สำหรับผู้เขียน

นโยบายการตีพิมพ์ในวารสาร พุทธศาสตร์ศึกษา

บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความวิชาการหรือบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสาร อย่างเคร่งครัด รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสาร

ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร  ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสาร   รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารได้กำหนดความซ้ำของผลงาน โปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 20% โดยมีผลตั้งแต่ เดือน มิถุนายน 2563 เป็นตันไป

1. ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์

วารสารจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียม หลังจากผู้ทรงพิจารณาเสร็จแล้วจำนวน 3,500 บาท  ต่อ 1 บทความ  โดยผู้เขียนจะต้องตรวจสอบความสมบูรณ์ของบทความตามคำแนะนำสำหรับผู้เขียน หากไม่ปฏิบัติตามกติกา กองบรรณาธิการวารสารขอสงวนสิทธิ์ในการปฏิเสธการตีพิมพ์ และไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมดังต่อไปนี้

  1. หากบทความมีความซ้ำซ้อนมากกว่า 20%
  2. ผู้เขียนไม่ปฏิบัติตามรูปแบบของวารสาร
  3. บทความไม่ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ หรือ
  4. ไม่แก้ไขบทความตามข้อเสนอแนะตามระยะเวลาที่กำหนด (1 เดือน หลังการแจ้งของบรรณาธิการ)
  5. ผู้เขียนสามารถชำระค่าธรรมเนียมผ่านบัญชีธนาคารกรุงไทย หมายเลขบัญชี 521 - 1067 - 118 ชื่อบัญชี วิทยาเขตดำเนินการ เมื่อชำระแล้วให้ส่งหลักฐานไปที่  jbs@mcu.ac.th

การส่งบทความเข้าระบบ Thaijo เพื่อได้รับการตีพิมพ์

การส่งในระบบ (Online Submission) สามารถส่งเข้าระบบออนไลน์ได้เว็บไซต์ ของวารสารพุทธศาสตร์ศึกษา ได้ที่  https://www.tci-thaijo.org/index.php/JBS เมื่อส่งเข้าระบบสำเร็จให้แจ้งข้อมูลเพิ่มเติมทาง Email : jbs@mcu.ac.th

เข้าสู่ระบบ  หรือ  สมัครสมาชิก

2. ประเภทของผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสาร พุทธศาสตร์ศึกษา

2.1 บทความวิจัย (Research Article) เป็นบทความที่มีการค้นคว้าอย่างมีระบบ และมีความมุ่งหมายชัดเจน เพื่อให้ได้ข้อมูลหรือหลักการบางอย่างที่จะนำไปสู่ความก้าวหน้า ทางวิชาการ หรือการนำวิชาการมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ บทความวิจัยมีรูปแบบของการวิจัยตามหลักวิชาการ เช่น มีการตั้งสมมติฐานหรือมีการกำหนด ปัญหาที่ชัดเจนสมเหตุผล โดยจะต้องระบุวัตถุประสงค์ที่เด่นชัดแน่นอน มีการรวบรวมข้อมูล พิจารณาวิเคราะห์ ตีความและสรุปผลการวิจัยที่สามารถให้คำตอบหรือบรรลุวัตถุประสงค์

2.2 บทความวิชาการ (Academic Article) เป็นบทความที่เขียนขึ้นในลักษณะวิเคราะห์วิจารณ์ หรือเสนอแนวคิดใหม่ ๆ จากพื้นฐานทางวิชาการที่ได้เรียบเรียงจากผลงานทางวิชาการของตนเองหรือของผู้อื่น หรือเป็นบทความทางวิชาการที่เขียนขึ้นเพื่อเป็นความรู้ที่มีประโยชน์แก่คนทั่วไป

2.3 บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) หนังสือที่นำมาวิจารณ์นั้นต้องเป็นหนังสือทางพระพุทธศาสนา พุทธศาสนากับศาสต์ด้านต่างๆ และพุทธศาสนากับวิทยาการสมัยใหม่ เป็นการเขียนขึ้นในลักษณะวิเคราะห์วิจารณ์  เช่น วิเคราะห์เนื้อหา ทัศนวิจารณ์ รูปแบบทางวรรณกรรม  ภาษาและการนำเสนอ การออกแบบเนื้อหา ความทันสมัย คุณค่าของหนังสือ หลักธรรมที่ปรากฏในหนังสือ  และสรุปข้อเสนอแนะ

3. รูปแบบของการจัดเตรียมต้นฉบับ

3.1 ต้นฉบับบทความต้องมีความยาว 8 - 15 หน้ากระดาษ A 4 (รวมเอกสารอ้างอิง) พิมพ์บนกระดาษหน้าเดียว ใช้ตัวอักษรแบบ TH Sarabun PSK เท่านั้น ตั้งค่าหน้ากระดาษโดยเว้นขอบบน ขอบซ้าย 1 นิ้ว และขอบขวา ขอบล่าง 1 นิ้ว กำหนดระยะห่างระหว่างบรรทัดเท่ากับ 1 และเว้นบรรทัดระหว่างแต่ละย่อหน้า การนำเสนอรูปภาพและตาราง ต้องนำเสนอรูปภาพและตารางที่มีความคมชัดพร้อมระบุหมายเลขกำกับรูปภาพไว้ด้านล่าง พิมพ์เป็นตัวหนา เช่น ตาราง 1 หรือ Table 1 และ รูป 1 หรือ Figure 1 รูปภาพที่นำเสนอต้องมีรายละเอียดของข้อมูลครบถ้วน และเข้าใจได้โดยไม่จำเป็นต้องกลับไปอ่านที่เนื้อความอีก ระบุลำดับของรูปภาพทุกรูป ให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่อยู่ในต้นฉบับ โดยคำอธิบายต้องกระชับและสอดคล้องกับรูปภาพที่นำเสนอ

3.2  ชื่อเรื่องต้องมีภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พิมพ์ไว้หน้าแรกตรงกลาง

3.3 ชื่อผู้เขียน ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาด 16 pt พิมพ์ด้วยตัวอักษรปกติอยู่ใต้ชื่อเรื่องโดยเยื้องมาทางด้านขวา และให้ตัวเลขเป็นตัวยก ท้ายชื่อผู้เขียนเพื่อแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อหน่วยงานภาษาไทย และภาษาอังกฤษ

3.4 มีบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 300 คำต่อบทคัดย่อ

3.5 กำหนดคำสำคัญ (Keywords) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

3.6 การเรียงหัวข้อ หัวข้อใหญ่สุด ให้พิมพ์ชิดขอบด้านซ้าย ขนาดตัวหนังสือ 18 pt ตัวหนา หัวข้อย่อยเว้นห่างจาก หัวข้อใหญ่  1.75 เซ็นติเมตร และหัวข้อย่อยขนาดเดียวกัน ต้องพิมพ์ให้ตรงกัน เมื่อขึ้นหัวข้อใหญ่

3.7 การใช้ตัวเลขคำย่อ และวงเล็บ ควรใช้ตัวเลขอารบิกทั้งหมด ใช้คำย่อที่เป็น สากลเท่านั้น (ระบุคำเต็มไว้ในครั้งแรก) การวงเล็บภาษาอังกฤษ ควรใช้ดังนี้ (Student centered learning)

4. ขั้นตอนการเขียนบทความ

4.1 บทความวิจัย ให้เรียงลำดับสาระ ดังนี้

1) ชื่อเรื่องภาษาไทย ภาษาอังกฤษ

2) ชื่อผู้วิจัย ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ชื่อหน่วยงาน ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และ อีเมล

3) บทคัดย่อ (Abstract). เสนอวัตถุประสงค์ของการวิจัย วิธีการวิจัย และผลการวิจัยโดยสรุปมีความกะทัดรัดและสั้น เนื้อหาไม่.  เกิน 400 คำ

4) บทนำ (Introduction) ระบุความสำคัญของปัญหาการวิจัย กรอบแนวคิด

5) วัตถุประสงค์การวิจัย

6) ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology)  ระบุแบบแผนการวิจัยการได้ มาซึ่งกลุ่มตัวอย่างและการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล

7) ผลการวิจัย/ผลการทดลอง (Results) เสนอผลที่พบตามวัตถุประสงค์การวิจัยตามลำดับอย่างชัดเจน ควรเสนอในรูปตารางหรือแผนภูมิ

8) อภิปรายผล/วิจารณ์ (Discussion)  เสนอเป็นความเรียง ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของผลการวิจัยกับกรอบแนวคิด และงานวิจัยที่ผ่านมา ไม่ควรอภิปรายเป็นข้อ ๆ แต่ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของตัวแปรที่ศึกษาทั้งหมด

9) องค์ความรู้จากงานวิจัย ระบุองค์ความรู้ที่ได้อันเป็นผลมาจากการวิจัย ผ่านการสังเคราะห์ออกมา ในรูปแบบของความเรียง และ แผนภูมิ แผนภาพ หรือ ผังมโนทัศน์ พร้อมทั้งการอธิบายที่รัดกุม เข้าใจได้ง่าย 

10) สรุป (Conclusion) ระบุข้อสรุปที่สำคัญและข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ และประเด็นสำหรับการวิจัยต่อไป

11) บรรณานุกรม (References). ต้องเป็นรายการที่มีการอ้างอิงไว้ในเชิงอรรถเท่านั้น การอ้างอิงในเนื้อเรื่องใช้ระบบ APA

4.2 บทความวิชาการ ให้เรียงลำดับสาระ ดังนี้

1) ชื่อเรื่องภาษาไทย ภาษาอังกฤษ

2) ชื่อผู้วิจัย ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ชื่อหน่วยงาน ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และ อีเมล

3) บทคัดย่อ (Abstract)

4) บทนำ (Introduction)

5) เนื้อเรื่อง (Content) แสดงสาระสำคัญที่ต้องการนำเสนอตามสำดับ

6) สรุป (Conclusion)

7) ข้อเสนอแนะ (Suggestion)

8) บรรณานุกรม (Reference) การอ้างอิงในเนื้อเรื่องใช้ระบบ APA

4.3 บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review)

1) ชื่อเรื่องต้องมีภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ พิมพ์ไว้หน้าแรกตรงกลาง

2) ชื่อผู้เขียน ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ระบุชื่อต้นสังกัด และชื่อหน่วยงาน พิมพ์ไว้ตรงกลาง บรรทัดที่สองถัดจากชื่อเรื่อง

3) ชื่อผู้แต่ง หมายเลข ISBN  สำนักพิมพ์ ปีที่พิมพ์ จำนวนหน้า พร้อมรูปหน้าปกของหนังสือ พิมพ์ไว้ตรงกลาง บรรทัดที่สามถัดจากชื่อผู้เขียน

4) บทนำ

5) ส่วนที่ 1 เนื้อหา

6) ส่วนที่ 2 เนื้อหา ทัศนวิจารณ์ (1) รูปแบบทางวรรณกรรม (2) ภาษาและการนำเสนอ (3) การออกแบบเนื้อหา (4) ความทันสมัย

3) ส่วนที่ 3 ด้านคุณค่าของหนังสือ

4) ส่วนที่ 4 หลักธรรมที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้

5) ส่วนที่ 5 สรุปและข้อเสนอแนะ

6) บรรณานุกรม

5. ระบบการอ้างอิงและบรรณานุกรมทางวิชาการ

เอกสารที่นำมาอ้างอิงควรได้มาจากแหล่งที่มีการตีพิมพ์ชัดเจน อาจเป็นวารสาร หนังสือหรือข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ทั้งนี้ ผู้เขียนบทความต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องของเอกสารอ้างอิงทั้งหมดก่อนส่งต้นฉบับ ผู้เขียนบทความควรตรวจสอบถึงความถูกต้อง ของการอ้างอิงเอกสาร เพื่อป้องกันความล่าช้าในการตีพิมพ์บทความ เนื่องจากบทความที่มีการอ้างอิงไม่ถูกต้องจะไม่ได้รับการส่งต่อเพื่อพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจนกว่าการอ้างอิงเอกสารจะได้รับการแก้ไขให้ถูกต้อง

5.1 การอ้างอิงในเนื้อหาบทความ แบบนามปี (APA)

รูปแบบการอ้างอิงในเนื้อเรื่องและท้ายเล่มใช้ วิธีการอ้างอิงระบบ นาม ñ ปี ตามรูปแบบของ American Psychological Association (APA) ให้ใช้ระบบตัวอักษรโดยใช้วงเล็บ เปิด-ปิด แล้วระบุชื่อ-นามสกุล ของผู้เขียน และเลขหน้า ของเอกสารที่นำมาอ้างอิง กำกับท้ายเนื้อความที่ใต้อ้างอิง เอกสารที่อ้างอิงในบทความจะต้องปรากฏในเอกสารอ้างอิงท้ายบทความทุกรายการ และเจ้าของบทความต้องรับผิดชอบถึงความถูกต้องของเอกสารที่นำมาอ้างอิงทั้งหมด โดยรูปแบบของการอ้างอิงเอกสาร มีดังนี้

อ้างอิงจากเอกสารภาษาไทย

1) พระไตรปิฎก และอรรถกถา ให้อ้างชื่อคัมภีร์ เล่มที่ ข้อ เครื่องหมายทวิภาค (:) และเลขหน้าของเอกสารที่นำมาอ้างอิง เช่น (พระไตรปิฎกภาษาไทย เล่ม 15 ข้อ 16: 282-283), (พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถา แปล เล่ม 16: 256-320)

2) ผู้แต่งหนึ่งรายให้อ้างชื่อผู้แต่ง เครื่องหมายจุลภาค (,) ตามด้วยปีที่พิมพ์ เครื่องหมายทวิภาค (:) และเลขหน้าของเอกสารที่นำมาอ้างอิง เช่น (พระมหาสุทิตย์ อาภากโร. 2554: 44)

3) ผู้แต่งสองรายให้อ้างชื่อของผู้แต่งสองราย เครื่องหมายจุลภาค (,) ตามด้วยปีที่ พิมพ์เครื่องหมายทวิภาค (:) และเลขหน้าของเอกสารที่นำมาอ้างอิง เช่น (พระมหาสุทิตย์ อาภากโร และ เขมณัฏฐ์ อินทรสุวรรณ, 2553: 44) หากมีเอกสารที่นำมาอ้างอิงมากกว่า 1 รายการให้ใช้เครื่องหมายอัฒภาค (;) คั่นระหว่างรายการอ้างอิง เช่น (พระธรรมโกศาจารย์ ประยูร ธมฺมจิตฺโต, 2548: 8; พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, 2554: 44)

4) ถ้ามีผู้แต่งมากกว่า 2 รายให้อ้างชื่อของผู้แต่งรายแรก เว้นวรรคหนึ่งครั้ง เพิ่มคำว่าและคณะ เครื่องหมายทวิภาค (:) และเลขหน้าของเอกสารที่นำมาอ้างอิง เช่น (พระเทพโสภณ ประยูร ธมฺมจิตฺโต และคณะ, 2548: 55)

5) ให้เรียงลำดับการอ้างอิงตามลำดับพยัญชนะตัวแรกของชื่อผู้แต่ง เช่นเดียวกับลำดับการอ้างอิงในส่วนเอกสารอ้างอิง

อ้างอิงจากเอกสารภาษาอังกฤษ

1) ถ้ามีผู้แต่งหนึ่งรายให้อ้างนามสกุลของผู้แต่ง เครื่องหมายจุลภาค ปีที่พิมพ์ และ หน้าที่นำมาอ้างอิง เช่น (Keown, 2003: 4)

2) ถ้ามีผู้แต่งสองรายให้อ้างนามสกุล ของผู้แต่งสองราย เครื่องหมายจุลภาค ปีที่พิมพ์ และหน้าที่นำมาอ้างอิง เช่น (Hersey & Blanchard, 2000: 3) และให้ใช้เครื่องหมาย อัฒภาค (;) คั่นกลางระหว่างเอกสารที่นำมาอ้างอิงมากกว่า 1 เอกสาร เช่น (Keown, 2003: 4; Hersey & Blanchard, 2000: 3)

3) ถ้ามีผู้แต่งมากกว่า 2 รายให้อ้างนามสกุลของผู้แต่งรายแรก ตามด้วย et al, ปีที่พิมพ์ และหน้าที่นำมาอ้างอิง (Kaiser et al., 2008: 55)

4) ให้เรียงลำดับการอ้างอิงชื่อผู้แต่ง

5) บรรณานุกรมที่เป็นภาษาไทย ชื่อผู้เขียนใช้ชื่อเต็ม-นามสกุล และให้แปลจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ เพิ่มเติมต่อท้ายในหัวข้อ TRANSLATED THAI REFERENCES

หลักเกณฑ์ทั่วไปในการพิมพ์รายการสำนักพิมพ์/โรงพิมพ์

กรณีเป็นสำนักพิมพ์หรือบริษัทให้คงไว้เฉพาะชื่อ ดังตัวอย่าง

1) บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด ใช้ 21 เซ็นจูรี่

2) สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ใช้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

3) กรณีที่เป็นโรงพิมพ์ให้ใช้รูปแบบเต็ม เช่น โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

5.2 บรรณานุกรม

(1) พระไตรปิฎก อรรถกถา

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.  (2539).  พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

(2) หนังสือ

รูปแบบ : ผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อหนังสือ. (ครั้งที่พิมพ์). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์ หรือโรงพิมพ์.  (. การวรรค 2 ครั้ง)

ตัวอย่าง :

พระมหาสุทิตย์ อาภากโร, ดร.  (2548).  เครือข่าย : ธรรมชาติ ความรู้ และการจัดการ. พิมพ์ครั้งที่ 2.  กรุงเทพมหานคร: พิสิษฐ์ ไทย ออฟเซต.

(3) บทความในหนังสือ

รูปแบบ : ผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ใน ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ). ชื่อเรื่อง (เลขหน้าที่อ้าง). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์.

ตัวอย่าง :

พระสุกิจจ์  สุจิณฺโณ. (2559). การสร้างความคิดนามธรรมในวัฒนธรรมไทย ใน ปวิตร ว่องวีระ.ทฤษฎี และวิธีวิทยาของการวิจัยวัฒนธรรม (หน้า 112). กรุงเทพมหานคร: อัมรินทร์.

(4) บทความจากวารสาร

รูปแบบ : ผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร. ปีที่ (ฉบับที่), เลขหน้าแรก ที่ตีพิมพ์-เลขหน้าสุดท้ายที่ตีพิมพ์.

ตัวอย่าง :

ธิติวุฒิ หมั่นมี.  (2557).  การวางแผนและการติดต่อประสานงานเชิงพุทธ : สังคหวัตถุ 4 เครื่องมือ การวางแผนและการติดต่อประสานงานสู่ความสำเร็จ.  วารสาร มจร สังคมศาสตรปริทรรศน์. 3 (1), 25-31.

(5) บทความในสารานุกรม

รูปแบบ : ผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ใน ชื่อสารานุกรม, (เล่มที่อ้าง, หน้า เลขหน้าที่อ้าง).สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์.

ตัวอย่าง :

สนิท อาจพันธ์.  (2537).  หม้อคอควาย. ใน สารานุกรมของใช้พื้นบ้านไทยในอดีตเขตหัวเมืองฝ่ายเหนือ (หน้า 274-275). กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พลับลิชชิ่ง.

Sturgeon, T.  (1995). Science fiction.  In The encyclopaedia Americana (Vol.24, pp.390-392). Danbury, CT: Grolier Press.

(6) หนังสือพิมพ์

รูปแบบ : ผู้แต่ง. (วันที่ เดือน ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อหนังสือพิมพ์, เลขหน้า.

ตัวอย่าง :

สุชาติ  เผือกสกนธ์.  (9 มิถุนายน 2549).  ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง.  ผู้จัดการรายวัน, น.13.

(7 ) วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง รายงานการวิจัย

ชื่อผู้เขียน. (ปีพิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์. ระดับวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์/หรือการค้นคว้าแบบอิสระ/ชื่อมหาวิทยาลัย.

ตัวอย่าง :

สัมฤทธิ์ ต่อสติ.  (2542). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานของสถานบริการ สาธารณสุขเขตเมือง กรณีศึกษาศูนย์: แพทย์ชุมชนเมืองพระนครศรีอยุธยาวิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.

(8) สัมภาษณ์

รูปแบบ : ชื่อผู้ที่ไค้รับการสัมภาษณ์. (ปี). ตำแหน่ง. สัมภาษณ์. วัน เดือน.

ตัวอย่าง :

พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺ.โต).  (2558).  อธิการบดี, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. สัมภาษณ์.18 เมษายน.

(9) สื่อออนไลน์

รูปแบบ : ผู้แต่ง. (วันที่ เดือน ปีที่เผยแพร่). ชื่อบทความ. สืบค้นเมื่อ วันที่ เดือน ปี, จาก แหล่งที่อยู่ไฟล์ (URL)

ตัวอย่าง :

พระศรีคัมภีรญาณ(สมจินต์ สมฺมาปญฺโญ).  (1 พฤษภาคม 2555).  การจัดการศาสนาและ วัฒนธรรมในอุษาอาคเนย์เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2556, จาก http://www.mcu.ac.th/site/artidecontent_desc.php?artide_id=1304& articlegroup_id=274

Doyle, M. W..  (22 June 2004).  Liberal Internationalism: Peace, War and Democracy.  Retrieved September 2, 2013, from http://www.nobelprize.org/ nobel_prizes/ themes/peace/doyle/ index.html

(10)  การแปลบรรณานุกรมจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ

ตัวอย่าง :

ลักษณ์วัต ปาละรัตน์.  (2545).  สตรีในมุมมองของพุทธปรัชญา. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

TRANSLATED THAI REFERENCES

Palaratana, L..  (2002). Women in the Perspective of Buddhist Philosophy.Bangkok: Chulalongkorn University.

ตัวอย่างบรรณานุกรม

บรรณานุกรม

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต).  (2548). โลกทัศน์ชาวพุทธ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺ.โต).  (2551).  การแพทย์ยุคใหม่ในพุทธทัศน์.  (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก.

พงศ์ศานต์  พิทักษ์มหาเกตุ.  (2538).  ชาวบ้านกับช่องทางประกอบธุรกิจท่องเที่ยว แนวคิดในการจัดตั้งสหกรณ์บริการนำเที่ยวแนวอนุรักษ์แห่งประเทศไทย.กรุงเทพมหานคร: ปกเกล้า.

โกนิฏฐ์  ศรีทอง.  (2558). การบูรณาการภูมิปัญญาพระพุทธศาสนากับการเสริมสร้างความสมดุลของระบบนิเวศวิทยาชุมชน. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระศรีคัมภีรญาณ (สมจินต์ สมฺมาปญฺโญ).  (1 พฤษภาคม 2555).  การจัดการศาสนาและ วัฒนธรรมในอุษาอาคเนย์เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน.

2556, แหล่งที่มา http://www.mcu.ac.th/site/artidecontent_desc.php?artide_id=1304& articlegroup_id=274

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.  (2535).  พระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฎกํ 2500. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550.  ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนที่ 47 ก, 24 สิงหาคม 2550.

Boo Elizabeth.  (1990). Ecotourism: The Potentials and Pitfalls.  Vol.1 and  2. World Wildlife Fund. Washington, D.C.

Boo Elizabeth.  (1991).  ìMaking Ecotourism Sustainable: Recommendations for Planning, Development, and Management.î In Nature Tourism Managing for the Environment. Island Press, Washington, D.C.

Keown, D.  (1995). Are There ìHuman Rightî in Buddhism. London: University of London.

Kiarash, A..  (2007). Human Dignity in Islamic Bioethics.  The Iranian Journal of Allergy. 6 (5), 25-28.

John J. L.  (1987). Carrying Capacity for Tourism Development in National Part of the United States. UNEP. Industry and Environment. Vol. 9 No.1.

Bergstein, M..  (2000). Tubular function. In E. B. Richard, M. K. Robert & B. J. Hal (Eds.). Nelson textbook of paediatrics (16th ed., p. 596). Phil
adelphia: Saunders.

TRANSLATED THAI REFERENCES

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1990). Tipitaka : Thai Version. BKK: MCU Press. [A III. (Thai) Vol. 20]. [in Thai].

Palaratana, L. (2002). Women in the Perspective of Buddhist Philosophy.Bangkok: Chulalongkorn University, [in Thai]

Phra Dharmakosajarn (Prayoon Dhammacitto). (2006). Buddhist Adminis-tration. BKK: MCU Press, [in Thai]

6. หลักเกณฑ์การส่งต้นฉบับบทความเพื่อได้รับการตีพิมพ์

ส่งบทความเข้าระบบ Thaijo    สามารถส่งเข้าระบบออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ ของวารสาร พุทธศาสตร์ศึกษา ได้ที่  https://www.tci-thaijo.org/index.php/JBS/ ให้กรอกแบบฟอร์มข้อมูลผู้เขียนตามที่วารสารกำหนด และทำการ upload บทความเข้าสู่ระบบ และสามารถติดต่อทาง jbs@mcu.ac.th

7.  ขั้นตอนการนำบทความลงตีพิมพ์ลงในวารสารพุทธศาสตร์ศึกษา

ต้นฉบับบทความที่เสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารให้อยู่ในรูปแบบของไฟล์เอกสาร *.doc ของ Microsoft Word หรือเทียบเท่า หากต้นฉบับประกอบด้วยภาพ ตาราง

หรือสมการ ให้ส่งแยกจากไฟล์เอกสาร ในรูปแบบไฟล์รูปภาพ ในสกุล *.pdf  *.jpg *.png หรือ *.bmp ความยาวของต้นฉบับต้องไม่เกิน 15 หน้า (รวมบทคัดย่อ ภาพ ตารางและเอกสารอ้างอิง) กองบรรณาธิการจะพิจารณาบทความเบื้องต้น เกี่ยวกับความถูกต้องของรูปแบบทั่วไป ถ้าไม่ผ่านการพิจารณาจะส่งกลับไปแก้ไข ถ้าผ่าน จะเข้าสู่การพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิ เมื่อผลการประเมินผ่าน หรือ ไม่ผ่าน หรือมีการแก้ไข จะแจ้งผลให้ผู้เขียนทราบ โดยการพิจารณาบทความเพื่อลงตีพิมพ์ได้จะคำนึงถึงความหลากหลายและความเหมาะสม

8. สิทธิของบรรณาธิการ

ในกรณีที่กองบรรณาธิการหรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ทรงคุณวุฒิผู้ตรวจประเมินบทความมีความเห็นว่า ควรแก้ไข กองบรรณาธิการจะส่งคืนเพื่อให้เจ้าของบทความแก้ไข โดยจะยึดถือข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิผู้ตรวจประเมินเป็นเกณฑ์หลัก และหรือขอสงวนสิทธิ์ที่จะพิจารณาไม่ตีพิมพ์ ในกรณีที่รายงานการวิจัย บทความทางวิชาการหรือบทความวิจัยไม่ตรงกับแนวทางของวารสารพุทธศาสตร์ศึกษา หรือไม่ผ่านการพิจารณาของกองบรรณาธิการหรือผู้เชี่ยวชาญ เมื่อบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ผู้เขียนสามารถ
Download ได้ที่หน้าเวปไซต์ของวารสาร https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS พร้อมกับหนังสือรับรองการตีพิมพ์บทความในวารสาร พุทธศาสตร์ศึกษา