่าการฟังเพียงอย่างเดียว ต้องจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยการอ่าน การเขียน การโต้ตอบ และการแก้ปัญหาโดยการร่วมมือระหว่างผู้เรียน ในการนี้ครูต้องลดบทบาทในการสอน โดยไปเพิ่มกระบวนการและกิจกรรมที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการจะทำกิจกรรมต่าง ๆ มากขึ้น บทความนี้มีวัตถุประสงค์เขียนขึ้นเพื่อเป็นแหล่งการศึกษาค้นคว้าและเรียนรู้สำหรับ นิสิต นักศึกษา ตลอดจนบุคคลที่มีความสนใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้สู่กระบวนการปฏิบัติจริงในชั้นเรียน ดังนี้ 1. เทคนิคของการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย 2. สรุปความแตกต่างระหว่างการเรียนรู้เชิงรุก กับการสอนที่ผู้สอนเป็นศูนย์กลางโดยผู้เรียนเป็นฝ่ายรับความรู้อย่างเดียว 3. การจัดการชั้นเรียนการจัดชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ และครูผู้สอนใช้ตัวชี้วัดความรู้ความเข้าใจ 6 ด้าน และการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน ด้วยหลักอิทธิบาท 4 เพื่อให้ผู้เรียนและครูผู้สอนให้สามารถปรับตัวเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง ต่อไป</p> พระวิทวัส โกฎิฉกรรจ์, สมชัย ศรีนอก, นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ Copyright (c) 2024 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/267268 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700