วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS
<p> ตั้งแต่ ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2563) เป็นต้นไป ได้ยกเลิกการตีพิมพ์รูปเล่มวารสารโดยจะเผยแพร่บทความแบบออนไลน์เพียงช่องทางเดียว</p>
th-TH
วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา
1905-534X
-
การศึกษาเปรียบเทียบจิตรกรรมฝาผนังไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นและแฟลตดีไซน์
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/272741
<p class="p1">บทความวิชาการเรื่องนี้ กล่าวถึงการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างภาพจิตรกรรมฝาผนังสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นกับแฟลตดีไซน์<span class="Apple-converted-space"> </span>เพื่อนำมาวิเคราะห์สัญญะ เปรียบเทียบโดยใช้ หลักองค์ประกอบของศิลปะ โดยชลูด นิ่มเสมอ ที่แบ่งเป็นสองส่วนสำคัญคือ ด้านรูปทรง และ ด้านเนื้อหา โดยค้นหาทั้งความเหมือนและความต่าง เพื่อนำมาวิเคราะห์ และคำนึงถึงการนำไปใช้ในการออกแบบสื่อในปัจจุบัน</p> <p class="p1">จิตรกรรมฝาผนังสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เกิดขึ้นในยุคก่อร่างสร้างเมืองของกรุงเทพมหานครช่วงปี พ.ศ.<span class="Apple-converted-space"> </span>2325-2394 ที่สร้างขึ้นเพื่อตกแต่งสถานที่และบอกเล่าเรื่องราวทางพุทธศาสนา รวมไปถึงบอกเล่าถึงแนวคิดและวิถีชีวิตของคนไทยสมัยก่อน เห็นได้ชัดว่าลักษณะของจิตรกรรมฝาผนังมีลักษณะเป็นภาพสองมิติคือ กว้าง และยาว ไม่มีความลึก แต่มีรูปทรงที่อ่อนช้อย หากเป็นภาพบุคคลก็จะแสดงท่าทางแบบนาฏลักษณ์ และเน้นการตัดเส้นที่หนักแน่นชัดเจน เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับแฟลตดีไซน์แล้วพบว่ามีทั้งความเหมือนและความต่างในหลากหลายมุมมองตามหลักองค์ประกอบของศิลปะ แต่เมื่อวิเคราะห์ในเชิงรูปทรงแล้วแฟลตดีไซน์มีความเหมือนกับภาพจิตรกรรมฝาผนังในยุคสมัยดังกล่าวโดยมีลักษณะเด่น คือ เป็นภาพที่มีความแบนและเน้นการตัดเส้นที่ชัดเจนเฉียบคม แตกต่างกันเพียงส่วนเนื้อหาที่ภาพจิตรกรรมฝาผนังจะเน้นเฉพาะเรื่องราวทางพุทธศาสนาเป็นหลัก ส่วนเรื่องราวที่ปรากฏอยู่ในแฟลตดีไซน์ นั้นจะสามารถถ่ายทอดได้อย่างหลากหลายมากกว่า โดยใช้เวลา สถานที่ และกำลังคนที่น้อยกว่าตามไปด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการนำไปใช้งาน</p> <p class="p1">แม้ว่าภาพจิตรกรรมแบบประเพณี และ แบบดิจิทัล จะมีลักษณะแตกต่างกันก็ตาม แต่ยังคงความเชื่อมโยงบางประการ เช่น เป็นภาพที่มีลักษณะแบน และ มีการตัดเส้นขอบ เป็นต้น ซึ่งสามารถนำไปต่อยอดพัฒนาสร้างสรรค์งานในลักษณะอื่น ๆ ต่อไปในอนาคต เนื่องจากภาพทั้งสองแบบเป็นภาพที่ถูกออกแบบมาเพื่อ ìสื่อî ข้อความบางสิ่งผ่าน ìสารî ที่มีในแต่ละยุคสมัย</p> <p class="p2"> </p>
นันท์ภัสกร ล่ำภากร
อนุชา แพ่งเกษร
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-25
2024-12-25
15 2
261
276
-
สารัตถะในพระสังคณีสำนวนล้านนา
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/266058
<p>สารัตถะในพระสังคณีสำนวนล้านนา จินตกวีได้เริ่มอารัมภบทถึงประวัติของพระพุทธเจ้าตอนที่ตรัสรู้เหนือโพธิบัลลังก์ ในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ แล้วประทับที่โคนต้นพระศรีมหาโพธิ์ ตลอด 7 วัน ทรงพิจารณาถึงพระธรรมที่พระองค์ทรงบรรลุ ทรงเห็นว่า เป็นธรรมที่มีความหมายสุขุมละเอียด โดยพระองค์รำพึงในพระทัยว่าจะไม่แสดงแก่ใคร จนท้าวสหัมบดีพรหมมาอาราธนาให้แสดงธรรมแก่สัตว์โลก แล้วจินตกวีก็ขยายความไปถึงพระพุทธเจ้าปรารภเทศนาอภิธรรมปิฎกอันเป็นสัณหสุขุมคัมภีร์ธรรมแก่พุทธมารดา โดยเริ่มตัวมาติกาว่า จินตกวีก็ยกเอาอรรถกถามาขยายความเพิ่มถึงเหตุแห่งการที่ได้ชื่อว่าอภิธรรม อภิ อติเรโก ธมฺโม อภิธมฺโม แล้วจึงแสดงขันธาทิธรรมอันเป็นเอกเทสว่า อภิธรรมประกอบด้วยคัมภีร์ภาวะ ๕ ประการ แสดงอปริตลักขณะ คือ ลักขณะแห่งกุสลาทิธรรม ขันธาทิธรรม ปรมัตถะ 4 โกฏฐาก คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน การพิจารณาอัตถะแห่ง กุสลติกมาติกา ด้วยอันย่อพึงรู้ ธมฺมา คือ นิสฺสตฺตนิชฺชีวสภาวา อันว่า สภาวะทั้งหลายอันใช่สัตว์ใช่ชีวะ การนับเจตสิกสัมปยุต ในปถมบทได้ 38 คือ อญฺญสมานา 13 โสภณเจตสิก 25 เจตสิกสมฺปยุตฺต ในทุติยบทได้ 27 คือ อญฺญสมานา 13 อกุศลเจตสิก 14 เจตสิกสมฺปยุตฺต ในตติยบทได้ 38 คือ อญฺญสมานา 13 โสภณเจตสิก 25 มรณาสันนวิถี อารัมมณนิสสย อารัมมณวิปปยุตต ปรารภซึ่งรูปาทิอารัมมณอันเป็นอตีต อนาคต เป็นครุกาตัพพ ปรารภซึ่งธรรมารัมมณ คือมัคคะ 3 เบื้องต่ำ ได้อารัมมณปัจจัย 3 คือ อารัมมณ อารัมมณาธิปติ อารัมมณุปนิสสย แสดงการรับรู้อารมณ์ของอายตนะทั้ง 6 พร้อมทั้งยกฎีกาอภิธรรมมาขยายความเพิ่มเติม แล้วจึงสรุปอภิธรรมปิฏกสังคณีปกรณ์ว่าเป็นปกรณ์อันเป็นที่พระพุทธเจ้ารวบรวมเอาปรมัตถธรรม 4 คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน แจกให้เป็นติก 22 เป็นสุตตันติกมาติกา 42 ทุกก ได้สังวัณณนากุศลติกสิ่งเดียว คือ กุสลา ธมฺมา อกุสลา ธมฺมา อพฺยากตา ธมฺมา ได้ปรมัตถธรรมทั้งหมด คือ จิต 89 ดวง นัย 1 ว่า 121 เจตสิก 52 รูป 28 นิพพาน ปถมบทสรูปได้กุศลจิต 21 ดวง</p>
พระครูปริยัติเจติยานุรักษ์ โสภาราช
พระมหาจักรพันธ์ สุระโพธา
พระครูสมุห์วัลลภ
วิโรจน์ อินทนนท์
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-25
2024-12-25
15 2
277
293
-
ซาร์โค แคปซูลการุณยฆาต : มุมมองในทางพระพุทธศาสนา
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/273771
<p> บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวคิดการกระทำการุณยฆาตโดยใช้แคปซูล ซาร์โค ในมุมมองของพระพุทธศาสนาด้านจริยธรรม การเกิดขึ้นของนวัตกรรมเทคโนโลยี แคปซูล การุณยฆาต ที่ชื่อ ซาร์โค ซึ่งผ่านการรับรองทางกฎหมายจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ถือเป็นความท้าทายในเรื่องของจริยศาสตร์ที่ต้องหาเหตุผลมาอธิบายถึงสิทธิในการตัดสินใจเพื่อจบชีวิตของตนเอง เพราะไม่สามารถที่จะทนอยู่มีชีวิต อันเนื่องมาจากสภาพความเป็นทุกข์ทั้งทางร่างกายที่เกิดจากโรคภัยไข้เจ็บที่ไม่มีวันรักษาให้หายขาด หรือโรคทางจิตใจที่ไม่สามารถยอมรับการมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ โดยในมุมมองของพระพุทธศาสนาต่อการุณยฆาต ไม่ว่าจะทางตรง หรือทางอ้อม ถือว่า ซาร์โค อาจไม่ผิดศีลในข้อปาณาติบาตเพราะไม่ได้ฆ่าผู้อื่น แต่อาจผิดธรรมคือทำให้จิตใจเศร้าหมอง ประเด็นเรื่องกรรมหรือกฎแห่งกรรม การทำการุณยฆาตเหมือนเป็นการไปแทรกแซงผลของกรรมที่กำลังให้ผลกับบุคคลผู้นั้น ด้วยเหตุนี้พระพุทธศาสนาจึงคัดค้านในเรื่องของการุณยฆาต ดังนั้น ซาร์โค แคปซูลการุณยฆาต จึงเป็นนวัตกรรมวิทยาการสมัยใหม่ที่อาจไม่สอดคล้องกับหลักจริยธรรมทางพระพุทธศาสนา </p>
ยุรธร จีนา
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-25
2024-12-25
15 2
294
314
-
พระสงฆ์กับการส่งเสริมสวัสดิการสังคมของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลโหล่งขอด อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ประจำปี 2565
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/268330
<p>การศึกษานี้มุ่งเน้นการดำเนินงานของพระสงฆ์ในตำบล โหล่งขอด อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ในการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมในหลายมิติ ได้แก่ ด้านสังคม ด้านวัฒนธรรม ด้านเศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม โดยมีวัตถุประสงค์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาควบคู่กับการพัฒนาสังคม การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และการพัฒนาชุมชน ดังนี้ 1) ด้านสังคม พระสงฆ์จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมความสามัคคีในชุมชน ช่วยเหลือผู้ยากไร้และผู้สูงอายุ รวมถึงการจัดตั้งกลุ่มต่าง ๆ เพื่อพัฒนาศักยภาพของคนในชุมชน 2) ด้านวัฒนธรรม อนุรักษ์และส่งเสริมประเพณีท้องถิ่น จัดงานเทศกาลที่สำคัญ และสอนหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา 3) ด้านเศรษฐกิจ พระสงฆ์ส่งเสริมการเกษตรกรรม การใช้ทรัพยากรในชุมชน การฝึกอาชีพ และการสร้างรายได้ให้กับชุมชน โดยเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นอกจากนี้ยังมีการสนับสนุนการสร้างผลิตภัณฑ์ชุมชนและการจัดตั้งกลุ่มอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน 4) ด้านสิ่งแวดล้อม มีการรณรงค์ให้ปลูกต้นไม้ รักษาความสะอาดในชุมชน และจัดการขยะอย่างถูกวิธี รวมถึงการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ เช่น การบวชป่า การสร้างแนวกันไฟ การปลูกป่าทดแทน และการสร้างฝายชะลอน้ำ เพื่อรักษาสมดุลของระบบนิเวศ</p> <p>การดำเนินงานของพระสงฆ์ทำให้ชุมชนมีความเจริญรุ่งเรือง สามารถพึ่งพาตนเองได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข โดยมีวัดเป็นศูนย์กลางการรักษาสวัสดิการชุมชนและเชื่อมโยงกิจกรรมพัฒนาชุมชนให้เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการพัฒนาที่เข้มแข็งและยั่งยืน การดำเนินงานเหล่านี้ยังสนับสนุนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในชุมชน เช่น หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน หรือกลุ่มองค์กร ต่าง ๆ เพื่อสร้างความร่วมมือในการพัฒนาชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน</p>
พระมหาธัมมจารี ปุญฺญธมฺโม (จารินทร์)
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-25
2024-12-25
15 2
315
332
-
ศึกษาวิเคราะห์พระธรรมเทศนาพื้นเมืองเหนือ เรื่องมาลัยโผดโลก
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/271843
<p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประวัติและความสำคัญของพระธรรมเทศนาพื้นเมืองเหนือ เรื่องมาลัยโผดโลก2) เพื่อศึกษาเนื้อหาและโครงสร้างของพระธรรมเทศนาพื้นเมืองเหนือ เรื่องมาลัยโผดโลก 3) เพื่อวิเคราะห์พระธรรมเทศนาพื้นเมืองเหนือ เรื่องมาลัยโผดโลก เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร รวบรวมข้อมูลจากหนังสือ เอกสาร คัมภีร์ วารสารและวิทยานิพนธ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีพรรณนา</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1.ประวัติความเป็นมาเรื่องพระมาลัยนี้ สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยหรือก่อนหน้านั้นแล้ว เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับนรก สวรรค์ คนที่ตกนรกและผู้ที่อยู่บนสวรรค์ คนที่ได้ฟังหันมานับถือพระพุทธศาสนา วรรณกรรมเรื่องพระมาลัยมีเขียนไว้หลายสำนวน มีทั้งสำนวน ภาคเหนือ ที่เป็นสำนวนท้องถิ่น เป็นสมุดข่อยและฉบับใบลานและใช้ภาษาถิ่นในการจดจาร อักษรธรรมล้านนา เผยแพร่ด้วยสำนวนภาษาเฉพาะท้องถิ่นตน 2.การศึกษาเนื้อหาและโครงสร้างของพระธรรมเทศนาพื้นเมืองเหนือ เรื่องมาลัยโผดโลกทำให้ทราบถึงคำสอนในเรื่องนี้ไม่ให้ประมาทในการใช้ชีวิตเพราะผลของกรรมที่จะได้รับหากทำผิดศีลธรรมตามหลักศาสนาจะส่งผลร้ายไปถึงภพหน้า ธรรมเรื่องมาลัยโผดโลกจึงเป็นการสอนจริยธรรม 3.จากการวิเคราะห์พระธรรมเทศนาพื้นเมืองเหนือ เรื่องมาลัยโผดโลก พบว่าผู้ประพันธ์ใช้แนวคิดจากเนื้อหาคำสอนในพระไตรปิฎกเอาสาระธรรมมาสร้างวรรณกรรมที่เน้นจุดเด่นเรื่องผลของกรรม โดยบรรยายภาพที่สะเทือนความรู้สึกทั้งทางบวกและทางลบ คือผลของการทำดีจะทำให้ได้ไปสวรรค์ หากทำชั่วจะได้ไปสู่นรก เป็นวรรณกรรมคำสอนที่เข้าเกณฑ์พุทธจริยศาสตร์ทั้ง 3 ระดับ</p>
พระบุญชลิต เขื่อนควบ
พระมหาวิเศษ ปญฺญาวชิ
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-25
2024-12-25
15 2
1
13
-
รูปแบบการอธิบายเรื่องภพภูมิเพื่อแก้ปัญหาเรื่องกรรม และการเกิดใหม่ในสังคมปัจจุบัน
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/272873
<p>This research had three main objectives: 1) to study the concept of phap phum (realms of existence) as found in the Pali Canon, 2) to explore the relationship between phap phum and other Buddhist teachings, and 3) to propose a model for explaining phap phum that addresses issues related to karma and rebirth in contemporary society.</p> <p>The research findings indicate that phap phum in Buddhism has multiple meanings, including the state of existence within various realms, the condition of possessing or experiencing certain phenomena, and the concept of karma and the cycle of birth and death (samsara) as described in the Pali Canon. Phap phum is categorized into three levels: 1) kama bhava (realm of sensual desire), 2) rupa bhava (realm of form), and 3) arupa bhava (realm of formlessness).</p> <p>The analysis of the relationship between phap phum and other Buddhist teachings revealed two key aspects: 1) a cosmological or ontological structure that explains the arising and dissolution of realms according to the law of anicca (impermanence), and 2) a psychological process that emphasizes the internal formation of phap phum through ignorance, craving, and clinging. These two perspectives are intricately connected to Buddhist ethics, integrating metaphysical concepts with moral philosophy.</p> <p>In proposing a model for explaining phap phum to address issues of karma and rebirth in modern society, the research suggests applying the doctrine of dependent origination (paticca-samuppada) with a focus on present-life experiences that can be empirically verified. This approach emphasizes the value of present happiness and suffering over those in the afterlife, without rejecting the metaphysical aspects of phap phum and the cycle of rebirth. It highlights the benefits that can be realized in this life, suggesting that once individual and societal problems are properly addressed, concerns about the afterlife become secondary. This approach remains consistent with the Buddhist belief in samsara.</p> <p> </p> <p><strong>Keywords:</strong> Realms of existence, Karma, Rebirth</p>
พระครูโสภิตพัฒนโชติ (สุพรรณ เตจ๊ะ)
พูนชัย ปันธิยะ
เทพประวิณ จันทร์แรง
สยาม ราชวัตร
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-25
2024-12-25
15 2
14
25
-
คัมภีร์พุทธโฆสาจริยนิทาน : การชำระและการวิเคราะห์
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/275290
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาชีวิตและผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์ 2) เพื่อปริวรรต ตรวจชำระคัมภีร์พุทธโฆสาจริยนิทานจากต้นฉบับภาษาบาลีอักษรขอมเป็นภาษาบาลีอักษรไทย และแปลเป็นภาษาไทย และ 3) เพื่อวิเคราะห์คัมภีร์พุทธโฆสาจริยนิทาน การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงเอกสาร โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากต้นฉบับคัมภีร์ พุทธโฆสาจริยนิทาน ฉบับสมบูรณ์ที่สุดจำนวน 3 ผูก ปริวรรตต้นฉบับภาษาบาลีอักษรขอมให้เป็นภาษาบาลีอักษรไทย และแปลเป็นภาษาไทย วิเคราะห์เนื้อหาโดยเปรียบเทียบกับคัมภีร์สำคัญอื่น ๆ เช่น พระไตรปิฎก และคัมภีร์อรรถกถา ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1) ชีวิตและผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์ พระพุทธโฆสาจารย์เป็นพระคันถรจนาจารย์ชาวอินเดียในช่วงพุทธศตวรรษที่ 10 ผลงานสำคัญคือ วิสุทธิมรรค ซึ่งรวบรวมคำสอนเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรม ท่านมีบทบาทสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปยังหลายประเทศ โดยเฉพาะการประดิษฐานในศรีลังกา</p> <p>2) การปริวรรตคัมภีร์ พุทธโฆสาจริยนิทาน คัมภีร์นี้ประพันธ์โดยพระมหามังคลเถระ มีเนื้อหาครอบคลุมชีวิตของพระพุทธโฆสาจารย์ ตั้งแต่การศึกษาในอินเดียและศรีลังกา การรจนาคัมภีร์ เช่น วิสุทธิมรรค และบทบาทในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา การวิจัยได้แปลและตรวจสอบคัมภีร์ 3 ผูกที่สมบูรณ์ที่สุด เพื่อเผยแพร่ความรู้ในภาษาไทย</p> <p>3) การวิเคราะห์คัมภีร์ พุทธโฆสาจริยนิทาน คัมภีร์นี้เขียนแบบร้อยแก้วผสมร้อยกรอง และอ้างอิงคัมภีร์สำคัญหลายแห่ง เช่น พระไตรปิฎกและคัมภีร์อภิธัมมาวตาร จึงมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และพัฒนาการของพุทธศาสนา โดยเฉพาะการแพร่ขยายจากอินเดียสู่ศรีลังกาและบทบาทของพระพุทธโฆสาจารย์ในการพัฒนาพุทธศาสนาเถรวาท</p>
พระมหาอนันตชัย ชินาสโภ
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-25
2024-12-25
15 2
26
38
-
รูปแบบศาสตร์แห่งการตีความเชิงปรัชญาในคัมภีร์ธัมมปทัฏฐกถา
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/272647
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีศาสตร์แห่งการตีความทั่วไป พัฒนาศาสตร์แห่งการตีความเชิงปรัชญาในคัมภีร์ธัมมปทัฏฐกถา และนำเสนอรูปแบบศาสตร์แห่งการตีความเชิงปรัชญาในคัมภีร์ธัมมปทัฏฐกถา เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยการศึกษาเอกสารจากพระไตรปิฎก อรรถกถา วรรณกรรมและบทความที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดศาสตร์แห่งการตีความ จากนั้น วิเคราะห์เนื้อหาด้วยการจำแนกประเภทของข้อมูลและวิเคราะห์เชิงพรรณนาปรากฏการณ์ที่ปรากฏในคัมภีร์</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. การศึกษาแนวคิดและทฤษฎีศาสตร์แห่งการตีความ โดยแนวคิดศาสตร์แห่งการตีความทางตะวันตกมีลักษณะเป็นแนวคิดทางเทววิทยา ปรัชญาสังคม และอัตถิภาวนิยม ส่วนทฤษฎีศาสตร์แห่งการตีความเป็นการตีความทางศาสนาและการตีความสากล สำหรับแนวคิดศาสตร์แห่งการตีความในพุทธปรัชญาจำแนกเป็นแบบจำกัดความ ขยายความ อธิบายความ และวินิจฉัยความ ส่วนทฤษฎีศาสตร์แห่งการตีความเป็นทฤษฎีปฏิสัมพัทธนิยม 2. การพัฒนาศาสตร์แห่งการตีความเชิงปรัชญาพบแนวคิดหลัก คือ 1) การตีความแบบพุทธภาษิต ดังปรากฏในเรื่องธัมมิกอุบาสก 2) การตีความแบบเนตติปกรณ์ ดังปรากฏในเรื่องพราหมณ์ชื่อจูเฬกสาฎก 3. การนำเสนอรูปแบบศาสตร์แห่งการตีความเชิงปรัชญาที่สำคัญ คือ 1) การตีความแบบพุทธภาษิต ซึ่งมีฐานคิดแบบ DEED Concept 2) การตีความแบบเนตติปกรณ์ โโดยเฉพาะตามหลักของหาระ 16 ในข้อเทสนาหาระและวิจยหาระ องค์ความรู้จากการวิจัย คือ การได้รูปแบบการตีความ 1) แบบพุทธภาษิตที่มีลักษณะแบบหัวก้าวหน้า-ตีความตามบริบท-มีฐานคิดแบบ DEED Concept-ตีความเชิงบุคลาธิษฐาน 2) แบบเนตติปกรณ์ที่เน้นอนุรักษนิยม-ตีความตามตัวบท-มีฐานคิดตามหลักอริยสัจ-ตีความเชิงธรรมาธิษฐาน</p>
สุรชัย พุดชู
แม่ชีเนตรนภา สุทธิรัตน์
อริสา สายศรีโกศล
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-25
2024-12-25
15 2
39
58
-
แนวทางการทำพินัยกรรมชีวิตเชิงพุทธบูรณาการ
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/265209
<p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาเกี่ยวกับการทำพินัยกรรมชีวิต ในสังคมไทย 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่เกี่ยวกับการทำพินัยกรรมชีวิต 3) เพื่อเสนอแนวทางการทำพินัยกรรมชีวิต เชิงพุทธบูรณาการ เป็นผลงานวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 30 รูป/คน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาการทำพินัยกรรมชีวิตในสังคมไทย คือ ไม่มีความรู้ ไม่ยอมรับ ความเชื่อ ประเพณีนิยม พูดเรื่องตายถือเป็นอัปมงคล ลางร้าย รู้สึกเศร้า หดหู่ คิดเรื่องอยู่ดีมากกว่าตายดี รอทำตอนอายุมากหรือตอนป่วย 2) ใช้หลักพุทธธรรมในอนัตตลักษณสูตร มัชเฌนธรรม หลักปฏิจจสมุปบาท : เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี สิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เมื่อสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ก็ดับ ตามหลักอริยสัจ 4 ใช้สติ ปัญญา เหตุผลแก้ปัญหาชีวิต ยอมรับกฎธรรมชาติ กฎไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ขันธ์ 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ปฏิบัติสายกลาง (มรรคมีองค์ 8) ไม่สุดโต่ง ไม่ประมาท ดังปัจฉิมวาจาก่อนเสด็จปรินิพพานว่า "สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด" รู้เท่าทัน ความตาย ปล่อยวางอย่างมีสติสัมปชัญญะ ฝึกเจริญมรณสติ ยึดพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ 3) แนวทางการทำพินัยกรรมชีวิตเชิงพุทธบูรณา คือ บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์ รับบริการสาธารณสุข ที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน ยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย สิทธิการตายดี เป็นหลักประกันสุขภาวะให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน สังคม สู่พุทธนวัตกรรม พินัยกรรมชีวิตเชิงพุทธ” ตาม QR Code นี้.</p> <p><img src="" alt=""></p>
ผ่องศิริ ศิริสุวรรณจิตร
พระครูสิริปริยัตยานุศาสก์
ปรุตม์ บุญศรีตัน
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-25
2024-12-25
15 2
59
74
-
วิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่เกี่ยวกับการประกันชีวิตในสังคมไทย
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/273048
<p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทและสภาพปัญหาของการประกันชีวิตในสังคมไทย 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่เกี่ยว กับการประกันชีวิตในสังคมไทย 3) เพื่อวิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่นำมาประยุกต์ใช้ในการประกันชีวิตในสังคมไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ และเสริมด้วยการเก็บข้อมูลภาคสนาม</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) ในด้านบริบทการประกันชีวิตในสังคมไทย ผู้วิจัยพบว่า ความคิดเห็นส่วนใหญ่ ผู้ให้ข้อมูลหลัักเห็นว่า มีความเหมาะสมมากที่สุด เรียงตามลำดับ ได้แก่ (1) นโยบายของบริษัทประกันชีวิต (2) ตัวแทนประกันชีวิตได้อธิบายถึง สิทธิ ประโยชน์ และให้คำแนะนำกับผู้เอาประกัน (3) ผู้เอาประกันมีความสนใจที่จะทำประกันกับบริษัทต่างประเทศมากกว่า ด้านสภาพปัญหาพบว่า เกิดจากปัจจัย หลัก 2 ประการ ได้แก่ (1) ผู้เอาประกันไม่ได้ชำระเบี้ยประกันตามกำหนด (2) ผู้เอาประกันปกปิดและแถลงข้อมูลอันเป็นเท็จ</p> <p>2) ในด้านหลักพุทธธรรมที่เกี่ยวกับการประกันชีวิตในสังคมไทย แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ (1) หลักพุทธธรรมโดยตรง ได้แก่ เบญจศีล เบญจธรรม สุจริตธรรม 3 สังคหวัตถุธรรม 4 และ (2) หลักพุทธธรรมโดยอ้อม ได้แก่ กัลยาณมิตรธรรม 7 และ อัปปมาทธรรม(ความไม่ประมาท)</p> <p>3) การวิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่นำมาประยุกต์ใช้ในการประกันชีวิตในสังคมไทย พบว่า หลักธรรม 5 หมวด คือ อัปปมาทะ (ความไม่ประมาท) เบญจศีล เบญจธรรม สุจริตธรรม 3 สังคหวัตถุ 4 และ กัลยาณมิตรธรรม 7 ควรให้ตัวแทนประกันชีวิตนำมาประยุกต์ใช้ ต่อผู้เอาประกันและเพื่อนร่วมงานเป็นอย่างยิ่ง เพราะถือว่าเป็นหลักการที่ดี ทุกคนควรมี ซึ่งจะทำให้การประกันชีวิต มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น</p>
กัญญารัตน์ รวมสุข
เทพประวิณ จันทร์แรง
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-25
2024-12-25
15 2
75
92
-
วิเคราะห์การบูรณาการหลักมงคลสูตรกับการพยากรณ์เลขศาสตร์ ของนักพยากรณ์ในจังหวัดเชียงใหม่
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/272614
<p>บทความนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาหลักมงคลสูตร<br />ในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาการพยากรณ์เลขศาสตร์ของนักพยากรณ์ในจังหวัดเชียงใหม่ และ <br />3) เพื่อวิเคราะห์การบูรณาการหลักมงคลสูตรกับการพยากรณ์เลขศาสตร์ของนักพยากรณ์ในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพจากการศึกษาเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับประชากรผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือกลุ่มนักปราชญ์ชาวพุทธที่เป็นบรรพชิต กลุ่มนักพยากรณ์ และกลุ่มผู้รับบริการของนักพยากรณ์ จำนวน 24 รูป/คน ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ผลการวิจัยพบว่า </p> <ol> <li>คำว่า “มงคล” หมายถึง เหตุนำความสุขและความเจริญมาให้ มีทั้งมงคลทางโลกและมงคลทางธรรม หลักมงคลสูตร 38 ประการ ประกอบด้วยลำดับการดำเนินชีวิตตั้งแต่การศึกษา การทำงาน การเกษียณ ไปจนถึงการพัฒนาตนเองสู่ความสุขสูงสุด มงคลสูตรสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ทุกช่วงวัย</li> <li>การศึกษาการพยากรณ์เลขศาสตร์ของนักพยากรณ์ในเชียงใหม่ 9 คน พบว่า 7 คนเป็นชาย และ 2 คนเป็นหญิง มีอายุระหว่าง 46-75 ปี ประสบการณ์พยากรณ์ 11-45 ปี รับพยากรณ์ 1-20 คน/วัน นักพยากรณ์ใช้วิชาเลขศาสตร์ควบคู่กับโหราศาสตร์ในการตั้งชื่อ คำนวณเลขมงคล และให้คำปรึกษาในเรื่องการงาน การเงิน ความสัมพันธ์ และสุขภาพ โดยเน้นการแก้ไขปัญหาเฉพาะบุคคลด้วยศาสตร์ที่มีความเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมไทย</li> <li>การบูรณาการครั้งนี้ พบว่า ผู้มารับการพยากรณ์มีปัญหาชีวิตและต้องการเสริมดวงด้วยเลขมงคล เช่น เบอร์มงคล บ้านเลขที่มงคล การตั้งชื่อมงคล และเลขทะเบียนรถมงคล นักพยากรณ์ใช้มงคลสูตรเป็นแนวทางในการให้คำแนะนำที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้รับบริการ ทั้งในเรื่องการแก้ไขปัญหาชีวิตและการสร้างความมั่นใจ การบูรณาการนี้ช่วยเสริมสร้างชีวิตและสังคมให้เกิดความสงบสุข พร้อมทั้งสร้างองค์ความรู้ใหม่ในการใช้ศาสตร์ทั้งสองร่วมกัน</li> </ol>
สุภัคชญา บุญเฉลียว
พระครูปริยัติเจติยานุรักษ์
พระครูสิริปริยัตยานุศาสก์
เทพประวิณ จันทร์แรง
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-25
2024-12-25
15 2
93
110
-
วิเคราะห์การพัฒนาคุณภาพชีวิตเชิงพุทธของชุมชนภูผาฟ้าน้ำ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/274458
<p>บทความวิจัยนี้สำรวจผลกระทบแนวปฏิบัติของชาวพุทธเถรวาทต่อคุณภาพชีวิต โดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1. การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาท 2. การพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนภูผาฟ้าน้ำ ต.ป่าแป๋ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ 3. วิเคราะห์การพัฒนาคุณภาพชีวิตเชิงพุทธของชุมชนภูผาฟ้าน้ำ ต.ป่าแป๋ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า การประพฤติตามหลัก ภาวนา ที่นำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีใน ด้านสำคัญ ได้แก่ พัฒนากาย, พัฒนาศีล, พัฒนาจิต, และพัฒนาปัญญา โดยความเป็นผู้นำเชิงพุทธของ ดร.ใจเพชร กล้าจน ได้บูรณาการเป็นองค์ความรู้เป็น กระบวนการแก้ทุกปัญหา 5 ประการ ได้แก่ (1) คบและเคารพมิตรดี (2) มีอริยศีล (3) ทำสมดุล (4) พึ่งตน (5) แบ่งปันด้วยใจบริสุทธิ์ ส่งผลให้ชุมชนภูผาฟ้าน้ำมีความก้าวหน้าในหลายมิติและพึ่งตนได้อย่างผาสุก จนมีคนศรัทธามาขอความช่วยเหลือในการพัฒนาคุณภาพชีวิต</p> <p>การศึกษาดังกล่าวสร้างความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชนสอดคล้องกับหลัก ภาวิต ได้แก่ ชีวิตพอเพียงเรียบง่าย, กายแข็งแรง, จิตใจดีงาม, และปัญญาผาสุก เป็นคุณภาพชีวิตแบบพุทธบูรณาการ ประสบการณ์ของชุมชนภูผาฟ้าน้ำเป็นข้อมูลเชิงลึกที่มีคุณค่าสำหรับความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์การพัฒนาบริบทชุมชน เมื่อนำหลักการเหล่านี้ไปใช้ทำให้ชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างน่าทึ่ง บทความวิจัยนี้ชี้ให้เห็นถึงศักยภาพของแนวปฏิบัติทางพระพุทธศาสนาเถรวาทในการพัฒนาชุมชนให้เกิดความเป็นอยู่ที่ดี และเสริมสร้างความสุขที่แท้จริง</p>
จรัญ บุญมี
พระครูสิริปริยัตยานุศาสก์
ปรุตม์ บุญศรีตัน
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-25
2024-12-25
15 2
111
125
-
การส่งเสริมสุขภาพเชิงพุทธบูรณาการของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/265390
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลตำบลช้างเผือก และ 3) เพื่อพัฒนากิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพเชิงพุทธบูรณาการของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลตำบลช้างเผือก เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบการสัมภาษณ์ และแบบสังเกต กับกลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 30 คน ผลการศึกษา พบว่า</p> <ol> <li>สถานการณ์สุขภาพ พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีสุขภาพกายและจิตดี แต่บางรายเผชิญปัญหา เช่น โรคเรื้อรัง ความจำเสื่อม และปัญหาอารมณ์ อย่างไรก็ตาม เทศบาลได้ส่งเสริมสุขภาพในด้านต่าง ๆ เช่น โภชนาการ การออกกำลังกาย การจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมและนันทนาการ รวมถึงการให้บริการด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่อง</li> <li>การส่งเสริมสุขภาพ แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ 1) สุขภาพกาย จัดศูนย์กายภาพบำบัดและจ้างผู้ดูแลที่ผ่านการอบรม2) สุขภาพจิต จัดกิจกรรมกลุ่ม สร้างความมีส่วนร่วมในสังคม 3) สุขภาพสังคม ส่งเสริมการรวมกลุ่ม การเตรียมความพร้อมก่อนเกษียณ และการสร้างงาน และ 4) สุขภาพปัญญา สนับสนุนการเรียนรู้ การมีส่วนร่วมในกิจกรรมชุมชน และการใช้วัดเป็นแหล่งเรียนรู้</li> <li>กิจกรรมเชิงพุทธบูรณาการ โดยการพัฒนาตามหลักภาวนา 4 ได้แก่ 1) กายภาวนา ส่งเสริมสุขภาพผ่านกิจกรรมที่ลดความผิดพลาดในชีวิต 2) ศีลภาวนา จัดกิจกรรมสวดมนต์ ออกกำลังกาย และรับประทานอาหารสุขภาพ 3) จิตภาวนา สนับสนุนการนั่งสมาธิและแผ่เมตตา และ 4) ปัญญาภาวนา พัฒนาความคิดผ่านการฟัง การคิดวิเคราะห์ และการฝึกฝน</li> </ol>
พระนวลแก้ว ขนฺติธโร (นวลแสง)
ทิพาภรณ์ เยสุวรรณ
ประเสริฐ บุปผาสุข
ปรีชา วงศ์ทิพย์
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-25
2024-12-25
15 2
126
143
-
ภาวะผู้นำของเจ้าอาวาสกับการพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางของชุมชน ในเขตตำบลหนองจ๊อม อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/272069
<p>บทความนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของเจ้าอาวาสกับการพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางของชุมชนในเขตตำบลหนองจ๊อม และ 3) เพื่อวิเคราะห์ภาวะผู้นำของเจ้าอาวาสกับการพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางของชุมชนตำบลหนองจ๊อม อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 16 รูป/คน ได้แก่ เจ้าอาวาส 8 รูป และไวยาวัจกร 8 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>ภาวะผู้นำในพระพุทธศาสนา คือ ผู้ที่มีคุณสมบัติที่ประกอบด้วยสติปัญญา ความดีงาม และความสามารถของผู้นำที่เป็นแบบอย่างที่ดีและสามารถชักนำให้ชุมชนก้าวไปสู่เป้าหมายที่ดีงาม เจ้าอาวาสในฐานะผู้นำทางจิตวิญญาณนำหลักพุทธธรรมมาปรับใช้ในการบริหารวัด ส่งเสริมความศรัทธาในพระพุทธศาสนาสำหรับภาวะผู้นำของเจ้าอาวาสกับการพัฒนาวัด พบว่าเจ้าอาวาสปฏิบัติตามระเบียบของมหาเถรสมาคมใน 6 ด้าน ได้แก่ การปกครอง การส่งเสริมการศึกษาสงฆ์ การศึกษาสงเคราะห์ การเผยแผ่ การพัฒนาวัด และการสาธารณสงเคราะห์ เช่น บริจาคทุนการศึกษาและทำนุบำรุงศาสนสถาน นอกจากนี้ เจ้าอาวาสยังใช้หลักการบริหารยุคใหม่ 7 ประการ ได้แก่ การวางแผน การจัดองค์กร การบริหารบุคคล การอำนวยการ การประสานงาน การรายงาน และการจัดการงบประมาณ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาวัดและสร้างความร่วมมือระหว่างคณะสงฆ์และชุมชน กล่าวได้ว่า ภาวะผู้นำของเจ้าอาวาสมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางของชุมชน โดยยึดหลักพุทธธรรมผสานกับการบริหารจัดการยุคใหม่ เพื่อสร้างความสามัคคีและความก้าวหน้าในชุมชนอย่างยั่งยืน</p>
พระมหาประภาส วีรพโล
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-25
2024-12-25
15 2
143
160
-
รูปแบบการบริหารจัดการวัดในศตวรรษที่ 21
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/272646
<p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารจัดการวัดในปัจจุบัน 2) เพื่อศึกษาบริบทการบริหารจัดการวัดในจังหวัดเชียงใหม่ และ 3) เพื่อเสนอรูปแบบการบริหารจัดการวัดในศตวรรษที่ 21 งานวิจัยนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาวิจัยเชิงเอกสารจากพระไตรปิฎก หนังสือ ตำรา และแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง รวมถึงกรอบการบริหารตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่3) พ.ศ. 2560 และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 23 รูป/คน ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ 2 วัด แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ในรูปแบบการพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1) การบริหารจัดการวัดในยุคปัจจุบันมีความสำคัญมาก เนื่องจากวัดเป็นสถาบันหลักทางพระพุทธศาสนา การบริหารจัดการต้องทันสมัยและสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ การปกครองที่มีวิสัยทัศน์และภาวะผู้นำ, การศาสนศึกษาที่พัฒนาหลักสูตร, การศึกษาสงเคราะห์ที่ช่วยผู้ด้อยโอกาส, การเผยแผ่ที่ใช้สื่อสมัยใหม่, การสาธารณูปการที่ให้บริการชุมชน, และการสาธารณะสงเคราะห์ที่ช่วยผู้ประสบภัย ต้องคำนึงถึงหลักธรรมาภิบาลเพื่อให้การบริหารงานโปร่งใสและมีประสิทธิภาพ</p> <p>2) บริบทการบริหารจัดการวัดในจังหวัดเชียงใหม่ การบริหารจัดการวัดในจังหวัดเชียงใหม่ต้องพัฒนาให้สอดคล้องกับสังคมที่เปลี่ยนแปลง โดยพิจารณาจากความหลากหลายทางวัฒนธรรม เทคโนโลยี และโลกาภิวัตน์ การบริหารควรโปร่งใสและมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ปรับปรุงหลักสูตรศาสนศึกษาให้ทันสมัย พัฒนาและปรับรูปแบบการศึกษาสงเคราะห์และการเผยแผ่ศาสนาให้เหมาะสมกับผู้รับสารในศตวรรษที่ 21 รวมทั้งส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการสาธารณูปการและสาธารณะสงเคราะห์ เพื่อให้วัดเป็นศูนย์กลางชุมชนที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน</p> <p> 3) รูปแบบการบริหารจัดการวัดในศตวรรษที่ 21 ต้องปรับตัวให้ทันสมัยเพื่อคงบทบาททางจิตใจและพัฒนาสังคม ประกอบด้วยหกด้าน ได้แก่ การปกครองที่โปร่งใสและมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน การศึกษาสงฆ์และสงเคราะห์ที่ทันสมัย การเผยแผ่ที่ใช้เทคโนโลยีสื่อสาร การสาธารณูปการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และการสาธารณะสงเคราะห์ที่มีส่วนร่วมของประชาชนและใช้เทคโนโลยี เพื่อสร้างวัดเป็นศูนย์กลางในการจัดกิจกรรมทางสังคมและศาสนา คงไว้ซึ่งบทบาทสำคัญในการพัฒนาชุมชน</p>
พระอำนาจ ถิรวิริโย (ขันตา)
พระครูสิริปริยัตยานุศาสก์
วิโรจน์ วิชัย
ปรุตม์ บุญศรีตัน
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-25
2024-12-25
15 2
161
179
-
กระบวนการสร้างกลไกการป้องกันตนเองเชิงพุทธด้านสุขภาพแบบองค์รวมตามหลักธรรม อัปปมาเทนะ สัมปาเทถะ ผ่านภาษาท้องถิ่นภาคเหนือ “หมึ้ง – หนิม - ฮัก” หมู่บ้านสีขาว จังหวัดลำพูน
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/269131
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมในการป้องกันตนเองเชิงพุทธด้านสุขภาพแบบองค์รวมตามหลักธรรม อัปปมาเทนะ สัมปาเทถะ ผ่านภาษาท้องถิ่นภาคเหนือ “หมึ้ง – หนิม - ฮัก” หมู่บ้านสีขาว จังหวัดลำพูน 2) เพื่อพัฒนากระบวนการสร้างกลไกการป้องกันตนเองเชิงพุทธด้านสุขภาพแบบองค์รวมตามหลักธรรม อัปปมาเทนะ สัมปาเทถะ ผ่านภาษาท้องถิ่นภาคเหนือ “หมึ้ง – หนิม - ฮัก” หมู่บ้านสีขาว จังหวัดลำพูน และ3) เพื่อส่งเสริมกระบวนการสร้างกลไกการป้องกันตนเองเชิงพุทธด้านสุขภาพแบบองค์รวมตามหลักธรรม อัปปมาเทนะ สัมปาเทถะ ผ่านภาษาท้องถิ่นภาคเหนือ “หมึ้ง – หนิม - ฮัก” หมู่บ้านสีขาว จังหวัดลำพูน ใช้ระเบียบวิจัยแบบผสมผสานทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพ และเชิงปฏิบัติการ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนในเทศบาลตำบลต้นธง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 375 ราย กลุ่มปฏิบัติการ จำนวน 72 คน และสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ทำการคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 10 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินผล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยเชิงคุณภาพวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและเขียนบรรยายเชิงพรรณนา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมในการป้องกันการติดเชื้อจากโรคระบาดไวรัสโคโรนา 2019 โดยรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน 2) การพัฒนากระบวนการสร้างกลไกการป้องกันตนเองเชิงพุทธ เป็นการพัฒนาชุดความรู้ที่มีรายละเอียด 3 ด้าน คือ (1) “หมึ้ง” การมีสติสัมปชัญญะ ต่อปัจจัยภายนอก คือ การสวมหน้ากากอนามัย การล้างมือ ด้วยน้ำสบู่หรือเจอแอลกอฮอล์ เว้นระยะห่าง และมีสติต่อปัจจัยภายใน ในการสร้างภูมิต้านทานให้ตนเอง ทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ตรวจสุขภาพประจำปี และฉีดวัคซีน (2)“หนิม” หรือการอยู่นิ่งๆ คือ การอยู่บ้าน และทำงานที่บ้าน โดยใช้เทคโนโลยีเครื่องมือสื่อสารให้เป็นประโยชน์ และ (3) “ฮัก” หรือการรักษาทางกาย และทางใจ การรักษาทางกายคือ การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันด้วยสมุนไพร และรักษาร่วมกับยาแผนปัจจุบัน ส่วนการรักษาทางใจ คือ ควรสวดมนต์ นั่งสมาธิ ฟังธรรมะ 3) การส่งเสริมกระบวนการสร้างกลไกการป้องกันตนเองเชิงพุทธ เป็นการจัดอบรมถ่ายทอดความรู้ให้กับอาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในตำบลต้นธง จำนวน 72 ราย</p> <p>องค์ความรู้จากการศึกษาวิจัยนี้ จะช่วยพัฒนาสุขภาพกาย และสุขภาพจิตของประชาชนให้ดีขึ้น ให้มีความสามารถในการป้องกันตนเอง และรับมือต่อสถานการณ์ของโรคระบาด หน่วยงานภาครัฐสามารถนำผลการวิจัยนี้ไปพัฒนาเป็นนโยบายเพื่อให้ประชาชนสามารถปรับตัวได้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต</p>
บุศรา โพธิสุข
นิกร ยาอินตา
พระสมนึก ทับโพธิ์
บุญญาดา ประภัทรสิริ
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-25
2024-12-25
15 2
180
196
-
การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงความเชื่อพญานาคราช คำชะโนด จังหวัดอุดรธานี
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/272688
<p class="p1">บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันด้านการท่องเที่ยวเชิงความเชื่อพญานาคราช และ 2) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงความเชื่อพญานาคราช คำชะโนด จังหวัดอุดรธานี เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ การเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามนักท่องเที่ยวจำนวน 400 คน และการสัมภาษณ์หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนในพื้นที่</p> <p class="p1">ผลการวิจัย พบว่า 1) สถานการณ์ปัจจุบันด้านการท่องเที่ยวเชิงความเชื่อพญานาคราช คือ ควรพัฒนาด้านการจัดการการท่องเที่ยวเชิงความเชื่อพญานาคราช ควบคู่ไปกับการสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวเชิงความเชื่อพญานาคราช และ 2) แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงความเชื่อพญานาคราช คำชะโนด จังหวัดอุดรธานี ประกอบด้วย การส่งเสริมและพัฒนาจุดเด่นด้านความเชื่อและความศรัทธา การพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก การสร้างความเชื่อมโยงระหว่างแหล่งท่องเที่ยวกับที่พักแรม การพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ความเชื่อพญานาคราช การสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในการบูรณาการการพัฒนา การปรับปรุงป้ายบอกทาและระบบขนส่งสาธารณะ การพัฒนาแพ็คเกจและสร้างมูลค่าเพิ่มการท่องเที่ยว และการส่งเสริมการใช้ช่องทางออนไลน์เพื่อเข้าถึงนักท่องเที่ยว</p>
ธาวิษ ถนอมจิตศ์
ณัฐกานศ์ ตันมิ่ง
ปฏิพัทธ์ ตันมิ่ง
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-25
2024-12-25
15 2
197
222
-
การสร้างสรรค์ภาพจิตรกรรมประเพณีจองพารา พิธีการลอยพระอุปคุตของชาวไทใหญ่ บ้านแม่อายหลวง อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/267577
<p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา ความสำคัญ คติความเชื่อ เรื่องพระอุปคุต 2) เพื่อศึกษาประเพณีการลอยจองพาราบูชาพระอุปคุตของชาวไทใหญ่บ้านแม่อายหลวง 3) เพื่อสร้างสรรค์งานจิตรกรรมประเพณีการลองจองพาราบูชาพระอุปคุตของชาวไทใหญ่บ้าน แม่อายหลวง อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ศิลปะ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) พระอุปคุต เป็นพระภิกษุองค์สำคัญในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช และเป็นปฐมาจารย์แห่งนิกายสรวาสติวาท จากประวัติความเป็นมาในเอกสารนำไปสู่ความเชื่อที่ก่อให้เกิดประเพณีไหว้พระอุปคุต 2) ประเพณีการลอยจองพาราบูชาพระอุปคุต เป็นประเพณีที่ชาวไทใหญ่ในเขตอำเภอแม่อาย และอำเภอใกล้เคียงที่นับถือพระพุทธศาสนายังคงรักษาขนมธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรม ทำให้เกิดประเพณีไหว้พระอุปคุต โดยเป็นการนำไม้ไผ่และกระดาษมาสร้างจองหรือปราสาทจำลองเพื่อทำบุญถวายแก่พระอุปคุต และนำใส่แพไปลอยแม่น้ำตามความเชื่อที่ว่าพระอุปคุตอาศัยอยู่ใต้สะดือทะเล 3) การสร้างสรรค์ภาพจิตรกรรมไทยประเพณีร่วมสมัย บนผ้าใบ ขนาด 100x200 เซนติเมตร จำนวน 3 ภาพ ได้แก่ (1) ภาพจิตรกรรมอดีตชาติพระอุปคุต ที่ปรากฏในคัมภีร์พระธรรมเทศนา ฉบับล้านนา กล่าวถึงพระพุทธองค์ทรงพยากรณ์ไว้ว่า พระอุปคุตจะเป็นผู้ทำพุทธกิจแทน หลังจากที่พระองค์ปรินิพพาน (2) ภาพจิตรกรรมประวัติพระอุปคุตตอนปราบ พญามาร (3) ภาพจิตรกรรมประเพณีการลอยจองพาราบูชาไหว้พระอุปคุตของชาวไทใหญ่บ้านแม่อายหลวง อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่</p>
พระมหาจตุรงค์ ร้อยกา
พระอธิวัฒน์ ธรรมวัฒน์ศิริ
พูนชัย ปันธิยะ
ลิปิกร มาแก้ว
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-25
2024-12-25
15 2
223
242
-
การสร้างสรรค์จิตรกรรมร่วมสมัยจากภาพทังกาในพุทธศาสนาวัชรยานแบบทิเบต
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/267763
<p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) ศึกษา แนวคิด ความเชื่อ ระบบสัญลักษณ์ในพุทธศาสนาวัชรยานแบบทิเบต 2) ศึกษารูปแบบภาพจิตรกรรมทังกาในพุทธศาสนาวัชรยานแบบทิเบต และ 3) สร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมร่วมสมัยจากการศึกษาจิตรกรรมทังกาแบบทิเบต เป็นการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ศิลปะ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาพวาดจิตรกรรมแบบภาพม้วนที่แสดงรูปพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ ธรรมบาล บุคคลสำคัญหรือเรื่องราวด้านพระพุทธศาสนา โดยใช้เป็นเครื่องมือถ่ายทอดพระธรรมคำสอนต่าง ๆ จิตรกรรมทังกาเป็นพุทธศิลป์ที่ใกล้ชิดกับชาวทิเบตมาก ปรากฏอยู่ทั้งในศาสนสถาน อาคารบ้านเรือน และของประดับตกแต่งบ้านที่ฆราวาสทุกระดับชั้นมีไว้ในครอบครอง</p> <p>2) ลักษณะทางรูปแบบศิลปกรรมของจิตรกรรมทังกามีความโดดเด่นทั้งในรูปลักษณ์ สีเชิงสัญลักษณ์และเนื้อหาพุทธปรัชญา โดยสามารถสรุปรูปแบบทางศิลปกรรมได้ 2 รูปแบบ ได้แก่ จิตรกรรมทังกาแบบภาคกลางและจิตรกรรมทังกาแบบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งทั้งสองมีรูปแบบร่วมกันคือ จิตรกรรมทิเบตที่ถูกพัฒนาจนมีรูปแบบของตนเองตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 สามารถแบ่งออกได้ 4 ประเภท คือ พระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ ธรรมบาล และบุคคลสำคัญ</p> <p>3) การสร้างสรรค์จิตรกรรมร่วมสมัย มีจำนวน 9 ภาพ เกิดจากการสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับภาพทังกาในพุทธศาสนาวัชรยานแบบทิเบต และนำมาสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมร่วมสมัยโดยใช้รูปแบบนามธรรมและกึ่งนามธรรม โดยมีแนวคิดและเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับ พระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์และธรรมบาล</p>
ชลนาถ วงศ์เวศารัช
ศิริศักดิ์ อภิศักดิ์มนตรี
พระอธิวัฒน์ ธรรมวัฒน์ศิริ
เทพประวิณ จันทร์แรง
ฉลองเดช คูภานุมาศ
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-25
2024-12-25
15 2
243
260